#แนวคิดด้านการลงทุน

กรณีศึกษาราคาหุ้นเป็นอย่างไร เมื่อบริษัทโดนกล่าวหาว่า "ปั่นหุ้น" ?

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
415 views

การปั่นหุ้นเป็นคำกว้างๆที่ใช้ในวงการตลาดหลักทรัพย์ว่า "พฤติกรรมการทำราคาหุ้น" ของผู้ที่เกี่ยวข้องหรือใช้ข้อมูลวงในเพื่อหาประโยชน์ในส่วนต่างราคาหุ้น (Insider Trading) การซื้อขายหุ้นกันเองภายในกลุ่มเพื่อบังคับราคาหุ้น (Stock Manipulation)
พฤติกรรมเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่เอาเปรียบนักลงทุนรายย่อย ดังนั้นในหลายประเทศจึงทำเป็นกฏหมายว่า "การปั่นหุ้น" เป็นพฤติกรรมการชี้นำราคาที่ผิดกฏหมาย

อย่างไรก็ตาม เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในตลาดหุ้นจะไร้ซึ่งการทำราคา 100% แม้แต่ในตลาดหุ้นที่เจริญแล้วอย่างตลาดหุ้นอเมริกาก็มีการชี้นำราคาที่ กลต. (SEC) ออกมาจับปรับ หรือถ้าเสียหายมากก็มีการจำคุกตามที่กฏหมายบังคับใช้ อย่างในตลาดหุ้นฮ่องกงก็มีการ "ปั่นหุ้น" กันเป็นขบวนการถึงขนาดมีการทำหนังภาพยนต์เป็นซีรีย์เรื่องยาวในชื่อ "เจ้าพ่อตลาดหุ้น"

ประเด็นสำคัญคือ หุ้นที่โดนปั่นเหล่านี้ หลังจากถูก กลต.กล่าวโทษเรียบร้อยแล้ว ผู้บริหารมีการแสดงความรับผิดชอบ จ่ายเงินค่าปรับ ลาออกจากบริษัทจดทะเบียน หรือติดคุก หุ้นเหล่านี้มีพฤติกรรมราคาอย่างไรในภายหลัง วันนี้เราจะลองยกกรณีศึกษามาส่องดูว่า หุ้นขึ้นหรือลงมากน้อยแค่ไหน ?

== BNK Financial ==
เดือนมกราคม ปี 2018 ผู้บริหารของ BNK Financial นายซุงเซวานซึ่งตอนนั้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานฝ่ายบริหาร ได้ถูก กลต. กล่าวโทษในข้อหาร่วมขบวนการชี้นำราคาโดยใช้ข้อมูลวงในเรื่องการซื้อกิจการ ทำให้ราคาหุ้นของ BNK Financial พุ่งขึ้นอย่างรุนแรง เขาถูกตัดสินจำคุก 1 ปี และโดนปรับเป็นเงิน 5 ล้านวอน


ราคาหุ้น BNK Financial 
ที่มาภาพ : Yahoo Finance

BNK Financial ทำธุรกิจให้บริการทางด้านการเงิน ราคาหุ้นก่อนจะมีข่าวเรื่องปั่นหุ้นเทรดกันระดับราคา 9,000 วอน ขึ้นไปแตะระดับที่ 10,000 วอน ก่อนจะลดลงมาเรื่อยๆปัจจุบันเทรดกันที่ระดับราคา 7,000 วอน เนื่องมาจากผลประกอบการที่หดตัวลง อีกทั้งมีประเด็นเรื่องการใช้ข้อมูลวงในซื้อขาย ทำให้กองทุนในประเทศหลีกเลี่ยงที่จะลงทุน ส่งผลให้ราคาหุ้นร่วงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน

== Heartland Payment Systems, Inc ==
Heartland Payment Systems, Inc ดำเนินธุรกิจให้บริการทางการเงิน รับจ่ายเงินข้ามประเทศ (คล้าย Paypal)เคยติด 1 ใน 1000 บริษัทยักษ์ใหญ่ของนิตยสาร Fortune และถูกจัดอันดับโดย The Nilson ว่าเป็นบริษัทที่ทำธุรกรรมทางการเงินข้ามประเทศมากเป็นลำดับที่ 6 ต่อมาในปี 2015 บริษัทถูกซื้อกิจการไปโดย Global Payments ซึ่งถือเป็นคู่แข่งของบริษัทอีกทีหนึ่ง

ในเดือนมิถุนายนปี 2018 บริษัทได้รับการกล่าวโทษจาก กลต. ว่าผู้ก่อตั้ง นายโรเบิร์ต คาร์ ซึ่งตอนนั้นดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายบริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Heartland Payment เมื่อปี 2011 ได้โอนเงินให้กับนางแคธเทอรีน แฮนแลตตี้ 1 ล้านเหรียญเพื่อให้นางแคธเทอรีน ซื้อหุ้น Heartland Payment เป็นเงิน 9 แสนเหรียญ ก่อนที่ทางบริษัทจะประกาศข่าวดีเรื่องโดนซื้อกิจการโดยบริษัท Global Payments นางแคธเทอรีนสามารถทำกำไรได้ 2.5 แสนเหรียญ ภายใน 4 เดือน ถือเป็นการใช้ข้อมูลวงในหาผลประโยชน์ส่วนตน นายโรเบิร์ตจึงถูก กลต. ลงโทษโดยส่งฟ้องศาลต่อไป ...

ราคาหุ้น Heartland Payment
ที่มาภาพ : reuters.com


ราคาหุ้น Global Payment
ที่มาภาพ : Yahoo Finance

 

Heartland Payment โดนซื้อกิจการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Global Payments ดังนั้นจากกราฟราคาหุ้นของบริษัท Global Payments จะเห็นได้ว่าเมื่อประกาศข่าวจาก กลต. ราคาหุ้นของบริษัท Global Payments ไม่ได้รับผลกระทบ

== Tesla ==
อย่างที่คนไทยทราบกรณีของ Tesla บริษัทล้ำยุคของ Elon Musk ที่มีการประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่าเขาเตรียมนำ Tesla ออกจากตลาดหลักทรัพย์ด้วยการซื้อหุ้นคืน ส่งผลให้หุ้นของ Tesla ราคาพุ่งทันที ซึ่ง กลต. กล่าวหาว่าพฤติกรรมนี้เข้าข่ายการปั่นหุ้น

สุดท้าย Elon Musk ยอมจ่ายค่าปรับเป็นเงิน 20 ล้านเหรียญและลาออกจากบอร์ดบริหารของ Tesla แต่ประธานฝ่ายบริหารจะยังคงเป็นต่อไป ... เหตุการณ์นี้เกิดในช่วงเดือนกันยายน ปี 2018 เรามาดูกันว่าราคาหุ้นเป็นอย่างไร

ราคาหุ้น Tesla ในช่วงที่เป็นข่าว
ที่มาภาพ : Yahoo Finance

 

== CPALL และ MAKRO ==
มาถึงหุ้นไทยกันบ้าง กับหุ้น 2 ยักษ์ใหญ่อย่าง CPALL และ MAKRO ก่อนที่จะมีการควบรวมกิจการกัน ตามที่เป็นข่าวในปี 2558

อย่างที่นักลงทุนไทยทราบกันดีว่าเหตุการณ์เป็นอย่างไร เรามาดูราคาหุ้นกันครับว่าสะท้อนออกมาในรูปแบบไหนเมื่อเวลาผ่านไป ...

เหตุการณ์เกิดขึ้นปลายปี 2558

 

จะเห็นได้ว่าราคาหุ้นทั้ง 2 บริษัทมีการปรับตัวลง ก่อนที่จะมีการทำจุดสูงสุดใหม่พร้อมกับผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามนี้ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหุ้นที่โดนกล่าวโทษ แต่บริษัทยังคงดำเนินธุรกิจต่อไป มีกำไร จ่ายปันผล แต่สำหรับบางบริษัทที่ผุ้บริหารมีเจตนาเข้ามา "โกง" ผู้ถือหุ้นจริงๆ ก็มีในตลาดที่เราได้เห็นอยู่บ่อยครั้ง มีการหยุดซื้อขายทำให้นักลงทุนรายย่อยเสียหายกันเป็นจำนวนมาก

ดังนั้นบทสรุปของการ "ปั่นหุ้น" หรือ "ธรรมมาภิบาล" อาจจะเป็นเรื่องของการวิเคราะห์ความเลวร้ายในสิ่งที่เกิดขึ้นว่ายอมรับได้หรือไม่ ถ้าผู้บริหารอยากจะ "หาเงิน" ระหว่างทางที่เดิน โดยที่บริษัทไม่ได้เสียหาย นักลงทุนก็อาจจะ"หยวนๆ"  
แต่ถ้าเลวร้ายถึงขึ้นบริษัทมีปัญหา มีการโกงกันเกิดขึ้นจนบริษัทต้องปิดตัว ความเลวร้ายนี้ยอมรับไม่ได้ นักลงทุนก็จำเป็นจะต้อง "สู้" นี้เป็นความเห็นของแต่ละบุคคลครับ ...

== สรุป ==
การปั่นหุ้นหรือใช้ข้อมุลวงในเพื่อหาผลประโยชน์ มีกันทุกตลาดไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นที่เจริญแล้วอย่างอเมริกา เกาหลีใต้ ฮ่องกงหรือตลาดหุ้นกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยก็มีเหตุการณ์เหลานี้อยู่เป็นประจำ

จากตัวอย่างที่ยกมา จะเห็นได้ว่าการปั่นหุ้น หุ้นจะขึ้นในช่วงแรก หลังจากที่มีข่าวเรื่องการกล่าวโทษ ราคาหุ้นจะลงแรงเนื่องมาจากความไม่ชัดเจน เรื่องธรรมาภิบาล การปรับพอร์ตของนักลงทุนสถาบันบางส่วนที่ "รับไม่ได้" กับการไม่มีความโปร่งใสหรือการปั่นหุ้นของผู้บริหาร แต่ถ้าบริษัททำผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง พื้นฐานยังดีอยู่ ปันผลยังมีให้ ราคาหุ้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนก็พร้อมใจจะให้อภัยกับเรื่องที่เกิดขึ้น

ขอบคุณแหล่งข้อมูล
https://www.spglobal.com/marketintelligence/en/news-insights/trending/zwgg0zqs_di4e4hbsjpdgq2

https://www.businessinsider.com/tesla-hit-with-new-lawsuit-alleging-elon-musk-manipulated-stock-price-2018-8

https://www.reuters.com/article/us-insidertrading-heartland/sec-charges-ex-heartland-payment-ceo-with-insider-trading-idUSKBN1K021W

https://www.marketbeat.com/stocks/NYSE/HPY/chart/

https://www.blognone.com/node/104415

https://www.blognone.com/node/104489

https://www.blognone.com/node/105561


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง