Return on Equity (ROE) หรืออัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ทำไมถึงเป็นอัตราส่วนที่ผู้ลงทุนและนักวิเคราะห์ใช้อธิบายถึงปัจจัยพื้นฐานหุ้นมากที่สุด อีกทั้ง ROE มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน
เรามาทำความเข้าใจสั้นๆกัน
จริงๆ ROE เป็นอัตราส่่วนพื้นฐานที่นักลงทุนควรทำความเข้าใจมากพอๆกับอัตราส่วน PE และ PBV สำหรับมือใหม่บางคนอาจจะไม่เข้าใจความหมาย จำแต่เพียงว่า "ยิ่งสูง ยิ่งดี"
สำหรับสูตร ROE = (กำไรสุทธิของบริษัท/ส่วนของผู้ถือหุ้น) x 100
- ทำให้(ตัวตั้ง)กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมาก ๆ แล้วเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของ(ตัวหาร)ส่วนของผู้ถือหุ้น ถ้าเพิ่มขึ้นจากกำไรสะสม ซึ่งมาจากกำไรของบริษัทหลังหักเงินปันผลแล้ว ถือได้ว่าเป็นฝีมือจากการดำเนินงานแต่หากกำไรสะสมมาจากทุนจดทะเบียนหรือส่วนเกินมูลค่าหุ้นก็ทำได้ แต่ควรจะเอาเงินส่วนนี้ไปทำให้เกิดประโยชน์ สร้างกำไรให้เติบโตเร็วกว่าแล้วกัน
ถ้านักลงทุนต้องการแบบเจาะลึกลงรายละเอียดไปอีกหน่อย ควรจะมี ROE สูง ทั้ง 3 ปัจจัย ดังนี้
- Net profit Margin (อัตรากำไรสุทธิ) แสดงถึงประสิทธิภาพการบริหารการขาย ควบคุมใช้จ่ายเพื่อสร้างกำไรทำได้มากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับยอดขาย 100 บาท
- Asset Turnover (อัตราการหมุนของสินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้) สะท้อนถึง สินทรัพย์ 100 บาท สร้างยอดขายได้กี่บาท
- Equity Multiplier (ตัวทวีคูณของส่วนผู้ถือหุ้น) ซึ่งคือความคุ้มค่าว่าในเงินที่ลงทุนในสินทรัพย์ทั้งหมดมาจากส่วนของผู้ถือหุ้นกี่บาท
- จากสมการ ROE หากอยากได้ค่า ROE สูงๆ ก็ต้องการให้ตัวหารมีค่าน้อย ๆ หรือ ต้องจุดควรพึงระวังไว้ บริษัทที่ลงทุนในสินทรัพย์โดยอาศัยแหล่งเงินทุนจากหนี้สิน (การกู้ยืม) มาก ๆ และใช้เงินจากผู้ถือหุ้นน้อย แสดงถึง ไม่รบกวนผู้ถือหุ้น แต่ต้องดูให้ดี ๆ เพราะยิ่งกู้มาก แม้จะดีต่อ ROE แต่ภาระหนี้สินและดอกเบี้ยจะสูงตามมาด้วย
- อย่างไรก็ตาม หากนำเงินจากการกู้ยืมมาไปสร้างรายได้และทำกำไรเติบโตได้ดีกว่าดอกเบี้ย ดังนั้นจะถือว่าบริษัทเก่งในใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรามาดูกันว่าหุ้นใหญ่ๆในตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทน ROE กันเท่าไรบ้าง
stock2morrow นำตัวเลข ROE ที่มีความสำคัญสำหรับการลงทุนมาให้มือใหม่ได้อ่านกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรรู้สำหรับการลงทุน แม้แต่ปู่บัฟเฟตต์ยังให้ความสำคัญ