สวัสดีครับ หลายๆ คนคงได้ยินคำว่า Dollar Cost Averaging วันนี้ทางผู้เขียนจะมาอธิบายให้ฟังนะครับว่า Dollar Cost Averaging คืออะไร สามารถนำมาใช้ในการลงทุนได้จริงหรือไม่ มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรวันนี้ทางผู้เขียนจะมาอธิบายให้ฟังกันครับ
การลงทุนแบบ DCA (dollar-cost averaging) นั้นคือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน ซึ่งทางผู้เขียนขอเรียกสั้นๆ ว่า DCA เพื่อที่จะให้เข้าใจตรงกันนะครับ ซึ่งการลงทุนแบบ DCA นั้นก็คือการที่เรากำหนดการลงทุนเป็นงวดๆ อาจจะเป็นปี เดือน ไตรมาส ก็แล้วแต่ความชอบและความถนัดส่วนตัวของแต่ละบุคคล
การลงทุนแบบ DCA นั้นตอนที่เราจะลงทุนนั้นโดยเราจะไม่สนใจว่า ราคาหุ้นที่เราจะซื้อเป็นเท่าไหร่ จะขึ้นหรือลงก็ไมม่สนใจ ซึ่งการลงทุนแบบนี้จะเป็นการลงทุนในจำนวนเงินที่เท่ากันทุกๆ ครั้งที่เราจะลงทุน การลงทุนแบบนี้จะตัดเอาความรู้สึกออกไปเป็นการลงทุนแบบอัตโนมัติไปเรื่อยๆ เป้าหมายอยู่ที่จำนวนเงินลงทุนเป็นหลัก
การลงทุนแบบ DCA นั้นจะทำให้ตัดทอนความเครียดลงได้เยอะเลยนะครับ "DCA จะทำให้เราสามารถซื้อหุ้นในจำนวนที่มากขึ้นหากราคาหุ้นปรับตัวต่ำลง และจะซื้อได้น้อยลงในขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น"
ถ้าไม่เข้าใจลองดูตัวอย่างตามตารางด้านล่างนะครับ
จากตารางจะเห็นได้ว่าหากราคาหุ้นที่เราต้องการซื้อเฉลี่ยแกว่งตัวอยู่ในช่วง 10-20 บาท ถ้าเราซื้อเฉลี่ยเท่าๆ กันทุกเดือนๆ ละ 5,000 บาท พอถึงเป้าหมายที่เราวางไว้ซึ่งในที่นี้ก็คือ 1 ปีหรือ 12 เดือนเราจะได้หุ้นทั้งหมด 4,450 หุ้นด้วยจำนวนเงิน 60,000 บาท และราคาเฉลี่ยที่ 14 บาท ราคาจะถูกกว่าราคาปิดของเดือนที่ 12 ซึ่งปิดในราคา 20 บาท
ข้อดีของการลงทุนแบบ DCA (dollar-cost averaging)
- ถ้าภาวะตลาดในช่วงนั้นมีความผันผวนมาก ๆ หรือเป็นตลาดขาลง เราจะมีโอกาสขาดทุนน้อยกว่าวิธีที่เราซื้อทั้งหมดในครั้งเดียว แต่ในช่วงขาขึ้นวิธีนี้ก็จะให้ผลเป็น “ค่าเฉลี่ย” ที่ไม่มีความเสี่ยงสูง
- การเทรดแบบวิธีนี้สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีเพราะเราจะวางแผนตามเป้าที่เราวางไว้ (เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีความอ่อนไหวในเรื่องของสภาวะอารมณ์สูง)
- การลงทุนแบบ DCA (dollar-cost averaging) อาจจะดีกว่าวิธีการลงทุนแบบการเก็งกำไรซะด้วยซ้ำและที่สำคัญทำให้เรามีวินัยในการลงทุนด้วยครับ
เพื่อนๆ ลองนำวิธีนี้ไปใช้ดูนะครับหวังว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก