"Music Streaming ดิสรัปชั่นพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ชื่นชอบการฟังเพลงไปตลอดกาล"
ดูเหมือนว่า "อินเตอร์เน็ต" จะเข้าไปมีบทบาทในทุกวงการไม่เว้นแม้กระทั่งการฟังเพลง ที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปหาโหลดแผ่น Mp3 ซื้อเทปผี-ซีดีเถื่อน มาฟัง หรือหาโหลดจากอินเตอร์เน็ตอีกต่อไปแล้ว เมื่อผู้ใช้มีทางเลือกที่สะดวกสบายกว่านั้น คือ Music Streaming ฟังเพลงผ่านสมาร์ทโฟนกันได้เลย
ในประเทศไทย ความนิยมของ Music Streaming พึ่งมาเป็นกระแสมาเมื่อไม่กี่ปีก่อน และเบอร์ 1 ในประเทศไทย คือ Joox แอพลิเคชั่นจากจีนที่เข้ามาทำตลาดอย่างหนักใน Asia-Pacific และประสบความสำเร็จกับโมเดลธุรกิจ "Freemium"
เราจะมาดูกันว่า ใครเป็นเข้าของแอปยอดนิยมอย่าง JOOX และการตลาดแบบ "Freemium" เป็นอย่างไร เรื่องราวน่าสนใจมากครับ
จริงๆการฟังเพลงผ่านอินเตอร์เน็ตมีมาตั้งนานแล้วนั้นคือการฟังวิทยุออนไลน์ แต่มนุษย์เราไม่ชอบฟังในสิ่งที่เราไม่ได้เลือก จึงเกิดเป็นไอเดียเล็กๆทางการตลาดของบริษัท Pandora Radio ที่สามารถฟังเพลงฟรีได้โดยมีโฆษณาคั่น ต่อมาการเข้ามาของแอพ Soundcloud ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สร้างไฟล์เสียงเอง อัพโหลดลงเว็บไซด์ได้ และสามารถดึงไฟล์เสียงไปตกแต่งใน Blog ของตัวเองได้
ต่อมาในปี 2008 การเข้ามาของ Spotify ก็ทำให้ตลาดการฟังเพลงออนไลน์ได้รับความนิยมขึ้นอย่างรวดเร็ว
สำหรับความนิยมในเอเชียนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศจีน นำโดยยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent ได้สร้างแอพลิเคชั่นสำหรับแชท คือ โปรแกรม QQ และพัฒนาต่อมาเป็น QQ Music ซึ่งได้รับความนิยมมากในหมู่วัยรุ่นชาวจีนและมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่ง
ต่อมา Tencent ได้เข้าซื้อกิจการ China Music Corporation เจ้าของแอพ KuGou และ Kuwo ผู้ให้บริการฟังเพลงออนไลน์ ส่งผลให้ QQ Music กินส่วนแบ่งการตลาดอันดับหนึ่งในการฟังเพลงของหนุ่มสาวชาวจีน มียอดการเข้าแอป จำนวนผู้ใช้เป็นเบอร์หนึ่งในจีนแผ่นดินใหญ่
ต่อมา Tencent เริ่มขยับขยายไปต่างประเทศโดยเริ่มจากที่ที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงอย่าง "ฮ่องกง" เป็นที่แรก แต่เนื่องจากว่าชื่อ "QQ Music" มันดูยาว และไม่ถูกในหนุ่มสาวชาวฮ่องกง จึงเปลี่ยนชื่อใหม่มาเป็น JOOX โดยโฆษณาว่า "ฟังเพลงฟรี ใครๆก็เข้าถึงได้โดยไม่มีข้อจำกัด " ในวงการตลาดเรียกวิธีการตลาดแบบนี้ว่า "Freemium" ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จสูงมาก
