“ก่อนที่คุณจะก้าวไปสู้ความมั่นคั่ง” ให้กับชีวิตของคุณ ผมว่าคุณควรรู้ความมั่งคั่งของตัวเองตอนนี้ก่อนนะครับ ลองตอบคำถมดูนะครับว่าจะต้องทำอะไร ต้องปรับอะไรเพิ่มอีก
1.ตอนนี้คุณมีเงินสดเพียงพอที่จะทำให้คุณอยู่ได้ 6 เดือน
หากคุณขาดรายได้จากการทำงานโดยไม่ไปแตะต้องเงินที่เอาไว้ใช้ในยามเกษียณหรือเตรียมไว้เพื่อการศึกษาของลูกแล้วหรือไม่ สมมุติคุณมีค่าใช้จ่ายที่รับผิดชอบตัวเอง และครอบครัวเดือนละ 50,000 บาทนั่นหมายความว่าคุณควรมีเงินฉุกเฉินที่สามารถหยิบใช้ได้อย่างสะดวก 300,000 บาท "ตอนนี้มีพอแล้วหรือยังครับ"
2.คุณมีวงเงินบัตรเครดิตเพียงพอที่จะใช้ในยามฉุกเฉินหรือไม่
อันนี้เป็นก๊อกสองครับ ถ้าข้อหนึ่งยังไม่พอ หากรวมกับวงเงินบัตรเครดิตที่มีที่ยังใช้ได้อยู่ มันพอไหมครับ หากมีเหตุฉุกเฉิน เช่น การขาดรายได้จากการทำงาน 3 เดือน วงเงินบัตรเครดิตนี้ใช่ว่าจำเป็นต้องใช้นะครับแค่เผื่อไว้ใช้ในยามที่เรามีเหตุฉุกเฉิน
3.คุณคิดว่าจะปิดหนี้สินที่คุณมีก่อนเกษียณ ได้ หรือไม่
หลังเกษียณถ้ายังมีหนี้ ต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อน โน่นนี่อยู่ ไม่สนุกแล้วนะครับ หลังเกษียณเป็นวัยที่คุณไม่ต้องดิ้นหาเงินหาทองแล้ว ใช้เงินเก็บสะสมมาอย่างสงบสุขถ้าจะมีรายได้ก็ดีไม่มีไม่เดือดร้อนครับ
4.คุณคิดว่าครอบครัวจะมีเงินเพียงพอ ที่จะดูแลตัวเองได้ต่อไปหรือไม่ หากมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับคุณ
ถ้ามีใครที่ต้องพึ่งพารายได้จากคุณ การที่มีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น มันไม่ใช่แค่การสูญเสียคนที่เข้ารักนะครับแต่นั่นหมายถึงการสูญเสียรายได้ที่จะดำรงชีวิตต่อไปของคนในครอบครัวด้วยนะครับ
เมื่อเหตุไม่คาดฝัน ชื่อ มันก็บอกอยู่แล้วว่า “ไม่คาด” แต่เราคาดการสูญเสียหรือความเดือดร้อนได้จริงไหมครับ
5.คุณคิดว่าครอบครัวจะมีเงินเพียงพอ สำหรับการศึกษาของลูก หรือเป้าหมายการเงินระยะยาวหรือไม่หากขาดรายได้จากคุณ
6.คุณคิดว่ามีเงินเพียงพอสำหรับค่ารักษาพยาบาลทั้งวันนี้และวันที่คุณเกษียณได้หรือไม่
อย่างที่เรารู้กันว่าค่าใช้จ่ายพวกนี้แพงขนาดไหนจนบางคนให้นิยามโรงพยาบาลว่า “โรงพยาบาลรักษาเราด้วยยาแต่ฆ่าเราด้วยใบเสร็จ” แถมอัตราการเพิ่มของค่ารักษาพยาบาลในบ้านเราเพิ่มในอัตราที่สูงมาก ๆ ประมาณ 7-8% ต่อปี มากแค่ไหนรู้ไหมครับ จะคำนวณให้ดู สมมุติว่าค่ารักษา วันนี้ 100,000 บาท หากอัตราการเพิ่มของค่ารักษาพยาบาลบ้านเรายังเป็นแบบนี้ในอีก 20 ปีข้างหน้า ค่ารักษาวันนี้ 100,000 บาทต้องจ่ายเพิ่มเป็น 400,000 บาท ในอีก 40 ปีข้างหน้า ตอนเราเกษียณแล้วต้องจ่ายเพิ่มเป็น 1,500,000 บาท “เยอะขนาดนี้ไม่เจ็ปป่วยดีที่สุด แต่มันห้ามไม่ได้ใช่ไหมครับถ้าต้องเป็นถามว่ามีเงินเตรียมไว้พอหรือยังครับ”
7.คุณได้ทบทวนวงเงินความคุ้มครองของ ประกันไฟบ้าน ประกันรถยนต์ ให้เหมาะสมกับมูลค่าตอนนี้แล้วหรือไม่ "จะได้เพียงพอเหมาะสมหากมีความเสียหายเกิดขึ้นหรือจะได้จ่ายเบี้ยประกันได้พอดีๆ กับความจำเป็น"
8.คุณได้ใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อการลดหย่อนภาษีได้เหมาะสมแล้วหรือไม่
หากคุณมีสิทธิ์ก็ควรใช้นะครับ การลดหย่อนภาษีเหมือนเป็นของแถมที่คุ้มค่ามาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยประกันชีวิต LTF RMF สมมุติว่า คุณมีฐานภาษี 20% คุณใช้เครื่องมือทางการเงินเหล่านี้อย่างละ 100,000 บาท นอกจากคุณจะได้ประโยชน์จากเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้แล้ว เครื่องมือทางการเงินเหล่าน้จะทำให้คุณประหยัดเงินค่าภาษี อย่างละ 20,000 บาททันทีเป็นผลตอบแทนที่แน่นอนด้วยรู้แล้วรีบใช้สิทธิก่อนนะครับ
9.คุณรู้จำนวนเงินที่คุณต้องมีในวันที่คุณเกษียณ และจำนวนเงินที่คุณต้องเก็บออมหรือลงทุนเพื่อมีเงินพอใช้หลังเกษียณแล้วหรือไม่
ไม่ว่าคุณหรือผมวันหนึ่งต้องตกงานจากการเกษียณ วัยเกษียณคือ วันที่คุณหมดรายได้หรือรายได้ลดลงแต่รายจ่ายยังคงมี ยิ่งอายุยืน เงินที่ต้องเตรียมไว้ก็ต้องเยอะขึ้นตอนนี้คุณรู้อย่างเฉพาะเจาะจงหรือยัง ถึงจำนวนเงินที่คุณต้องมีและพลาดไม่ได้ในวันเกษียณ และจำนวนเงินที่คุณต้องเก็บออมและลงทุนวันนี้
10.คุณมั่นใจไหมว่ากลยุทธในการลงทุนของคุณ จะสามารถทนทานต่อความผันผวนของตลาดสามารถเอาชนะเงินเฟ้อและยังคงทำให้คุณบรรลุเป้าหมายอยู่หรือไม่
โห !!! เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องตรวจสอบอยู่เสมอๆ แต่ไม่ต้องถึงขนาดเป็นรายวัน หรือ รายเดือนนะครับแค่ปร้บกลยุทธการลงทุนบ้าง เช่น ปรับสัดส่วนการลงทุนของหุ้น กับ ตราสารหนี้ บ้างเพื่อลดความเสี่ยง เมื่อวันที่คุณกำลังเข้าไกล้เป้าหมายการเงินที่คุณตั้งไว้
"เป็นยังไงกันบ้างครับ 10 ข้อที่ตั้งคำถามมมาคุณผ่านกี่ข้อครับ ถ้าคำตอบ ของคุณ คือ ไม่ ผมแนะนำให้คุณรีบทำให้มันใช่สักตั้งแต่วันนี้นะครับ เพราะ อนาคตกำลังเข้ามาหาคุณอย่างช้าๆ"
"บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ "แผนการเงินใช้ได้ตลอดชีพ" สนใจสั่งซื้อได้ที่"
https://www.stock2morrow.com/publishing/bookdetail.php?id=88