บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด มหาชน หรือ SABUY เป็นบริษัทน้องใหม่ที่กำลังจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดย บริษัท ประกอบธุรกิจ เป็นผู้ให้บริการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน ผ่านตู้เติมเงิน ภายใต้เครื่องหมายการค้า “เติมสบายพลัส” และนี่คือ “9 เรื่องที่นักลงทุนต้องรู้ครับ”
1. บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด มหาชน เป็นผู้ให้บริการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน ผ่านตู้เติมเงิน ภายใต้เครื่องหมายการค้า “เติมสบายพลัส” การประกอบธุรกิจของ บริษัท แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
- กลุ่มธุรกิจตู้เติมเงินอัตโนมัติ (Top-Up Machine Business Unit)
กลุ่มธุรกิจตู้เติมเงินอัตโนมัติ ได้แก่ การให้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านตู้เติมเงินอัตโนมัติ การจำหน่ายตู้เติมเงินอัตโนมัติทั้งในรูปแบบการชำระด้วยเงินสดและเงินผ่อน และให้บริการตู้เติมเงินอัตโนมัติในระบบแฟรนไชส์ (Franchise) ดำเนินธุรกิจโดยบริษัทฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นผู้ให้บริการเติมเงินโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเติมเงินล่วงหน้า (Prepaid) บริการรับชำระ เช่น การชำระบิล การเติมเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) การฝากเงินเข้าบัญชีธนาคาร และอื่นๆ ผ่านตู้เติมเงินอัตโนมัติ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “เติมสบายพลัส”
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 บริษัทฯ มีศูนย์บริการอยู่ถึง 12 แห่ง โดยบริษัทฯ มีเป้าหมายในการขยายการให้บริการตู้เติมเงินอัตโนมัติเพิ่มเติมไปในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นลูกค้าระดับรายได้น้อยถึงปานกลางที่ใช้โทรศัพท์มือถือประเภทเติมเงินล่วงหน้า (Prepaid) ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล และแรงงานชาวต่างด้าว ซึ่งมีจุดติดตั้งตู้เติมเงินในพื้นที่ ร้านค้าขายของชำในชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม สถานศึกษา สถานีขนส่ง ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล หอพัก เป็นต้น
- กลุ่มธุรกิจตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine Business Unit)
กลุ่มธุรกิจตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ซึ่งประกอบด้วยการจำหน่ายเครื่องดื่มและอาหารสำเร็จรูปผ่านตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) ดำเนินธุรกิจโดย VDP ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภค เช่น น้ำดื่ม เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม เครื่องดื่มชาเขียว อาหารสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยว ผ่านตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “เวนดิ้ง พลัส” โดยมีการติดตั้งตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ทั้งในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ โรงงาน สถานศึกษา หอพัก สถานีขนส่ง สถานีบริการน้ำมัน สำนักงาน จุดกระจายและจุดโหลดสินค้า
โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 ตู้ขายสินค้าอัตโนมัติของ VDP มีการจำหน่ายสินค้าครอบคลุมถึง 19 จังหวัด กว่า 1,397 ตู้ ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้หลายระดับตามพื้นที่ที่ตั้งตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ซึ่งรวมถึงกลุ่มคนวัยทำงาน เช่น แรงงานในภาคอุตสาหกรรมตามโรงงานหรือนิคมอุตสาหกรรม พนักงานตามอาคารสำนักงานซึ่งต้องใช้เวลาเร่งรีบ และต้องการซื้อเครื่องดื่ม อาหารหรือขนมที่รวดเร็ว กลุ่มวัยเรียน เช่น นักเรียน และนักศึกษา ตามสถานศึกษา และผู้พักอยู่ตามหอพัก เป็นต้น
- กลุ่มธุรกิจระบบศูนย์อาหาร (Food Court System Business Unit)
กลุ่มธุรกิจระบบศูนย์อาหาร ดำเนินธุรกิจโดย SSM ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นผู้ให้บริการติดตั้งและวางระบบศูนย์อาหาร (ระบบบัตร Prepaid อิเล็กทรอนิกส์) รวมถึงการให้บริการจัดการศูนย์อาหารพร้อมการจ้างบำรุงรักษาซ่อมแซมศูนย์อาหาร และอุปกรณ์ต่อพ่วงของระบบดังกล่าว โดยมีขอบเขตการให้บริการได้แก่ 1) การให้บริการแอปพลิเคชั่นการใช้งานในระบบจัดการศูนย์อาหาร (Software Application) 2) การจัดหาบัตรศูนย์อาหาร ทั้งในรูปแบบบัตร Prepaid ปกติ และบัตรอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Card) สำหรับการให้บริการในศูนย์อาหาร 3) การให้บริการและดูแลระบบเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ (Cloud Service) เพื่อการเก็บข้อมูลสำหรับลูกค้า 4) การจัดเตรียมซิมการ์ดในอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง (Sim Card) ในระบบจัดการศูนย์อาหาร เพื่อการสื่อสารออนไลน์ในระบบ 3G/4G ของอุปกรณ์ในระบบจัดการศูนย์อาหารไปยังระบบคลาวด์ 5) การให้บริการบำรุงรักษาระบบงานศูนย์อาหาร โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักคือผู้ประกอบการเจ้าของศูนย์อาหารที่ต้องการวางระบบจัดการศูนย์อาหารและบริหารร้านค้า อาทิเช่น ห้างสรรพสินค้า โรงงาน และสถานศึกษา และสถานีขนส่ง เป็นต้น
- กลุ่มธุรกิจให้บริการการชำระเงิน (Payment Service Provider / Facilitator Business Unit)
กลุ่มธุรกิจให้บริการการชำระเงิน ดำเนินธุรกิจโดย SBM ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นผู้ให้บริการทั้งผู้ชำระเงินและผู้รับชำระเงินด้วยเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ โดยที่ e-Payment Platform ถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นเพื่อให้เหมาะกับธุรกิจในหลากหลายประเภท เช่น ตู้เติมเงินอัตโนมัติ ตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ หรือ ศูนย์อาหาร เป็นต้น และสามารถรองรับการชำระเงินได้ทั้งแบบเงินสดและเงินอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Thai QR e-Money หรือ บัตรเครดิต เป็นต้น
ด้วยเทคโนโลยี Contact และ Contactless เพื่อสนองความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ร้านค้าและลูกค้าต่างต้องการความสะดวกสบาย รวดเร็ว และความปลอดภัยได้มาตรฐานในการชำระเงิน เช่น ในรูปแบบบัตร แอพพิเคชั่นบน Smart Device หรือ Wearable เป็นต้น ทั้งนี้ ในอนาคตกลุ่มบริษัทฯ จะมีการให้ผสานความร่วมมือกันระหว่างบริษัทในกลุ่ม (Synergy) เพื่อเพิ่มมูลค่าในการดำเนินธุรกิจในภาพรวม
2. บริษัทมีกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ
- บริษัทเวนดิ้ง พลัส จำกัด (“VDP”) ซึ่งดำเนินธุรกิจเป็นผู้จำหน่ายสินค้า เช่น เครื่องดื่มและอาหารสำเร็จรูป ผ่านตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “เวนดิ้ง พลัส” โดยบริษัทฯ ถือหุ้นใน VDP ร้อยละ 82.47 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
- บริษัท สบาย ซิสเต็มส์ แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (“SSM”) ชื่อเดิมชื่อ บริษัท การ์ด ซิสเต็มส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจเป็นผู้ให้บริการติดตั้งระบบศูนย์อาหาร บริการระบบศูนย์อาหาร และบริการซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบศูนย์อาหาร โดยบริษัทฯ ถือหุ้นใน SSM ร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
- บริษัท สบาย มันนี่ จำกัด (“SBM”) ซึ่งดำเนินธุรกิจให้บริการการชำระเงิน (Payment Service Provider / Facilitator) ภายใต้เครื่องหมายการค้า “สบาย มันนี่” โดยบริษัทฯ ถือหุ้นใน SBM ร้อยละ 80.00 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
โครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทฯ ก่อนและภายหลังจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท สามารถสรุปได้ดังนี
3.รายได้หลักของบริษัท บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด มหาชน : SABUY รายได้หลักของบริษัทมาจากธุรกิจที่บริษัทดำเนินการอยู่แบ่งเป็น 4 ประเทภใหญ่คือ
- กลุ่มธุรกิจตู้เติมเงินอัตโนมัติ (Top-Up Machine Business Unit) โดยมีการดำเนินงานผ่านบริษัทฯ (“SABUY”)
- กลุ่มธุรกิจตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine Business Unit) โดยมีการดำเนินงานผ่านบริษัท เวนดิ้ง พลัส จำกัด (“VDP”)
- กลุ่มธุรกิจระบบศูนย์อาหาร (Food Court System Business Unit) โดยมีการดำเนินงานผ่านบริษัท สบาย ซิสเต็มส์ แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (“SSM”)
- กลุ่มธุรกิจให้บริการการชำระเงิน (Payment Service Provider / Facilitator Business Unit) โดยมีการดำเนินงานผ่านบริษัท สบาย มันนี่ จำกัด (“SBM”)
4. ผลการดำเนินงานของ SABUY ที่ผ่านมา 3 ปีย้อนหลัง เป็นดังนี้
ปี 2559 บริษัทมีรายได้ 1,455.02 ล้านบาท กำไรสุทธิ 394.77 ล้านบาท
ปี 2560 บริษัทมีรายได้ 1,140.03 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ (167.38) ล้านบาท
ปี 2561 บริษัทมีรายได้ 1,087.96 ล้านบาท กำไรสุทธิ 80.17 ล้านบาท
5. อัตราส่วนทางการเงินสำคัญของบริษัท
6. เป้าหมายของบริษัทหลังผ่านการระดมทุน มีอะไรบ้าง
บริษัทฯ มีวัตถุประสงค์ในการนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้มาดำเนินการในการขยายธุรกิจ,ชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน,ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ อีกทั้งนำไปลงทุนโครงการในอนาคตอีกด้วย
- โครงการติดตั้ง EDC (Electronic Data Capture) ตามร้านค้า ยานพาหนะ ตู้เติมสบายพลัส และตู้เวนดิ้ง พลัส
ตัวอย่าง รูปแบบเครื่อง EDC ที่จะให้บริการ
-
·โครงการเพิ่มศูนย์บริการของ VDP ในต่างจังหวัด
-
·โครงการตั้งตู้ขายสินค้าอัตโนมัติร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจของ VDP
-
·โครงการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money Service)
ตัวอย่าง รูปแบบ e-Money ที่จะให้บริการ
7. การเสนอขายหุ้น IPO
บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SABUY เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ไม่เกิน 117,017,300 ล้านหุ้น คิดเป็น 11.64% ของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ แบ่งเป็นการเสนอขายต่อ ประชาชนทั่วไป ตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ เสนอขายต่อนักลงทุนสถาบัน เสนอขายต่อผู้มีอุปการคุณของบริษัท และเสนอขายต่อกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท
8. นโยบายปันผลของบริษัท
บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 40.00 ของกำไรสุทธิจากงบเฉพาะกิจการภายหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และเงินสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ แต่จะต้องไม่มีขาดทุนสะสมในส่วนของผู้ถือหุ้น
9.ความรับผิดชอบต่อสังคม
บริษัทฯ และบริษัทย่อย ดำเนินธุรกิจอยู่ภายใต้กรอบของธรรมาภิบาลที่ดี มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อย ตั้งมั่นที่จะดำรงตนให้เป็นบริษัทฯที่เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม (Good Corporate Citizen) ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และสามารถบริหารกิจการให้เติบโตอย่างมั่นคงและเป็นที่ยอมรับในสังคม บนพื้นฐานของจริยธรรมและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภายโดยคำนึงผลกระทบในการดำเนินธุรกิจที่มีต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ และบริษัทย่อย ในทุกด้าน