หากเราลองนึกย้อนไปใน "อดีตเหมือนในสมัยก่อน" โลกจะมีการทำสงครามกันทุกช่วงยุคสมัยแต่สงครามที่สำคัญ ๆ ของโลกใบนี้ที่เรารู็จักกันดี คือ
สงครามโลกครั้งที่ 1
เป็นสงครามที่เริ่มและมีศูนย์กลางอยู่ในทวีปยุโรป ชนวนเหตุสำคัญของความขัดแย้งเริ่มจาก เมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เกิดการลอบปลงพระชนม์ อาร์ช ดยุก ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ขณะเสด็จเยือนกรุงซาราเจโว เมืองหลวงของแคว้นบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา โดย กัฟรีโล ปรินซีป นักชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ออสเตรีย-ฮังการี เชื่อว่า เซอร์เบียอยู่เบื้องหลังในการกระทำดังกล่าว
สงครามโลกครั้งที่ 2
1) ความไม่เป็นธรรมที่เยอรมนีได้รับหลังเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงโดยฝ่ายไตรภาคี (เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี อิตาลี) เป็นฝ่ายแพ้ ได้มีการทำสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์ ในปี 1918 สนธิสัญญาดังกล่าวไม่เป็นธรรมกับฝ่ายผู้แพ้ โดยเยอรมนีถูกถือว่าเป็นผู้ก่อสงครามจึงต้องเป็นผู้ชดใช้หนี้สงครามถึง 269000 ล้านเหรียญสหรัฐ
2) ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ การเกิดขึ้นของลัทธินาซีในเยอรมนีและลัทธิฟาสซิสม์ (Fascism) หรือลัทธิเผด็จการทหารที่ยึดแนวทางชาตินิยมของอิตาลีภายใต้การนำของ เบนิโต มุสโสลินี นำไปสู่ความขัดแย้งกับระบบเศรษฐกิจและการเมืองของบรรดารัฐต่างๆในยุโรป ขณะเดียวกันญี่ปุ่นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับเยอรมนีและอิตาลี คือ ทหารเข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองและจัดตั้งรัฐบาลโดยดำเนินนโยบายชาตินิยม มุ่งเน้นการขยายอำนาจให้ญี่ปุ่นยิ่งใหญ่ทัดเทียมประเทศมหาอำนาจตะวันตก และหาดินแดนสำหรับเป็นแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในญี่ปุ่น รวมทั้งใช้เป็นตลาดระบายสินค้าที่ผลิตในญี่ปุ่น
3) ความล้มเหลวขององค์กรสันนิบาตชาติในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนานาชาติ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงได้มีการตั้งองค์การ “สันนิบาตชาติ” เพื่อทำหน้าที่ระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ สร้างสันติภาพ อย่างไรก็ตามองค์การสันนิบาตชาติไม่สามารถระงับข้อพิพาทกรณีที่เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ขยายอำนาจเข้าไปยึดครองดินแดนอื่นๆในช่วงทศวรรษ 1930 ถึงกลางทศวรรษ 1940 ส่งผลให้ข้อพิพาทดังกล่าวขยายตัวขึ้นมาเป็น “สงครามโลกครั้งที่ 2”
ปัจจุบันการสู้รบกันระหว่างชนชาติมหาอำนาจบนโลกไม่ได้รบกันด้วยวิธีการแบบเดิม ๆ อีกต่อไปอีกแล้วอย่างที่เราเคยรู้จักกันมาแต่ได้เปลี่ยนวิธีการสู้รบกันไปในรูปแบบ ของ สงครามการค้าบ้าง สงครามอัตราดอกเบี้ยบ้าง ปัจจุบันยังไม่มีทีท่าว่าสงครามการค้าจะจบลงกันง่าย ๆ "เพราะแต่ละประเทศต่างก็ต้องปกป้องกำแพงภาษีของประเทศตัวเอง"
โลกเข้าสู่ยุคอัตราดอกเบี้ยตกต่ำทั่วโลก อัตราดอกเบี้ยที่สูงไม่มีอีกต่อไป
อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ไม่ได้มีผลดีกับระบบเศรษฐกิจอีกต่อไป การที่ดอกเบี้ยที่ต่ำมากนั้น แปลว่าการลงทุนสร้างโรงงานหรือทรัพย์สินถาวรเพื่อประกอบธุรกิจจะมีหรือเติบโตน้อยลงไปมากและเป็นอย่างนั้นอีกนาน ผลที่ตามมาก็คือ เศรษฐกิจก็น่าจะโตช้าลงและจะคงอยู่อย่างนั้นอีกนาน "ถ้าเศรษฐกิจไม่โต ตลาดหุ้นก็ไม่สามารถโตได้ และตลาดหุ้นนั้นก็จะต้องสะท้อนภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ผลก็คือ การลงทุนในตลาดหุ้นนั้น น่าจะให้ผลตอบแทนต่อปีที่น้อยลง
