ตลาดหุ้นทั่วโลกทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษปรับตัวลดลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่นักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะเริ่มชะลอตัว ส่งผลให้ความกลัว Global Slowdown เพิ่มมากขึ้น
.
โดย FTSE 100 ของอังกฤษ ปิดลบกว่า 2% จากดัชนีวันก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นวันที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดวันหนึ่งของตลาดหุ้นลอนดอน ขณะที่ตลาดหุ้นหลักในสหรัฐทั้ง 3 ตลาด ปิดตัวลดลงอยู่ระหว่าง 1.9% ถึง 2.5%
สาเหตุการปรับตัวลงของของตลาดทั่วโลก
การปรับตัวลดลงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ตัวเลขดัชนีชี้การเติบโตภาคการผลิตของ Eurozone ที่ประกาศมาของเดือนมีนาคม อ่อนแอกว่าที่ตลาดคาดการณ์และต่ำสุดในรอบ 5 ปี บวกกับสัณญาณเตือนการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายก่อนกำหนด ซึ่งสร้างความกังวลให้กับนักลงทุน
.
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐได้กล่าวว่า “มันยังไม่มีความคาดหวังที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นในปีนี้ ท่ามกลางการชะลอตัวการเติบโตของเศรษฐกิจ”
.
โดยดัชนี Dow Jones ปรับตัวลดลง 1.8% S&P ลดลง 1.9% และ Nasdaq ลดลงกว่า 2.5% ซึ่งนับว่าเป็นการปรับตัวลดลงอย่างมากพร้อมกันทั้ง 3 ดัชนี ตลอดชวง 3 เดือนที่ผ่านมา
ความเห็นของนักวิเคราะห์
Diane Swonk นักเศรษฐศาสตร์ของ Grant Thronton ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ตัวเลขดัชนีภาคการผลิตของเยอรมันเมื่อเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวสะท้อนกำลังซื้อของ Europe ได้ผูกติดกับความไม่แน่นอนของ Brexit และการตัดสินใจที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของ FED ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนไม่น้อย Swonk ยังได้กล่าวเพิ่มอีกว่า “ขณะนี้ยังมีข้อมูลไม่มากนักที่จะบอกว่า ความเสี่ยงเริ่มเพิ่มมากขึ้นจนทำให้เกิดตลาดล้มครืนลงมา”
Inverted Yield Curve เป็นสัณญาณวิกฤตการทางการเงิน?
ขณะที่ ความเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของตลาด US bond ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างความกลัวให้กับนักลงทุน โดยที่พันธบัตรหรือ Bond ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่ปลอดภัย ที่ถูกออกโดยรัฐบาล เพื่อระดมทุนนำเงินมาใช้จ่ายและเกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ
.
เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ที่อัตราผลตอบแทน US Bond ระยะสั้น (ประเภท 3 เดือน) ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า US Bond ระยะยาว (ประเภท 10 ปี) ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนเห็นตรงกันว่า อาจจะเป็นสัณญาณเตือนว่าวิกฤตการณ์อาจจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้
.
“โดยทั่วไปแล้ว นักลงทุนคาดหวังที่จะรอนานมากขึ้นจนกว่าจะได้รับเงินที่ลงทุนไปกลับคืนมา เพื่อชดเชยที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงมากขึ้น ดังนั้น US Bond ระยะยาว (ประเภท 10 ปี) ควรจะมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า US Bond ระยะสั้น (ประเภท 3 เดือน)”
.
Michelle Fleury ผู้ดูแลด้านภาคธุรกิจของ BBC New York ได้กล่าวว่า “ปัญหาตอนนี้คือ นักลงทุนที่อดทนรอนานกว่ากลับได้รับผลตอบแทนที่น้อยกว่านักลงทุนที่ลงทุนในระยะสั้น ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่มีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของสหรัฐในระยะยาว (Long-term period)” ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจึงถูกเรียกว่า “Inverted Yield Curve”
.
จากการศึกษาของธนาคารกลางของสหรัฐยังพบอีกว่า ตลาดพันธบัตรยังเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการเตือนการเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน (Financial Recession) ในอดีตมาแล้วถึง “ห้าครั้ง” ตั้งแต่ปี 1955
.
แต่ Kristina Hooper หัวหน้านักกลยุทธ์ด้านตลาดโลกของ Invesco ได้ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า เธอยังไม่คิดว่าวิกฤตการทางการเงินของสหรัฐจะยังไม่เกิดขึ้นในเวลานี้ และเธอยังได้กล่าวอีกว่า “ยังมีปัจจัยด้านเศรษฐกิจทั่วโลกอีกหลายอย่างที่ควรจะกังวลมากกว่า ดังนั้น ฉันจึงไม่คิดว่าสิ่งนี้จะเป็นสาเหตุให้ต้อง Panic กันไปก่อน”
Refer : bbc.com/news/