#วางแผนการเงิน

มี Passive Income ด้วยสินทรัพย์ทางการเงิน

โดย ภัทรพล ศิลปาจารย์
เผยแพร่:
138 views

ถ้าใครอยากมีรายได้ทางนี้ ต้องตั้งคําถาม กับตัวเองก่อนครับว่า “มีเงินหรือยัง?”

บางคนอาจพูดอย่างสิ้นหวังว่าก็ฉันไม่มีเงิน แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปลงทุน แต่ผมว่า แทนที่จะคิด แบบนั้น คุณควรเปลี่ยนเป็นถามตัวเองว่า “แล้วทํายังไงถึงจะมีเงินมาลงทุนมากกว่านี้?”

“ฉันไม่มีเงิน” ประโยคนี้ทําให้สมองคุณหยุด คิด แต่ “ทํายังไงถึงจะมีเงิน?” ประโยคนี้สมองจะคิดหาวิธีการ เหมือนที่ Marilee G. Adams บอกไว้ ในหนังสือ พลิกคําถามเปลี่ยนชีวิต (Change Your Question Change Your Life)

เอาล่ะ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมสมมติ ว่าคุณมีเงินก้อนนั้นก็แล้วกันครับ (ตัดบทเลย ฮ่าๆๆ) ขั้นต่อมาคุณก็ต้องถามตัวเองว่า “รับความเสี่ยงได้ มากน้อยแค่ไหน?" เพราะการลงทุนแบบนี้มันจะเข้าตําราที่ว่า High Risk High Return

ผมอยากเริ่มจากตัวที่น่าจะเสี่ยงเยอะที่สุด ก็คือ Dividend หรือเงินปันผลจากหุ้น

สิ่งที่คุณต้องทําอันดับแรกก็คือ ถามตัวเองก่อนว่าอยากได้เงินปันผลเท่าไหร่? แล้วหั่นลงมาว่า เงินปันผลที่ว่านั้นมันตกเดือนละกี่บาท จากนั้นค่อยคิดย้อนกลับไปว่าแล้วต้องหาเงินต้นเท่าไหร่ เพื่อมาลงทุนตรงส่วนนี้ ซึ่งโดยปกติแล้วปันผลจากหุ้นจะอยู่ที่ประมาณ 3-8%

วิธีการเลือกหุ้นของผม ผมคิดว่าผมซื้อทั้งบริษัท คือเป็นเจ้าของร่วมที่จะโตไปด้วยกัน บริษัท ที่มี Durable Competition Advantage (มีความสามารถในการแข่งขันเหนือคู่แข่งที่ยั่งยืน) ดูงบการเงินย้อนหลังอย่างน้อย 5 ปี ยอดขาย กําไร ปันผล ที่โตขึ้นสม่ำเสมอ

ผมแนะนําว่าถ้าคุณไม่มีความรู้เรื่องการลงทุนเลย หรือมีบ้างเพียงเล็กน้อย ปัจจุบันมีคอร์สสอนการลงทุนมากมายที่คุณสามารถไปหาความรู้เพิ่มเติมได้ แต่อย่าไปเรียนกับคนที่มีแค่ทฤษฎี แต่ ตัวเองไม่เคยลงเงิน ไม่เคยประสบความสําเร็จ เลยล่ะ แบบนั้นผมว่าไม่เวิร์ค คุณต้องเรียนกับ คนที่มีผลลัพธ์แล้วเท่านั้น!!!

ลําดับต่อมาคือ Bond หรือ “ตราสารหนี้/หุ้นกู้” ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนสถาบันและประชาชนให้มีส่วนร่วม ถือว่ามีความปลอดภัยทางการเงินสูงในระดับหนึ่ง โดยจะ ได้รับปันผลอยู่ในระดับ 3-6% ต่อปี (แล้วแต่เงื่อนไข) มีทั้งในรูปแบบของพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ของบริษัทเอกชน

ซึ่งตรงส่วนนี้ก็ต้องดูระดับความน่าเชื่อถือด้วยเหมือนกันครับ เพราะบริษัทที่มีความเสี่ยงมากหน่อย ก็จะมีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง แต่ก็ต้องระวังนิดนึงด้วยว่าบริษัทจะทําได้จริงอย่างที่ประกาศไว้เปล่า

แต่มันก็ตามกฎของความเสี่ยงนั่นแหละคือ เสี่ยงมากได้มาก เสี่ยงน้อยได้น้อย

บางคนคิดว่าถ้ามีเงิน 1 แสนบาท เอามาทําแบบนี้ไม่คุ้มเลยเอาไปทําอย่างอื่นดีกว่า เช่น เล่นหุ้น ซื้อเช้าขายเย็นแบบเดย์เทรด ครั้งเดียวอาจได้เงินเป็นหมื่นบาท ผมไม่เถียงเลยว่ามันอาจจะทําได้เหมือนกัน แต่ในมุมมองของผมก็คือ เดย์เทรดไม่สามารถ ทําให้คุณหยุดได้ และมันไม่ใช่ Passive Income ในแบบที่เราต้องการ

passive income ออมเงิน วางแผนการเงิน

ที่ผมอยากจะเน้นแล้วเน้นอีกก็คือ คุณต้องประเมินความเสี่ยงเนื่องจาก “อายุ” ของคุณด้วย ถ้า คุณอายุน้อย คุณก็เสี่ยงได้มาก แต่ถ้าวันนี้คุณอายุมาก แต่ดันเลือกไปลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงๆ แบบนี้ก็อันตราย เพราะถ้าการลงทุนนั้นผิดพลาดขึ้นมา ชีวิต คุณแย่แน่ (เว้นแต่ว่าเงินก้อนนั้นที่คุณเอามาลงทุน เย็นเป็นน้ำแข็งเลย)

สุดท้ายคือ “Saving” หรือ “การออมเงินไว้ในธนาคาร” เป็นเรื่องที่เรารู้กันตั้งแต่เด็กแล้วว่าการออมเป็นสิ่งที่ดีมีการรณรงค์ให้ออม 10% ของรายได้ทุกเดือน ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องดีๆ ที่น่าสนับสนุน เพียงแต่ ในยุคนี้ผมคิดว่าการออมคือการขาดทุน ยิ่งออมยิ่ง ขาดทุน เพราะเงินมันเฟ้อ เนื่องจากเงินถูกออกแบบ มาให้ลดค่าลงทุกปี

สมมติถ้ามีเงินฝาก 1 แสนบาท ดอกเบี้ย บัญชีออมทรัพย์ปัจจุบันคือ 0.72% เพราะฉะนั้นคุณ จะได้เงิน 720 บาท เวลาคุณเอาสมุดธนาคารไปอัพ มันแทบไม่มีความรู้สึกเลยว่า เย่! ดีใจ ว้ว! ดอกเบี้ย ของเดิมยังใช้ไม่หมดเลยเว้ยเฮ้ย! ดูดิ๊ได้มาอีกตั้ง 720 บาท (ประชด 555)

ทุกวันนี้คนเลยสิ้นหวังกับการฝากเงินในธนาคารเพื่อรับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยกัน หมดแล้ว คนที่พอจะมีความรู้เรื่องเงิน ก็จะย้ายเงิน ไปลงในส่วนอื่น อย่างที่ปลอดภัยหน่อยก็พันธบัตรรัฐบาล

วันที่มีเงินมากขึ้น คุณต้องเก็บส่วนนึ่งไว้เพื่อ สร้างห่านทองคําเพิ่ม เพราะเงินมันลดค่าลงทุกวัน คุณต้องมี Asset เพิ่มขึ้นครับ

ถ้าเป็นผม ผมจะแนะนําว่าคุณจะต้องหันมาใส่ใจเรื่องเงินอีกหลายเท่าตัว มีหนทางการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินมากมาย แต่คุณต้องให้เวลาศึกษามันให้ดีๆ ครับ


คูณพอล ภัทรพล เรียนจบ MBA ที่สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งยังจบด้านอสังหาริมทรัพย์ กับ RE-CU (Real Estate Chulalongkorn University) ควบคู่ไปด้วย

ในด้านการทํางาน พอลถือเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่เป็น Triple Threat ของวงการบันเทิง คือ ทําครบ 3 อย่าง ทั้งนักแสดง พิธีกร และนักร้อง

พอลรับรางวัลมามากมาย อาทิ รางวัลศิลปินธรรมทูตทูตดาราเพื่อ คุณธรรม และรางวัลผู้ดําเนินรายการประเภททีมดีเด่น จากรายการ วีไอพี จากรางวัลโทรทัศน์ทองคํา ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2552 อีกด้วย

ในด้านธุรกิจ พอลมียอดธุรกิจเกินพันล้านบาทต่อปี และเกษียน จากงานได้ตั้งแต่อายุ 35 ปี หลังเกษียณพอลทํา Action For Passion และ ลงทุนใน Start Up ในฐานะ Angel investor เขียนและสอนวิธีเกษียณเร็ว ฯลฯ

Facebook

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง