เจาะโมเดลธุรกิจ JKN ผู้นำสร้างมูลค่าเพิ่มคอนเท้นต์ สรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกันง่ายๆ กัน
ลักษณะธุรกิจ
บริษัทและบริษัทย่อยดำเนินธุรกิจดังนีิ้
1. ธุรกิจให้บริการและจำหน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์
2. ธุรกิจให้บริการเวลาเพื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าทางสถานีโทรทัศน์ 3. ธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ส่วนที ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- JKN เป็นธุรกิจแบบ B2B มากถึง 90% คือขายคอนเทนต์ รายได้จากลิขสิทธิ์
- การวิเคราะห์ JKN ต้องวิเคราะห์ในเรื่องของ "คอนเทนต์" ส่วนใหญ่จะเป็นประเภท ซีรีย์เอเชีย หนังอินเดีย รายได้จากตรงนี้คิดเป็น 70% ส่วนที่เหลือประมาณ 25% เป็นการนำเข้าคอนเทนต์จากต่างประเทศมาแปลเป็นไทย เช่นหนังจาก Hollywood รายการจากฝั่งอเมริกา
- JKN ยังเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายคอนเทนต์ให้กับช่อง 3 ด้วย
- บริษัทเติบโตตามอุตสาหกรรมโฆษณา และผลประกอบการของบริษัททีวีดิจิตอล
- JKN เป็นบริษัทที่บริหารสินทรัพย์ "ไม่มีตัวตน" เป็นปัจจัยหลักของบริษัท นั้นคือเป็นเรื่องของลิขสิทธิ์
- การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เป็นเรื่องซับซ้อน และเป็นต้นทุนขนาดใหญ่ของบริษัท ดังนั้น JKN ต้องคาดการณ์ให้ได้ว่าภาพยนต์เรื่องไหนจะดัง หรือไม่ดัง อันไหนเป็นกระแส ความสามารถในการจับกระแสเป็นเรื่องท้าทายของบริษัท
- Amortization ปี 2559 ประมาณ 288 ล้านบาท ปี 2560 ประมาณ 600 ล้านบาท ถ้าไม่มีการลงทุนเพิ่มก็จะตัดจำหน่ายประมาณ 600 กว่าล้าน
- แต่ดูจากภาพรวม การนำเข้าหนังจากต่างประเทศมาขายกำไรขั้นต้นดีมาก ประมาณ 60%
- หนังอินเดียเป็นจุดขายของบริษัท
- ในที่สุดแล้ว JKN อาจจะต้องเปลี่ยนโมเดลมาเป็น Time Sharing
- แต่ไม่ใช่ไม่ดี JKN อาจจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการโฆษณา แต่ความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้นด้วย
- JKN มีวงจรเงินสด 398 วัน หมายถึง ซื้อคอนเทนต์ มาแปล และขาย จนเปลี่ยนมาเป็นเงินสด ใช้เวลาเป็นปี ตรงนี้ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น
- สรุปแล้ว JKN ต้องจับ "กระแส" จริงๆ ถ้าจับได้ถูกกำไรดี ถ้าจับผิดก็อาจจะลำบาก
- บริษัทเป็น First Entry คือผู้ให้บริการรายแรกๆในประเทศไทย ตรงนี้เป็นข้อได้เปรียบ
- นักลงทุนมอง JKN เป็นหุ้น Growth หุ้นเติบโต แต่ราคาก็ขึ้นมารับข่าวไปแล้ว หลังจากนี้ถือเป็นความท้าทายระยะยาวแล้วว่า บริษัทจะทำอย่างไรต่อไป
- P/E 24 เท่า P/BV 3 เท่า ถือว่าสะท้อนมูลค่าไปแล้ว แต่พอเปลี่ยนโมเดลเป็น Time Sharing รายได้จะเพิ่มขึ้นอาจจะเป็นการโตรอบใหม่ แต่ก็มีความเสี่ยงเพิ่มมาด้วย
ส่วนที ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- มองว่าผู้บริหารมีความโดดเด่นมาก เก่งมาก มีความแม่นยำ จับจุดได้แม่น สามารถคาดได้ว่าคนไทยชอบอะไร
- แต่ถ้ามองยาวแล้ว บริษัทมีลักษณะเป็น "คนกลาง" จากประสบการณ์ธุรกิจคนกลางนี้อยู่ได้ไม่นาน
- บริษัททีวีดิจิตอล อาจจะปรับตัวไม่ทันว่าคนไทยชอบอะไร เลยต้องมาหาที่ปรึกษา มาหาคนกลาง ในอนาคตบริษัททีวีดิจิตอลปรับตัวได้แล้วอาจจะคิดว่า ผมลงทุนแล้วทำไมต้องผ่านคนกลางละ ? ตรงนี้คนกลางจะเป็นปัญหาแล้ว ...
- อุตสาหกรรมทีวีดิจิตอล นี้ก็ไม่มีใครควบคุมได้เบ็ดเสร็จ มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด และแนวโน้มก็ลดลงเรื่อยๆ
- การซื้อคอนเทนต์ก็มีความเสี่ยงนะ ถ้าซื้อได้ถูกตัว กำไรดีมากๆ แต่ถ้าซื้อผิดนี้ก็จบเลย ขาดทุน
- ต่อไปบริษัทต้องเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ คือ นำมาฉายเอง อาจจะผ่าน youtube หรือเปล่าไม่แน่ใจ หรือแบ่งเป็นส่วนแบ่งรายได้ จะไม่ใช่ลักษณะ "ขาย" หรือเป็น "ตัวกลาง" ได้อีกต่อไปแล้ว
- พูดง่ายๆคือ ซื้อมาเพื่อฉายเอง คือซื้อเวลาจากช่องทีวีเพื่อมาฉายหนังของเขาเอง ไม่ใช่การขายแล้ว ตรงนี้พื้นฐานจะเปลี่ยนไปแล้วนะ
- เดียวนี้เท่าที่เห็นหลายๆช่อง เขาหันมาสร้างหนัง สร้างคอนเทนต์เป็นของตัวเองแล้วนะ
- จะว่าไปเรื่องของการจับคอนเทนต์ถูกตัวหรือไม่ มันเป็นเรื่องการพัฒนาได้นะ ไม่ใช่ความสามารถส่วนบุคคลที่ลอกเลียนแบบไม่ได้
- จำได้ตั้งแต่ผมวัยรุ่น เมื่อก่อนหนังญี่ปุ่นดังมาก ต่อมาเป็นหนังจีน หนังฮ่องกง กระบี่ไร้เทียมทาน ต่อมาเป็นหนังเกาหลี ตอนนี้้เป็นหนังอินเดีย คือมันเปลี่ยนเร็วมาก มันเป็นกระแสที่ไม่ได้ยั่งยืนมากนัก คนมีการเปลี่ยนแปลงสื่อที่จะเสพได้ตลอดเวลา
- ระยะยาวบอกเลยว่า "ลำบาก"
- ปัญหาอีกข้อหนึ่ง คือ ตัวผู้บริหาร ยอมรับเลยว่าผู้บริหารคนนี้เขาเก่งจริงๆ แต่บริษัทมหาชนจะเป็น One Man Show หรือเก่งคนเดียวไม่ได้ มันต้องมีคนเก่งๆกันต่อไป ผู้บริหารคนนี้สักวันเขาก็ต้องวางมือ แล้วคนต่อไปจะเป็นอย่างไร จะตาแหลมเหมือนกับคนเดิมไหม ตรงนี้ต้องกลับไปดู
- JKN น่าจะเป็นหุ้น "วัฐจักร" มากกว่า คือตอนรุ่ง นี้ดีมาก กำไรดี แต่พอลดลง ก็ลงแบบน่าใจหาย
--------------------------------------------------
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการ Business Model JKN ผู้นำสร้างมูลค่าเพิ่มคอนเท้นต์