ตอนนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความกังวลของตลาดหุ้นทั่วโลกกลับมากังวลเรื่อง Inverted yield (อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล US ) หลายคนสงสัยว่ามันคืออะไร ? เกี่ยวข้องกันยังไงมาติดตามกันครับ ?
.
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield)
.
Bond Yield คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลต่าง ๆ หากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมมีผลกระทบต่อการลงทุนและจะทำให้ราคาผันผวน โดยปกติที่นิยมนำข้อมูลมาใช้เพื่อการวิเคราะห์นั้นจะเป็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น (อายุ 2 ปี) และพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว (อายุ 5-10 ปี)
1. เส้นอัตราผลตอบแทนแบบชันขึ้น (Yield Curve)
เป็นการเปรียบเทียบระหว่างอัตราผลตอบเทนพันธบัตรรัฐบาล (แกน Y) และ อายุคงเหลือ (แกน X) ลองทำความเข้าใจและนึกภาพง่ายๆ โดยหากเราฝากเงินที่ธนาคารระยะเวลานานก็ต้องได้อัตราดอกเบี้ยที่มากกว่าคนที่ฝากระยะสั้นอยู่แล้ว เช่นเดียวกับการที่เรา ซื้อพันธบัตรรัฐบาลเราก็ต้องคาดหวังว่าอัตราผลตอบแทนระยะยาวต้องมากกว่าระยะสั้นอยู่แล้ว รูปแบบลักษณะจึงเป็นเส้นชันขึ้นจากซ้ายไปขวา โดยเป็นรูปแบบปกติที่ควรจะเป็น!!
2. เส้นอัตราผลตอบแทนแบบลาดลง (Inverted Yield Curve)
มีรูปแบบตรงกันข้ามกับ Yield Curve แบบสิ้นเชิง จะเป็นรูปแบบลักษณะเส้นลาดลงจากซ้ายไปขวา แสดงถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น (อายุ 2 ปี) สูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว (อายุ 5-10 ปี)
3. แบบหลังเขา (Humped yield curve) เส้นจะลาดชันขึ้นจากซ้ายไปขวาและวกต่ำลงเมื่ออายุคงเหลือของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น
4. แบบแบนราบ (Flatted yield curve) เป็นลักษณะของอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันทุกช่วงอายุของตราสารหนี้
ปัจจุบัน Inverted yield เป็นอย่างไรบ้าง ?
ที่มาภาพ : Investing.com อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล US 2 ปี
ที่มาภาพ : Investing.com อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล US 5 ปี
Inverted Yield Curve ที่เกิดขึ้นกับสหรัฐฯ ครั้งนี้ เป็นผลจากเฟดที่ เริ่มเปลี่ยนมุมมองในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยปีหน้าซึ่งอาจไม่ถึง 3 ครั้ง ดังนั้นจึงส่งผล ความต้องการล็อกต้นทุนอัตราดอกเบี้ยในระยะยาวลดลง และเกิดการเปลี่ยน Demand Shift มาที่การออกพันธบัตรระยะสั้นแทน จึงเกิดการปรับพอร์ตพันธบัตร และเกิด Inverted yield curve ดังนั้นจึงไม่ได้เป็นตัวสะท้อนความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยเหมือนที่เคยเกิดเมื่อปี 2533, 2544, 2550
Refer : investing.com