TPIPP ผลิตไฟฟ้าจากขยะให้เป็นเงิน กับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล และดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในรายการ Business Model สรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกันแบบง่ายๆ
ลักษณะธุรกิจ
บริษัทประกอบธุรกิจด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า โดยประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง และโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิง RDF ซึ่งโรงไฟฟ้าทั้งหมดตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี และประกอบธุรกิจสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ (NGV)
ส่วนที ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- TPIPP ทำโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน RDFหรือพลังงานเชื้อเพลิงขยะ โรงไฟฟ้าถ่านหิน 150 MW
- TPIPP ได้สัญญาขายไฟฟ้าให้กับ TPIPL ประมาณ 40MW โดยได้มาจากพลังงานความร้อนที่เกิดจากการผลิตปูน
- โรงไฟฟ้าขยะมีสัญญาเป็น Adder ทำให้กำไรเยอะ สัญญา 7 ปี จบ 2022
- โรงไฟฟ้าถ่านหินมีสัญญาขายให้กับ TPIPL
- ตัวที่กำไรสุด คือ RDF
- การประเมินมูลค่าสามารถใช้ Discount Cash Flow ของโรงไฟฟ้าแต่ละประเภทได้เลย
- ถือว่า TPIPP เป็นโรงไฟฟ้าทางเลือกที่น่าสนใจตัวหนึ่ง
- ในอนาคต TPIPP อาจจะมีการทำ RDF เพิ่ม ตัวนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าได้ในอนาคต
- พลังงานโซล่าร์ฟาร์มแบบสัญญา Adder 8 บาท จะได้กำไร 1MW ประมาณ 10-14 ล้านบาท แต่ในขณะที่ RDF จะมีกำไรประมาณ 30 ล้าน ถือว่าโดดเด่นมาก
- Net Profit ราวๆ 50% P/E ประมาณ 18 เท่า ปันผล 4.6% ตรงนี้ถือว่าราคาไม่แพง
- แต่ถ้ามองแบบ Discount Cash Flow ตรงนี้ถือว่าราคายุติธรรม
- อนาคตจะทำเพิ่มเป็น 44 0MW และมีคู่สัญญากับ TPIPL ชัดเจนแน่นอนตรงนี้ถือเป็นจุดเด่น
- มองภาพรวมตรงนี้ Fairly Value
- สิ่งที่นักลงทุนต้องการเห็น คือ บริษัทจะเติบโตต่อไปในอนาคตได้อย่างไร จะขยายอะไรอีกบ้าง แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นแผนในอนาคตเกินกว่าปี 2022
- ด้วย D/E ratio หนี้สินต่ำตรงนี้บริษัทถือว่าน่าสนใจ ยังขยายธุรกิจได้อีกไหม
ส่วนที ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- แต่เดิม TPIPP น่าจะเป็นแค่แผนกหนึ่งใน TPIPL แต่พอหลังจากทำเงินได้ ธุรกิจน่าสนใจ ภาครัฐส่งเสริม จึงได้จัดตั้งบริษัทแบบเป็นล้ำเป็นสัน และมีการขายเข้าตลาดหุ้น
- มีอยู่ช่วงหนึ่งพลังงานทางเลือกเกิดการบูมขึ้นมา TPIPP ก็ถือเป็นเจ้าแรกๆที่ทำไฟฟ้าขยะเลยได้สัญญา Adder ที่สูง ตรงนี้ก้ได้อานิสงค์ไป แต่หลังจากนี้ก็ต้องติดตามกันต่อไป
- โรงไฟฟ้าขยะ จริงๆเป็นธุรกิจธรรมดาที่ไม่ได้โดดเด่นเลยนะ ใครๆก็ทำได้ มีทุน มีพื้นที่ สั่งซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ ก็สามารถทำได้
- เท่าที่ได้ยินมา โรงไฟฟ้าขยะ ผลตอบแทนไม่ได้น่าจูงใจมากขนาดนั้น ตอนแรกๆอาจจะน่าสนใจ แต่ตอนนี้ก็คงไม่แล้ว น่าจะอิ่มแล้ว
- ตอนยังเด็กเคยได้ยินว่า "แกลบ" สามารถผลิตไฟได้ แถมแกลบไม่มีราคาด้วย พอคนทำกันเยอะๆ แกลบเลยมีราคา กลายมาเป็นคนทำไฟฟ้าจากแกลบนี้เจ๊งกันหมดเลย ขยะก็เป็นแบบเดียวกัน หมายความว่าขยะไม่มีราคา เทศบาลจะหาที่ทิ้ง ก็ทิ้งไม่ได้ แต่พอมีเอกชนทำโรงไฟฟ้าก็มาทิ้งที่นี้สิ แถมตังค์ด้วยนิดหน่อย พอหลังจากนี้ใครๆก็ผลิตไฟฟ้า กลายเป็นขยะมีค่า ต้องซื้อขายขยะกัน คนทำโรงไฟฟ้าอาจจะอยู่ไม่ได้ก็ได้
- เข้าใจว่าช่วงหลังๆ การไฟฟ้า ก็ไม่ได้รับไฟฟ้าจากเอกชนง่ายๆแล้วนะ กำลังการผลิตค่อนข้างเหลือ สำรองมากเกินไป พยายามปรับลดลง คนมาทีหลังหรือจะต่อสัญญาเพิ่มก็ไม่ได้ใช่เรื่องง่ายแล้ว
- กลุ่มโรงไฟฟ้า ปันผลระดับ 4% ถือว่าปกติ
- ราคาปัจจุบันถือว่าไม่ได้แพง แต่พอมาดู P/BV ประมาณ 2 เท่า "ก็ไม่ถูกนะ" มองภาพรวมๆจะเรียกว่าราคาสมเหตุสมผล
- ถามว่าโรงไฟฟ้าตัวนี้ ต่างกับตัวอื่นอย่างไร ต้องบอกว่าตัวอื่นๆเขาอาจจะใหญ่กว่า มีลูกเล่นมากกว่า หากินทั้งในและนอกประเทศ ในขณะที่ TPIPP เล็กกว่า มีแต่ในประเทศเท่านั้น
- คำถาม คือ ต่อไป RDF อาจจะไม่โดดเด่นแล้ว และบริษัทจะทำอะไรต่อไป
-------------------------------------------------
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการ Business Model TPIPP ผลิตไฟฟ้าจากขยะให้เป็นเงิน
stock2morrow เจาะโมเดลธุรกิจหุ้น TIPPP จากกูรูปรมาจารย์หุ้นแนววีไอ กับนักวิเคราะห์ชื่อดังมาให้นักลงทุนได้อ่านกัน