รุ่งอรุณของวันอังคารที่ 16 กันยายน 2008 หากใครที่จำวันนี้ได้คงจะเป็นวันที่ตื่นมาและดีสำหรับทุกคคนแต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นกลับกลายเป็นวันหายนะของโลกสะมากกว่า “เป็นวันที่ เลห์แมน บราเธอร์ส ยื่นฟ้องล้มละลาย” เรื่องราวนี้เกิดขึ้นที่ประเทศที่ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นต้นแบบแห่งดลกการเงินเสรี สหรัฐอเมริกานั่นเอง ประเทศที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป้นประเทศที่ขึ้นชื่อได้ว่าที่มีการจัดการความเสี่ยงได้อย่างล้ำลึก
เกิดอะไรขึ้นกับ เลห์แมน บราเธอร์ส (Lehman Brother)
เลห์แมน บราเธอร์ส (Lehman Brother) เป็นวาณิชธนกิจที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 4 ของสหรัฐอเมริกา วันที่ 16 กันยายน 2008 เป็นวันที่หัวข้อข่าว Breaking News ของทุกสำนักข่าวและทั่วโลกต่างพากันพาดหัวข่าวการล้มละลายของ เลห์แมน บราเธอรส์ (Lehman Brother) แม้ผู้คนจะชินชากับข่าวก่อนหน้านี้แล้วที่ วาณิชธนกิจอันดับ 5 ของสหรัฐอเมริกา อย่าง แบร์ สเติร์นส์ (Bear Stearns) ที่ตกอยู่ในภาวะเกือบล้มละลายแต่ก็ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาด้วยการขายกิจการให้กับ (JP Morgan Chase)และข่าวลบในช่วงเวลาต่อมา (7 กันยายน 2008) คือ แฟนนี เม (Fannie Mae) และ เฟรดดี แมค (Freddie Mac) “เป็นหน่วยงานพิเศษของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งสนับสนุนให้ชาวอเมริกันมีบ้าน” สถาบันการเงินนี้เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการส่งเสริมและพัฒนาตลาดอสังหาริมทรัพย์ของ สหรัฐฯ ก็ได้ถูกซื้อกิจการไปโดยกระทรวงการคลัง สหรัฐฯ ด้วยการแปลเปลี่ยน สัญญาเงินกู้อสังหาริมทรัพย์แบบพื้น ๆ ให้กลายเป็น “หลักทรัพย์” มูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ สถาบันการเงินพวกนี้มีข่าวตามมาติดๆ กันเพราะสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ “ซับไพรม์”
วอลล์สตรีทระเบิด
ระเบิดเวลาทางเศรษฐกิจตามาติดๆ หากใครเคยทำประกันชีวิตไว้คงได้ยินชื่อ บริษัท เอไอเอ ประกันชีวิต ต่อมาก็คือ บริษัท เอ ไอ จี ประกันชีวิต (American International Group) “AIG” ที่มีมูลค่าสินทรัพย์กว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลายเป็นบริษัทที่หมดสภาพจะทำธุรกิจอีกต่อไปทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศให้วงเงินกู้ฉุกเฉินสูงถึง 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ “คำถามคือ แล้วเราจะเชื่อมั่นระบบประกันภัยของบริษัทนี้ที่อยู่ในตลาดมายาวนาน 100 กว่าปีได้ยังไงในเมื่อผู้รับประกันยังไม่สามารถรับประกันตัวเองให้อยู่รอดได้”
การล้มละลายของ เลห์แมน บราเธอร์ส (Lehman Brother) ถือได้ว่าเป็นฝันร้ายครั้งใหญ่ของโลกการเงินและประเทศที่ได้ขึ้นชื่อว่าดินแดนเสรี เป็นตัวแทนของตลาดการเงินโลกเป็นตัวแทนความก้าวหน้าทางการเงิน เหตุผลที่รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องใช้เงินภาษีของประชาชนชาวอเมริกันเข้าไปพยุ่งไม่ให้ บริษัท เอ ไอ จี ล้มละลายเพราะว่าถ้าปล่อยให้ล้มละลายไปความเลวร้ายจะมากกว่านี้เศรษฐกิจทั้งโลกจะบอบช้ำมากกว่านี้ วันที่ 3 ตุลาคม 2008 รัฐบาลสหรัฐฯ โดยประธานนาธิบดี บุช ได้อนุมัติงบประมาณกว่า 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อเข้าไปซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่ด้อยคุณภาพรักษาไม่ให้สถาบันการเงินต้องล้มไปอีก
สรุป
เห็นมั้ยครับว่า ความสูญสัยครี่งนี้มันเลวร้ายขนาดไหน รัฐบาลสหรัฐต้องใช้เงินงบประมาณมหาศาลเพื่อเข้าไปซื้อสินทรัพย์ด้อยค่าไว้ เงินที่รัฐบาลสหรัฐใช้ครั้งนี้มากกว่าที่ประเทศเราใช้ทั้งปีเสียอีก ถ้าแปลงเป็นเงินบาทไทยใช้อัตรา ดอลลาร์ที่ 35 บาท จะได้เท่ากับ 24,500,000,000,000 บาทลองนึกดูรายจ่ายของประเทศไทยในปี 2008 เท่ากับ 1.66 ล้านบาท…..แต่นี่เป็นเพียงเงินก้อนหนึ่งที่ถูกใช้เพื่อกู้วิกฤตครั้งนี้และในเวลาต่อมารัฐบาลสหรัฐก็ทุ่มเงินเข้าไปอีก ปัจจุบันยังไม่มีที่ท่าว่า เศรษฐกิจขยายตัวแบบจริงๆ