NAV ย่อมาจาก Net Asset Value แปลตรงตัวคือ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV ก็คือ มูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของกองทุนรวม รวมถึงผลประโยชน์ที่กองทุนรวมจะได้รับ หลังหักจากหนี้สินและค่าใช้จ่ายของกองทุนแล้ว)
NAV สามารถคำนวนได้จาก รายได้ค้างรับ + เงินสด – หนี้สิน = มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV)
NAV บอกอะไร?
1. สะท้อนผลการดำเนินงานของกองทุนที่ผ่านมา (ผลตอบแทนกองทุน มาจากการนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ เช่น เงินปันผล หุ้นเพิ่มทุน ดอกเบี้ยรับ และกำไรส่วนเกินทุน)
2. สะท้อนถึงศักยภาพของผู้จัดการกองทุนที่บริหารกองทุนนั้นๆ เพราะผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากการลงทุนก็คือ เงินปันผล (กรณีกองทุนมีจ่ายเงินปันผล) และการขายหน่วยลงทุนออกตอนที่มูลค่าหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้น
ค่า NAV ที่ดี ต้องเท่าไร?
นักลงทุนหน้าใหม่หลายคน นำ NAV แต่ละกองมาเทียบกัน ซึ่งทางผู้เขียนจะแนะนำทริคการเทียบ NAV ของกองทุน
1.ต้องเทียบ NAV กับกองทุนที่ลงทุนใน CLASS ASSET ชนิดเดียวกัน ของแต่ละ บลจ.
2.ถ้านักลงทุนนำ NAV ของกองทุนมาเทียบกันแต่กองทุนนั้นกองละ CLASS กันไม่สามารถที่จะบ่งบอกถึง NAV ที่จะนำมาเทียบได้
3.NAV จะบ่งบอกถึงศักยภาพในการบริหารเงินลงทุนของแต่ละกองทุนของผู้จัดการกองทุน
3.ปัจจุบันมีชนิดของกองทุนเยอะมากระยะเวลาของการลงทุนของกองทุนแต่ละกองก็แคบลงนักลงทุนไม่จำเป็นต้องถือจนหมดอายุของโครงการ
4.ปัจจุบันกองทุนรวมสามารถเปิดโอกาสให้นักเก็งกำไรเข้ามาเล่นเก็งกำไรได้ซึ่งข้อดีคือไม่ต้องบริหารเงินลงทุนเอง
สูตรของการคิด NAV
นอกจากนี้สิ่งที่ผู้ลงทุนควรทราบคือ NAV กองทุนที่ประกาศนั้น NAV จะไม่ใช่ของวันที่ล่าสุดที่นักลงทุนดูซึ่งขึ้นอยุ่กับกองทุนที่ลงทุนว่ากองทุนนั้นไปลงทุนใน ASSET ของประเทศไหนเช่นถ้าในประเทศไทย NAV T-1 (ย้อนหลัง 1 วัน จะเป็นราคาปิดของหลักทรัพย์เมื่อวาน) กองทุนที่ไปลงทุนต่างประเทศก็จะ T-2,T-3,T-4 ตามลำดับ ขึ้นอยู่กับ Time Zone ของแต่ละประเทศ
สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ หากต้องการเปรียบเทียบระหว่างกองทุนและตัดสินใจว่าจะลงทุนกองทุนอะไร ให้พิจารณาปัจจัย พื้นฐานกองทุน และเงื่อนไขของกองทุน,นโยบายการลงทุนที่น่าสนใจ,ผลตอบแทนในอดีต,ระดับความเสี่ยง และผู้จัดการกองทุนที่บริหารอยู่ในขณะนั้นประกอบกัน