#มือใหม่เริ่มลงทุน

7 เรื่องที่คนเล่นหุ้นไม่เคยบอกคุณ

โดย ภาววิทย์  กลิ่นประทุม
เผยแพร่:
85 views

1.การเปิดพอร์ตหุ้น ไม่ต้องใช้เงินสักบาท

ไม่ต้องแสดงบัญชีว่ามีเงินเท่าไหร่ ไม่ต้องถูกตรวจสอบเครดิต ใช้แค่สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาหน้าบุ๊กแบงค์ (เพื่อใช้รับเงินปันผล)


2.บัญชีหุ้นดอกเบี้ยมากกว่าบัญชีออมทรัพย์ 2 เท่า

ไม่ต้องซื้อหุ้น แค่โอนเงินมาไว้ในบัญชีหุ้นก็รับดอกเบี้ย 1.1% ต่อปี ** ย้ำว่าไม่ต้องซื้อหุ้น แค่ย้ายเงินมาวางไว้ในบัญชีหุ้นเท่านั้นจะถอนออกก็ได้ เพียงแต่ต้องบอกล่วงหน้า 1 วัน

 

3.ไม่ต้องมีเงินหมื่นเงินแสนก็ซื้อหุ้นได้

กติกาก็คือต้องซื้อหุ้นไม่ต่ำกว่าครั้งละ 100 หุ้นมีหุ้นหลายบริษัทที่ราคาไม่ถึง 5 บาทด้วยซ้ำจึงไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อหุ้น

 

4.หุ้นมีเงินปันผลให้ทุกปี โดยเฉลี่ย 2 ครั้ง/ปี

คนส่วนใหญ่คิดว่าเล่นหุ้นต้องซื้อมาขายไปแต่หากเราเลือกหุ้นที่มีปันผล แล้วถือหุ้นไว้ให้ครบรอบบัญชี เราจะได้เงินปันผลโอนเข้าบัญชีที่แจ้งไว้ในข้อ 1 นั่นเอง

 

5.รายได้ที่เกิดจากการขายหุ้น ไม่ต้องเสียภาษี

ไทยเป็นไม่กี่ประเทศที่กำไรจากการขายหุ้นไม่ต้องเสียภาษี ไม่ว่าจะได้กำไรมากเท่าไหร่ ก็ไม่ต้องเสียภาษี (เสียภาษีเฉพาะรายได้ที่เป็นเงินปันผลเท่านั้น)

 

6.หุ้นไม่ใช่การพนัน ไม่จำเป็นต้องเฝ้าหน้าจอ

การลงทุนหุ้นมีทั้งเก็งกำไรระยะสั้น และหวังปันผลระยะยาว

ถ้าเก็งกำไรระยะสั้น ... ก็ต้องเฝ้าหน้าจอ ซื้อขายหุ้นบ่อย ๆ

ถ้าหวังปันผลระยะยาว ... ก็ต้องใช้เวลาเลือกหุ้น แล้วถือ ไม่ต้องเฝ้าจอ

 

7.ความเสี่ยงของการเล่นหุ้น เกิดจากการไม่ศึกษาหาความรู้

95% ของคนเจ๊งหุ้น คือ คนที่ไม่เคยเรียนรู้เรื่องหุ้น เล่นตามข่าว เท่านั้นไม่พอ นอกจากไม่มีความรู้แล้วยังมีความโลภด้วย อยากรวยง่าย รวยเร็ว

การจำกัดความเสี่ยงจึงทำได้โดยการศึกษาหาความรู้ก่อนลงทุน

นี้ละครับที่ 7 เรื่องที่คนเล่นหุ้นไม่เคยบอกคุณ คุณต้องรู้ได้ด้วยตัวเองเท่านั้น ลงมือทำกันเลย...

#ภาววิทย์กลิ่นประทุม


เจ้าของหนังสือ Best Seller ซีรี่ย์ “แกะรอยหยักสมอง 1-3”  , “ฟรีดอมเทรดเดอร์” และ “คลีนิคหุ้นมือใหม่” พร้อมเป็นไอดอลผู้จุดประกายเรื่อง "หุ้น" ให้แก่นักลงทุนรุ่นใหม่ และเป็นวิทยากรคอร์ส “ปูพื้นฐานสู่การลงทุนเบื้องต้น” โดยมีผู้ติดตามจำนวนมาก  และได้รับเชิญไปบรรยายในหน่วยงานต่างๆ มากมายทั้งภาครัฐและเอกชน  รวมทั้งได้รับเชิญสัมภาษณ์ออกสื่อต่างๆมากมาย ทั้งโทรทัศน์  วิทยุ และสิ่งพิมพ์

Facebook

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง