นักลงทุนที่เทรดด้วยเทคนิคอล จำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะมือใหม่มักจะมีปัญหาในการเลือก Time Frame ที่จะเทรด จะเทรดด้วยกราฟรายสัปดาห์ รายวัน รายชั่วโมง หรือราย 15 นาทีดี? ซึ่งเป็นคำถามที่จัดว่าเป็น FAQ ที่ถูกถามบ่อยมากๆ
มารู้จักกับคำว่า Time Frame กันก่อนครับ Time Frame แปลตรงๆ ตัวคือ กรอบของเวลาที่มีแท่งเทียนจำนวนมาก มาประกอบกันเป็นกราฟ โดยการแสดงข้อมูลของแท่งเทียน 1 แท่ง ก็จะเป็นข้องมูล ราคาเปิด ราคาสุงสุด ราคาต่ำสุด และราคาปิด (OHLC) ของ กรอบเวลา หรือ Period นั้นๆ เช่น Time Frame Day แท่งเทียนแต่ละแท่งก็นำเสมอข้อมูล OHLC ของวันนั้นๆ แล้วต่อๆ กันไป จนเห็นภาพความเคลื่อนไหวของราคา จากราคารายวัน ส่วน Time Frame Week ก็เป็นลักษณะเดียวกัน แต่เนื่องจากแท่งเทียนแต่ละแท่งเป็นข้อมูลของ 1 สัปดาห์ ดังนั้นกราฟ ใน Time Frame ก็จะให้ภาพที่กว้างกว่า ใหญ่กว่า เมื่อเทียบกับ Time Frame Day
พอเริ่มรู้จักกับ Time Frame หรือ กรอบเวลากันแล้ว ผมมักจะถูกตามต่อว่า
เราต้องดูกราฟ Time Frame ไหนถึงจะเหมาะสมที่สุด มีแนวทางเลือก Time Frame ยังไง?
เป็นคำถามคลาสสิคมากครับ Time Frame ไหน เหมาะสม ตอบแบบกำปั้นทุบดินก็ตอบว่า Time Frame ที่มันเหมาะกับเราไงล่ะ ตอบปุ๊บไม่วายต้องมีคำถามต่อมาว่า แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า Time Frame ไหนเหมาะกับเรา ผมมักยกตัวอย่าง น้องเมยาบิ เธอเป็นมนุษย์เงินเดือนสาวสวยสุดเซ็กซี่ (ตามเธอว่าไว้) คนหนึ่งครับ ในยามที่ว่างจากงานหลักเมยาบิก็จะมาสิงอยู่ในห้อง Line กับพวกเราที่ส่วนใหญ่จะเป็นฟูลไทม์เทรดเดอร์ หรือเทรดใกล้ชิดติดจอนั่นเอง ซึ่งแน่นอน คนมีเวลาเฝ้าจอ กับคนไม่ได้เฝ้าจอ การเทรดมันต่างกันอยู่แล้ว คนเฝ้าจอบางทีเทรดโดยเข้าและออกหุ้นภายในเวลาเพียง 3-5 นาทีก็มี นั่นแปลว่าเขาต้องเลือก Time Frame ที่เร็ว ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาที่เขาดูแลมันได้ แล้วลองนึกภาพตามนะครับ ขณะที่เพื่อนๆ ฟูลไทม์ ขาซิ่ง ขานชื่อหุ้นที่ทำท่าจะวิ่งขึ้นมา เมยาบิคนสวยเธอกำลังว่างก็เปิดกราฟหุ้นตาม และเห็นพ้องต้องกันกับเพื่อนๆ ว่า มันสวยอ่ะ!! ซื้อสิคะ
แต่ทันใดที่ออร์เดอร์เธอแมทช์ เหมือนเป็นคำสาป เธอมักจะมีอันต้องถูกเรียกประชุม รับโทรศัพท์ หรือต้องผละจากหุ้น ไปทำงาน ผมเชื่อว่าคุณๆ ก็คงต้องเคยเจอ คำสาปประมาณนี้เช่นกัน แล้วลองนึกดูครับ ว่าเมื่อเธอประชุมเสร็จจะเกิดอะไรขึ้น หุหุ ไม่ผิดกับที่คุณนึกไว้ครับ
ขณะที่เพื่อนเขาขาย เก็บกำไรไปกันเรียบแล้ว คุณน้องเมยาบิยังคงมีของและยังไม่ได้ออก แล้วนึกต่อสิครับ ราคาเป็นยังไง แดงสิครับ ดังนั้นจะเห็นว่า ถ้าชิวิตของคุณไม่สามารถดูกราฟได้บ่อยๆ ไม่สามารถเฝ้าจอได้ ก็คงต้องเลือกเล่นหุ้นใน Time Frame ที่คุณสามารถจะดูแลได้ สำหรับน้องเมยาบิ สุดท้ายเธอสามารถค้นพบ Time Frame และวิธีที่เหมาะกับเธอได้ และเทรดอย่างมีความสุขจากนั้นสืบมา
เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว เรามาสรุปกันนิดนึงครับว่า เราควรแก้ไขมันยังไง ผมให้แนวคิด Two Times per Period ไว้ครับ หลักๆ คือ เทรด Time Frame ไหน ก็แล้วแต่ คุณต้องมีเวลามาดูแลมัน อย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อ Period เช่น ถ้าคุณสามารถดูกราฟ ได้วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น ก็ใช้ Time Frame Day ในการเทรด ถ้าดูได้ชั่วโมงละ 2 ครั้ง ก็ใช้ Time Frame 60 นาที แต่ถ้าอยากจะเป็นขาซิ่ง เล่น Time Frame เล็กกว่านั้น คงต้องนั่งเฝ้าหน้าจอแล้วละครับ ส่วนคนเล่นหุ้นระยะยาว ก็ดูกราฟ Time Frame Week ตอนต้นสัปดาห์ และปลายสัปดาห์พอครับ สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณควรจะต้องเลือก Time Frame ที่จะเทรด ให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของคุณครับ อย่าช้าไป เร็วไป มันไม่ดีกับเราครับ
อยากจะฝากไว้อีกหน่อยครับ หากเราเลือกเล่นใน Time Frame เล็กๆ ที่เราดูแลมันได้ เช่น Time Frame 60 นาที แล้วกราฟมันเป็นเทรนด์สวย จนทำให้ Time Frame Day สวยงามตามไปด้วย แบบนี้ สามารถที่จะย้ายไปรันเทรนด์ต่อใน Time Frame Day ได้ แต่ให้จำไว้ว่าการ ย้าย หรือ Shift Time Frame นั้น ย้ายขึ้นได้อย่างเดียวนะครับ ห้ามย้ายลงเด็ดขาด เพราะการ Shift ขึ้นนั้นคือ Trend มันงดงาม แต่ถ้าการ Shift ลงใน แบบนี้ระวังนะครับ จะหา Shift ไม่เจอเอาง่ายๆ