"Freemium" คือโมเดลธุรกิจแบบใหม่ของ Tencent ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสามารถเข้าใช้บริการได้ "ฟรี" ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าอยากได้คุณภาพที่มากกว่า ผู้ใช้ก็สามารถจ่ายเงินเพื่อปลดล๊อคได้ เช่น ในเรื่องของการฟังเพลง ผู้ใช้ทั่วไปสามารถฟังเพลงได้โดยมีคุณภาพเสียงแบบ Low แต่สำหรับผู้ใช้ที่จ่ายเงิน สามารถเลือกฟังคุณภาพแบบ Lossless หรือคุณภาพแบบคมชัดได้
หลังจากประสบความสำเร็จในฮ่องกงแล้ว Tencent เริ่มทำการตลาดในอินโดนีเซีย และมาเลเซีย รวมถึงประเทศไทยที่คนเริ่มเข้าถึง 3G มากขึ้น ทำให้ JOOX ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกันและมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่ง
ส่วนแบ่งการตลาด Music Streaming ของ 4 ประเทศ
Source : mckinsey.com
สถาบันวิจัย The McKinsey กล่าวว่า มูลค่าการตลาดเพลงสตีมมิ่ง Asia-Pacific มีมุลค่าอยู่ที่ 900 ล้านเหรียญ ซึ่งถือว่ายังน้อยอยู่และมีโอกาสเติบโตได้สูงเมื่อเทียบกับในอเมริกาที่ประชากรส่วนใหญ่หันไปฟังผ่านดิจิตอลกันหมด และมีมูลค่าการตลาดมากถึง 3.3 พันล้านเหรียญ
แอป JOOX มียอดดาวโหลดมากกว่า 50 ล้านครั้ง มีผู้ใช้งานเฉลี่ยวันละ 15 ล้านคน และคนๆหนึ่งใช้เวลากับ JOOX เฉลี่ยที่ 80 นาที/คน
ปัจจุบัน JOOX มีสมาชิกมากกว่า 25 ล้านคนในประเทศไทย ฮ่องกง มาเลเซีย และอินโดนีเซีย รายได้ส่วนใหญ่ของ JOOX มาจากสปอนเซอร์เพลลิสต์ โฆษณาระหว่างการฟังเพลง และยอดการสมัครสมาชิกซึ่งรายได้ตรงส่วนนี้ยังถือว่าน้อยอยู่ แต่ทางฝ่ายบริหารตั้งเป้าไว้ว่าจะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากยอดสมัครสมาชิกให้เป็น 10% ของรายได้รวมทั้งหมด โดยตั้งเป้าที่สมาชิกประมาณ 80 ล้านคนในปี 2020
** สปอนเซอร์เพลลิสต์ คือการที่แบรนด์จัดเพลงเป็นกลุ่มที่ต้องการสื่ออารมณ์ถึงแบรนด์ๆนั้น ทำให้เมื่อผู้ฟังเพลงได้ฟังเพลงเหล่านี้แล้วก็จะนึกถึงแบรนด์นั้นไปในตัว
และนี้ก็คือประวัติคร่าวๆของ Music Streaming และการเข้ามาทำตลาดของ JOOX แอพลิเคชั่นฟังเพลงอันดับหนึ่งของชาวไทย ภายใต้ร่มเงายักษ์ใหญ่จีนอย่าง Tencent ด้วยโมเดลธุรกิจใหม่แบบ "Freemium"
.... ขอตัวไปฟัง JOOX ก่อนนะครับ ....
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
https://en.wikipedia.org/wiki/QQ_Music
https://en.wikipedia.org/wiki/JOOX
https://www.pressreader.com/thailand/bangkok-post/20170119/282029031931182
https://www.mckinsey.com/~/media/mckinsey/industries/media%20and%20entertainment/our%20insights/digital%20musics%20asian%20beat/the-beat-of-progress-the-rise-of-music-streaming-in-asia.ashx
https://brandinside.asia/music-streaming-in-thailand/
https://www.sutori.com/story/history-of-music-streaming