#วางแผนการเงิน

กองทุน "มนุษย์เงินเดือน"

โดย มงคล ลุสัมฤทธิ์
เผยแพร่:
137 views

หากที่ทำงานของคุณมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็สมัครเข้ารว่มกับเขาเถอะครับเพราะคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนเพียง 1 ใน 2.5 ล้านคน จากคนที่มีงานทำ 37.2 ล้านคนทั่วประเทศไทยเรียกว่าคุณโชคดีมากที่มีคนห่วงใยชีวิตของคุณในวัยเกษียณ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือแหล่งรายได้สำคัญมากยามเกษียณ เป็นหลักประกันความมั่นคงในวันหยุดทำงานของมนุษย์เงินเดือน เป็นการออมภาคสมัครใจที่บริษัทแนะนำพนักงานให้เข้าเป็นสมาชิกกองทุน

ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ประมาณ 6,000-7,000 บริษัทเท่านั้นซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ  เครื่องมือตัวนี้ถือว่าเป็นความรว่มมือกันของพนักงานและบริษัทโดยในมุมของบริษัทจะถือว่าเป็นสวัสดิการ เพราะจะได้จูงใจให้พนักงานอยู่กัยเรานาน ๆ ส่วนในมุมของพนักงานก็ได้ประโยชน์ในเรื่องกของการเก็บเงินออมระยะยาวไว้ใช้ในยามเกษียณหรือวันที่ออกจากงาน

 

“สมาชิกจะถูกหักเงินเข้ากองทุนโดยเท่า ๆ กันทุกเดือนในอัตรา 2%-15% ของเงินเดือน ส่วนนายจ้างมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบในส่วนที่เท่ากันหรือมากกว่าแล้วนำเงินทั้งหมดเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยมี บริษัทจัดการ เป็นผู้บริหารมืออาชีพบริหารเงินกองทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนดีขึ้น”

 

ดังนั้นถ้าบริษัทให้เราเลือกว่าจะยอมหักเงินเข้ากองทุนเท่าไหร่ผมขอแนะนำให้เลือกอัตราที่สูงที่สุดที่เขามีไปเลยครับ! เพราว่า เมื่อหักเงินเรา 15% บริษัทก็ต้องสมทบให้เรา 15% เท่ากับว่าเราได้ผลตอบแทนทียบเงินลงทุน 100% เลยนะครับ (ยังไม่รวมผลตอบแทนที่บริษัทจัดการนำเงินไปบริหารอีก)

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นอย่างไร?

 

ในสมัยก่อนบริษัทจะเป็นผู้เลือกกองทุนตามนโยบายการลงทุนที่บริษัทเลือก ทั้งบริษัทเลือกกองที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกันหมด จนตอนหลังเกิดปัญหาขึ้นมาคือ นโยบายการลงทุนของกองทุนไม่มีความเหมาะสมกับพนักงานแต่ละคน

ยกตัวอย่าง เช่น พนักงานอาวุโสที่กำลังจะเกษียณในอีก 5-6 ปีแต่กองทุนมีดันเป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงจนเกินไป ไม่เหมาะกับพนักงานที่ไกล้เกษียณที่ต้องการความปลอดภัยของเงิน ตรงกันข้ามพนักงานที่อายุไม่เยอะ และยังสามารถรับความเสี่ยงสูงได้ แต่บริษัทไปเลือกกองที่มีความเสี่ยงต่ำลงทุนในตราสารหนี้เหรอเงินฝาก ก็จะทำให้เสียโอกาสทางการเงินไปอีก

 

“ภายหลังจึงมีรูปแบบ? Employees Choice” คือให้พนักงานได้เลือกตามความเหมาะสมตัวเองเลยครับ ว่ายอมรับความเสี่ยงได้น้อยมากแค่ไหน”

 

กองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ จะเน้นเรื่องของความมั่นคง ยกตัวอย่าง เช่น อาจลงทุนในตราสารหนี้ เช่นพันธบัตร หรือหุ้นกู้ 70-100% และลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้นสามัญเพียง 10-30% หรือไม่ลงเลย

 

  • กองทุนที่มีความเสี่ยงปานกลาง อาจลงทุนในตราสารหนี้ 50% และลงในตราสารทุน 50%
  • กองทุนที่มีความเสี่ยงสูง จะเน้นการเติบโตของเงินลงทุน อาจลงในตราสารทุน 70-80% และลงในตราสารหนี้ 20-30%
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนอกจากจะได้ประโยชน์เรื่องการออมเงินระยะยาวแล้ว ยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอีก เช่น เงินหักสะสมเข้ากองทุนสามารถนำมาลดหย่อนภาษีรายได้ส่วนบุคคลตามจริงโดยรวมกับเงินที่ซื้อกองทุนรวมเพื่อการเกษียณหรือ RMF และกรมธรรม์บำนาญสูงสุดปีละ 500,000 บาท

 


เจ้าของเพจที่รวมและแบ่งปันความรู้วางแผนการเงิน เพจ : Financial Times by Mongkol นักออกแบบความมั่งคั่ง โดยมงคล ลุสัมฤทธิ์ (Wealth Designer)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง