#มือใหม่เริ่มลงทุน

หุ้นตัวแรกที่มือใหม่ต้องซื้อ และ ก็กำไรแน่นอน

โดย พรหมพงษ์ แสงขำ
เผยแพร่:
170 views

ยังคงเป็นหัวข้อที่เหมาะกับมือใหม่ เพราะถ้าก้าวแรงเดินผิดเราไม่ต้องพูดถึงก้าวต่อๆไปเลยเพราะมันก็น่าจะผิดไปเรื่อยๆจริงหรือเปล่าครับ ดังนั้นวันนี้ผมจึงอยากจะเน้นหัวข้อหนึ่งที่ผมเองเชื่อว่า “ก้าวแรกของมือใหม่ทุกคนที่ทำตามจะต้องเป็นก้าวที่ถูกแน่นอน” 

ผมขอเริ่มแบบนี้ครับ “หุ้นตัวแรก” มักจะเป็นตัวบอกแนวทางและแนวคิดของการลงทุนหรือเก็งกำไรของคุณ เช่น ซื้อหุ้นเน่า (กิจการที่ไปไม่รอดแล้ว) และคุณหวังว่าวันหนึ่งมันจะกลับมาดีโดยที่คุณไม่มีความรู้ นั่นแปลว่า “คุณคือคอหวยดีดีนี่เอง” ดูแรงแต่ก็เป็นเรื่องจริงเพราะหวยคุณไม่มีทางรู้ว่าจะออกเลขอะไร แล้วคุณดันเลือกหุ้นจากแนวคิดเดียวกัน มันก็แปลได้อยู่แล้วว่า โอกาสถูกต่ำมากหรือเรียกอีกอย่างว่า “คุณเป็นคนมักง่าย” รวยง่ายๆไม่มีจริงนะครับ ต้องขยันถึงจะรวยนะครับ แต่ในอีกมุมมองหนึ่งถ้าคุณซื้อหุ้นแนวหวย คือ โชคดีดันถูกได้กำไรเป็น 10 เด้ง ตรงนี้ก็เดาได้ไม่ยากว่า “3 ล้อถูกหวยจะไปอย่างไรต่อ” ทั้งหมดที่เล่า คือ ตัวอย่างแนวคิดที่ไม่ดี

ในด้านแนวคิดที่ดีถ้าเราเลือกหุ้นที่ดี มีการเติบโตชัดเจนซึ่งเราเองก็เข้าใจธุรกิจและแนวคิดของผู้บริหารไปจนถึงทิศทางขององค์กร เราก็น่าจะสามารถเลือกหุ้นได้สมเหตุสมผลกว่าแบบแรกที่เป็นการคาดเดาตัวเลขจริงๆหรือเปล่าครับ ตรงนี้แหละที่วันนี้เราจะมาคุยกันว่า “หุ้นตัวแรกของมือใหม่….” เราจะเลือกซื้ออย่างไร

สมมุติฐานของคำว่า “มือใหม่” คือ ไม่เคยมีความรู้ทางด้านการลงทุนเลยนะครับ แต่ก็ควรจะออมเงินและซื้อประกันเป็นบ้าง ถ้าไม่รู้อะไรเลย แนะนำดู “YOUTUBE” ก่อนให้เข้าใจตัวเราเองคร่าวๆว่าฐานะทางการเงินเป็นอย่างไรบ้างครับ ถ้าเข้าใจเรื่องพวกนี้แล้วมาเริ่มกันเลยครับกับ “แนวคิดของหุ้นตัวแรกของมือใหม่ที่ต้องซื้อเดี๋ยวนี้”

คุณต้องมีเงินเย็น (เท่าไรก็ได้) เพราะอยากลงทุนไม่มีเงินก็เหมือนอยากซื้อคอนโดแต่กู้ไม่ผ่าน ดังนั้นโอกาสสำเร็จ คือ 0

ให้คุณถามตัวเองว่า “คุณมีความรู้เรื่องอะไรบ้าง” เขียนมาเป็นข้อๆโดยเรียงลำดับจากมากที่สุดหรือมั่นใจที่สุดไปจนถึงมีความรู้แต่อาจจะไม่ค่อยเชียวชาญ เช่น ผมมีความรู้ด้านการทำงานด้านโรงงานพลาสติกอันดับที่ 1 ธุรกิจบันเทิงและดนตรีอันดับที่ 2 และ ธุรกิจร้านกาแฟอันดับที่ 3 เป็นต้นนะครับ (สังเกตดูนะครับ สิ่งที่เราเขียนมันเรียกว่า กลุ่มอุตสาหกรรม นั่นเอง ดูได้ที่ www.settrade.comการดูหุ้นตามกลุ่มอุตสาหกรรม)

เลือกอันดับที่ 1 เท่านั้นเพราะนั่นแสดงว่าเรามีความรู้และความมั่นใจมากที่สุดในธุรกิจนั้นๆ เช่น รู้ว่าของผลิตอย่างไร เอาไปขายใคร กำไรหรือขาดทุนเป็นอย่างไร ตัวของเองมีคุณค่า(Branding) หรือเป็นแค่ของธรรมดากากๆ เช่น ผมเองอันดับที่ 1 คือด้านโรงงานพลาสติก ผมก็ต้องรู้ตั้งแต่ต้นน้ำว่าพลาสติกมาจากไหน ราคาเม็ดขึ้นลงจากอะไร การติดต่อลูกค้าและต้นทุนการผลิตต่างๆมาจากไหนเป็นหลัก จุดอ่อนของธุรกิจ คือ อะไร จุดแข็งของธรกิจ คืออะไร ลูกค้าหาง่ายหรือเปล่า เรื่องราคาสำคัญมากหรือเปล่า ช่วงไหนขายดีและช่วงไหนขายไม่ได้ เป็นต้น อันนี้แค่ตัวอย่างนะครับเพราะถ้าเรามีความเข้าใจ เราจะสามารถคิดคำถามได้ว่าเราอยากรู้อะไรหรือแม้แต่ว่าอะไรที่ดูหมกเม็ดก็ดูได้เช่นกันครับ

เลือกดูแค่บริษัทที่เป็นเบอร์ 1 ของอุตสาหกรรม คือ มีขนาดใหญ่สุดและมียอดขายและกำไรด้วยนะครับ เพราะใหญ่สุดแต่ขาดทุนก็ไม่เอานะครับ (ของไม่ดี…..ไม่ต้องเสียเวลาดูก็ได้ครับ)

ตรวจสอบเจ้าของว่ามี “คดีความเรื่องเกี่ยวกับการโกงหุ้นหรือใช้ข่าวเพื่อประโยชน์ของราคาหุ้น” หรือเปล่าถ้ามีก็เปลี่ยนหุ้นทันทีหรือรอให้เปลี่ยนเจ้าของก่อนค่อยมาดูก็ได้ครับ แต่ถ้ามีคดีเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ เช่น ลูกหนี้ไม่จ่ายหรือโดนบริษัทอื่นผิดสัญญาจ้าง อันนี้ไม่เกี่ยวนะครับ เพราะพวกนี้ คือ คดีความทั่วๆไปของการทำธุรกิจแบบปกติเท่านั้นครับ

ลองถามตัวเองว่า “ณ วันนี้ถ้าเรามีเงินไม่จำกัด เราจะซื้อกิจการนี้ที่ราคาเท่าไร” ใช้ข้อมูลทั้งหมดจากข้อ 1-5 นะครับ จะสังเกตได้ว่า “เราเลือกบริษัทที่เราเข้าใจธุรกิจ, มีกำไรและเติบโต, เป็นผู้นำของกลุ่มและมีคนดีบริหารอยู่”

ดังนั้นโอกาสจะเข้าไปเจอหุ้นเน่า, หุ้นตีหัวเข้าบ้านในกิจการที่เราชำนาญนั้น “บอกได้คำเดียวว่า …ยากมาก…”

ปล.นี่ยังไม่ใช่ Vi นะครับ แต่เราแค่ประยุกต์จากสิ่งที่เรามีเท่านั้นนะครับ ดังนั้นอยากประเมินตัวเองต่ำไปเด็ดขาด เพราะพวกเรามีศักยภาพมากกว่าที่เราคิด

************************

วิถีกราฟเปล่า By โค้ชเต้

การลงทุนต้องจบและทำได้จริง

หลักสูตร "เปลี่ยนเงินออมให้เป้นพอร์ตลงทุน" 

แบบ Private Class เปิดรับอีก 2 ที่นั่งเท่านั้น !! 

เรียน วันเสาร์ - อาทิตย์ ที่ 2-3 ก.พ. นี้

*เรียนจบ ได้แผนการลงทุน #ฉบับของตัวเอง นำไปใช้ได้ #ตลอดชีวิต 

พร้อมการแนะนำ และคำปรึกษาอย่างใกล้ชิดได้ตลอดเวลา

ดูรายละเอียดสมัคร หลักสูตรที่ >>  https://bit.ly/2GWjvIy


บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง