สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กที่มีประชากรมากกว่า 5.6 ล้านคน แออัดยัดเยียดกันอยู่บนเกาะที่มีพื้นที่เพียง 722 ตารางกิโลเมตร (ครึ่งหนึ่งของพื้นที่กรุงเทพฯ)
ทำให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เมื่อมีประชากรหนาแน่นมาก และพื้นที่มีจำกัด ทรัพยากรที่สิงคโปร์ขาดแคลนมาตลอดนับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศในปี 1965 ก็คือ “น้ำจืด”สิงคโปร์จึงจำเป็นต้องทำข้อตกลงในการนำเข้าน้ำจืดจากมาเลเซีย ซึ่งข้อตกลงนี้มีมานับตั้งแต่ปี 1962 และจะหมดอายุในปี 2061 ซึ่งหากนับจากปี 2019 หมายความว่าข้อตกลงของสิงคโปร์จะหมดอายุภายในอีก 42 ปีข้างหน้าการที่ต้องนำความอยู่รอดมาแขวนไว้กับประเทศเพื่อนบ้านคือปัญหาที่รัฐบาลสิงคโปร์ทุกยุคทุกสมัยพยายามหาทางออกนำมาสู่แผนการจัดการน้ำเพื่อความยั่งยืนเพื่อลดสัดส่วนน้ำจืดที่นำเข้า และพึ่งพาน้ำจืดจากภายในประเทศตัวเองให้ได้ทั้งหมด
ในปี 2011น้ำจืดที่ใช้ในสิงคโปร์มาจากแหล่งน้ำภายในประเทศ 20 %มาจากเทคโนโลยีการนำน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคแล้วมาใช้ซ้ำโดยผ่านกระบวนการทำให้น้ำสะอาดจนสามารถนำมาบริโภคได้ หรือ NEWater(ซึ่งรวมถึงการนำน้ำจากห้องสุขามาบำบัดให้เป็นน้ำที่สามารถดื่มได้) 30 % มาจากการกำจัดเกลือออกจากน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำจืด 10 %และเป็นน้ำจืดที่นำเข้ามาจากมาเลเซียถึง 40 %
โดยภายในปี 2061 รัฐบาลสิงคโปร์ได้คาดการณ์ว่า น้ำจากกระบวนการบำบัด หรือ NEWaterจะเพิ่มเป็นสัดส่วนเป็น 50 %และนำ้จืดที่มาจากน้ำทะเลจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 30 %โดยไม่มีน้ำจืดที่นำเข้ามาจากมาเลเซียเลยแผนการทุกอย่างดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนว่าเรื่องทั้งหมดจะไม่ง่ายอย่างที่คิดเมื่อในวันที่ 8-9 เมษายน ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มหาเธร์ โมฮัมหมัด ได้พบปะหารือกับนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ลี เซียน ลุงและได้เสนอว่าต้องการขึ้นราคาค่าน้ำจืดจากมาเลเซีย 10 เท่าตามข้อตกลงในปี 1962 สิงคโปร์จะซื้อน้ำจืดจากมาเลเซียในราคาประมาณ 25 สตางค์ ต่อน้ำ 4,546 ลิตร (1 แกลลอน)
ซึ่งสิงคโปร์นำเข้าน้ำจืดจากมาเลเซียวันละ 1.14 พันล้านลิตรคิดเป็นเงินวันละ 62,692 บาท หรือปีละ 22.9 ล้านบาทการขึ้นค่าน้ำจืดเพียง 10 เท่า เป็นสิ่งที่ประเทศรำ่รวยอย่างสิงคโปร์สามารถรองรับได้อยู่แล้วแต่อย่างไรก็ตาม การเจรจาในครั้งนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน..เพราะระหว่างสองประเทศนี้ ยังมีข้อตกลงทางเศรษฐกิจระหว่างกันอีกหลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสองประเทศที่ยังค้างคาในขณะที่การพึ่งพาน้ำจืดของประเทศสิงคโปร์เองก็ส่อแววมีปัญหา
เมื่อบริษัท Hyflux ซึ่งดำเนินกิจการแยกเกลือจากน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำจืดกำลังประสบปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากมีหนี้เสียสะสมจึงส่งผลกระทบต่อสัดส่วนของน้ำที่ผลิตภายในประเทศอนาคตความยั่งยืนของประเทศเกาะอันมั่งคั่งแห่งนี้จึงแขวนอยู่บนเส้นด้ายอีกครั้งเมื่อมาเลเซีย อาจหยิบยกประเด็นเรื่อง “น้ำจืด” ขึ้นมาเจรจาเพื่อให้ข้อตกลงต่างๆบรรลุตามที่ต้องการได้เสมอ...
Refer : Market Think,Nikkei Asian Review