"เงิน" มีความสำคัญเป็นอันดับสามที่จะช่วยให้มนุษย์มี "ความสุข" แล้วอันดับหนึ่งกับสอง คืออะไร ?
ได้มีโอกาสอ่านงานเขียนเรื่อง Counting Happiness (ตรวจนับความสุข) ... ซึ่งเป็นงานเขียนของ Yuval Noah Harari ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Sapiens ได้พยายามอธิบายว่าเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วที่มนุษย์พยายามนำวิทยาศาสตร์สมัยใหม่มาค้นหาคำตอบ "ความสุขคืออะไร"
คนสมัยก่อนมีความสุขกว่าคนปัจจุบันจริงหรือ คนที่อยู่ภายใต้การปกครอบแบบประชาธิปไตยจะมีความสุขกว่าคนที่อยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการไหม หรือคำถามง่ายๆที่ว่าคนรวยมีความสุขกว่าคนจน มันเป็นความจริงมากน้อยแค่ไหน ?
แต่จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังได้รับคำตอบไม่แน่ชัด บางครั้งอาจจะขึ้นอยู่กับนิสัยส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์พยายามตีความหมายของคำว่า "ความสุข" ออกมาเป็นตัวเลข เพื่อที่จะสามารถวัดว่าบุคคลผู้นั้นมีความสุขหรือไม่ โดยทำการทดลองขนาดใหญ่ขึ้นมา ....
โดยสุ่มตัวอย่างประชากรมากถึง 2,000 คน ซึ่งมีสถานะภาพทางสังคม สภาพร่างกาย อาขีพ เงินเดือน ที่แตกต่างกัน นำมาจัดหมวดหมู่เข้าด้วยกัน แล้วนำคนทั้งหมดมาทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาด้วยคำถามง่ายๆ เช่น
- ตอนนี้คุณมีความสุขดีหรือไม่ ?
- ตอนนี้คุณมีเงินเดือนเท่าไร ถ้าคุณเห็นเพื่อนบ้านของคุณมีเงินเดือนมากกว่าหรือน้อยกว่าคณ คุณจะมีความรู้สึกอย่างไร
- คุณมีโรคประจำตัวหรือไม่ หรือมีส่วนไหนของร่างกายที่รู้สึกว่าเป็นปมด้อยของคุณ
- สถาณภาพของคุณเป็นอย่างไร โสด/แต่งงาน/หย่าร้าง คุณรู้สึกพอใจกับสถานะภาพปัจจุบันหรือไม่
นี้ก็เป็นตัวอย่างคำถาม ที่จะส่งต่อให้กับนักจิตวิทยาประเมินออกมาเป็นตัวเลขเพื่อจัดลำดับความสำคัญที่มีผลต่อความสุข ผลปรากฏว่า .. !
สิ่งที่จะส่งผลต่อความสุขประกอบไปด้วย 3 อย่าง เรียงตามความสำคัญมากสุด คือ ครอบครัว สภาพร่างกาย และเงินทอง ...
น่าแปลกมากที่เงินทองคือสิ่งที่คนตามหามากที่สุด แต่กลับมีความสำคัญเป็นอันดับที่สาม ?
ผู้สูงอายุที่สามีภรรยายังคงรักกันดีอยู่มีความสุขมากกว่าผู้สูงอายุที่ร่ำรวยแต่ครองตัวโสดเพราะเขารู้สึกว่าเขามีความเหงา ความหว้าเหว่ หาเพื่อนรู้ใจที่พูดคุยไม่ได้ หรือแม้กระทั่งคนที่มีคู่ชีวิตที่ดี แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ เช่น ป่วยเรื้อรัง เป็นมะเร็ง เบาหวาน หรือสูญเสียอวัยวะไป ก็สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ถ้าเขามีสามี ภรรยาหรือลูก ที่เข้าใจกันดีและอยู่กับด้วยความอบอุ่น
มีผลการทดลองหนึ่งน่าสนใจ ... มีสาววัยทำงานคนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มทดลอง เธอมีเงินเดือนประมาณ 3 หมื่นบาทต่อเดือน ซึ่งไม่ค่อยจะเพียงพอต่อการดำรงชีพสักเท่าไรนัก ต่อมาเธอประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนต้องตัดขา ในวันที่เธอตัดขาเธอมีสภาพจิตใจที่หดหู่มากเพราะทำใจไม่ได้ที่ต้องพิการขณะที่อายุยังน้อย ทางทีมวิจัยได้จัดฉากให้เธอถูกล๊อตเตอร์รี่เป็นเงินรางวัล 30 ล้านบาท (ซึ่งมีการมอบเงินให้จริงๆโดยให้น้องชายของเธอเป็นคนแจ้งข่าวดี) ปรากฏว่าสภาพจิตใจของเธอดูดีขึ้นมากและดีขึ้นเรื่อยๆ แต่เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นผ่านไปประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็กลับมาหดหู่อีกครั้งหนึ่ง
ผลการทดลองนี้จึงสรุปได้ว่า ความเจ็บป่วยทางร่างกายแบบเรื้อรังมีผลต่อความสุขมากกว่าการมีเงินมากๆในระยะยาว
สรุปแล้ว มนุษย์พยายามค้นหาความสุข และตอบตัวเองให้ได้ว่าความสุขที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ ในทางวิทยาศาสตร์อาจจะได้รับคำตอบไม่ชัดเจนมากนักเพราะสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละคนไม่เหมือนกัน มันมีความซับซ้อนมากกว่าที่จะอธิบายได้่ว่า 1+1 = 2
แต่ถ้าถามว่า "อิทธิพล" ที่จะทำให้เรามีความสุขมากน้อยแค่ไหนนั้น สิ่งที่สำคัญมากที่สุดตามลำดับ คือ
สถานะทางครอบครัว >> ชีวิตคู่ แต่งงาน มีลูก ไม่มีลูก กระท่อนกระแท่น หย่าร้าง โสด
สภาพร่างกาย >> หนุ่ม สาว ชรา แข็งแรง อ่อนแอ เจ็บป่วยเรื้อรัง พิการ
เงินทอง >> รวย จน มั่งคั่ง หนี้สินมาก
เราต้องลองหันกลับมามองตัวเองและถามตัวเราเองว่า ปัจจุบันนี้เรามีความสุขมากน้อยแค่ไหน เพราะความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แล้วความสุขของเพื่อนๆละครับ นิยามไว้ว่าอย่างไรบ้าง ... ?