การทำ M&A หรือการซื้อกิจการเพื่อการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนน่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงและการที่สถาบันการเงินและตลาดการเงินมีสภาพคล่องสูง ดังนั้น บริษัทที่มีความมั่นคงและมีหนี้ไม่มากก็จะมีความสามารถในการกู้เงินระยะยาวที่จะใช้ซื้อกิจการที่มีกำไรที่แน่นอนพอสมควรโดยที่ราคาซื้อหุ้นอาจจะสูงกว่าปกติได้ เหตุผลก็คือ บริษัทที่เทคโอเวอร์บริษัทอื่นนั้นอาจจะคิดว่าตนเองสามารถนำกำไรจากบริษัทเป้าหมายมาจ่ายดอกเบี้ยจากการกู้เงินมาซื้อได้โดยที่ตนเองไม่ต้องเพิ่มทุนหรือเพิ่มไม่มาก
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย กับ อัตราผลตอบแทน เกี่ยวข้องกันอย่างไร?
จากที่เรา ทราบกันอยู่แล้วว่า ปัจจุบันทางธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินนโยบายทางการเงินภายใต้กรอบของเงินเฟ้อหรือที่เราเรียกว่า Inflation targeting ดังนั้นเพื่อที่จะควบคุมปริมาณเงินในระบบ ให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจำเป็นต้องมีเครื่องมือทางการเงินเพื่อเป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยในตลาด ว่าควรอยู่ที่เท่าไรในตามแต่ละสถานการณ์ ซึ่ง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายนับว่าเป็นเครื่องมือหลักในการส่งสัญญาณทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดว่าเป็นอย่างไรเนื่องจาก อัตราดอกเบี้ยนโยบายจัดเป็นต้นทุนตัวหนึ่งของทางธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นต้นทุนในการกู้ยืมเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเพื่อกัดเงินสำรองที่ต้องทำกับ ธปท ทุกสิ้นวันตามกฎหมาย หรือเพื่อบริหารสภาพคล่องของตน ดังนั้นเมื่อต้นทุนในการกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ก็จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดทั้งดอกเบี้ยเงินกู้และดอกเบี้ยเงินฝากปรับตัวตามไปด้วย ดังที่เห็นได้ในปัจจุบัน
สำหรับในส่วนของตลาดตราสารหนี้นั้น อัตราดอกเบี้ยนับว่าเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดอัตราผลตอบแทนว่าควรอยู่ที่เท่าไร ซึ่งจะปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทนก็จะปรับตัวลดลงตาม ในขณะที่หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้อัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม แต่ในความเป็นจริงการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนจะแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์เล็กน้อย เนื่องจากผู้ร่วมตลาดมักจะคาดการณ์ถึงผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินไว้ล่วงหน้า และมีการปรับตัวไปก่อน ดังจะเห็นได้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตร จะปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงก่อนผลการประชุมเสียอีก อย่างไรก็ตามการปรับตัวของทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เงินฝาก และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าการประกาศเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ประเทศที่มีอัตราเศรษฐกิจสำคัญของโลก
Reference : https://th.investing.com
https://www.sarut-homesite.net