คำสอนหนึ่งในแวดวงการลงทุน คือ กระจายความเสี่ยง แล้วจะดีเอง แต่รู้หรือไม่ว่านักลงทุนที่ประสบความสำเร็จจริงๆแล้ว พวกเขาไม่กระจายความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น วอเร็น บัฟเฟตต์ นักลงทุนที่มีชื่อเสียงที่พลิกฟื้นบริษัทสิ่งทอเล็กๆใกล้ล้มละลายอย่างเบิร์กไซด์ ฮาธาเวย์ มาถือหุ้นชั้นเยี่ยมแปลงสภาพเป็นบริษัทโฮลดิ้งที่รวมธุรกิจชั้นยอดอยู่ในนั้น
** ดังนั้นแล้ว ถ้าคุณอยากรวย จงหยุดที่จะกระจายความเสี่ยง แต่ควรลงทุนแบบมุ่งเน้นเท่านั้น
สินทรัพย์ที่คุณเรียนรู้มาอาจจะเป็นเรื่องของหุ้น พันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวม หรือแม้กระทั่งอสังหาริมทรัพย์ และสิ่งที่คุณมักจะได้ยินบ่อยจากที่ปรึกษาทางการเงิน โบรคเกอร์ คือ กระจายความเสี่ยงสิ! มันฟังดูดีมาก แต่นักลงทุนที่ดีควรจะทำแบบนั้นจริงๆหรือ
ทำไมการกระจายความเสี่ยง ถึงเป็นคำแนะนำที่ผิด ?
การกระจายความเสี่ยง จริงๆแล้วมันไม่ได้เป็นการกระจายความเสี่ยงจริงๆ ถ้าคุณฟังแล้วคุณอาจจะต้องแบ่งเงินบางส่วนซื้อหุ้น ซื้อพันธบัตร หรือพวกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ REIT ตามสัดส่วนที่ที่ปรึกษาทางการเงินได้แนะนำเอาไว้ แต่ละคนก็ไม่ได้แตกต่างไปจากนี้บ้าง แต่ถ้าเราเข้าใจจริงๆแล้ว การกระจายความเสี่ยงก็ไม่ต่างอะไรจาก Zero Sum Game มากนัก ทุกสินทรัพย์มีลักษณะเป็นวัฐจักรและการตอบสนองที่ตรงข้ามกัน เช่น หุ้นกับทองคำมักจะเคลื่อนที่ตรงข้ามกัน พันธบัตรกับอสังหา ก็มักจะวิ่งตรงข้ามกัน ถ้าคุณกระจายความเสี่ยงแล้วเท่ากับว่า คุณเสียหายให้กับ Asset หนึ่ง เพื่อที่จะได้อีก Asset หนึ่ง ก็ไม่ต่างอะไรจากเงินกระเป๋าซ้ายที่หายไป มันเข้าไปอยู่ในกระเป๋าขวาแทน ซึ่งทั้งสองกระเป๋า ก็เป็นเงินของคุณเองนั้นละ
วอเร็น บัฟเฟตต์ เคยพูดถึงเรื่องของการกระจายความเสี่ยงไว้ว่า Wide diversification is only required when investors do not understand what they are doing (การกระจายความเสี่ยง มีไว้สำหรับนักลงทุนที่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่)
นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ จะไม่กระจายความเสี่ยง พวกเขาจะลงทุนแบบมุ้งเน้นและสิ่งที่ตัวพวกเขารู้เท่านั้น เหมือนอย่างวอเร็น บัฟเฟตต์ ที่ชำนาญทางด้านการเลือกธุรกิจ เลือกหุ้น หรือแม้กระทั่งผมเองที่ไม่ได้ชำนาญเรื่องหุ้น แต่กลับชอบทางด้านอสังหาริมทรัพย์แทน ถึงแม้ลงทุนในสินทรัพย์ต่างกัน ก็สามารถประสบความสำเร็จเหมือนกันได้
แล้วแบบไหนละที่ การกระจายความเสี่ยง ดูสมเหตุสมผล
แล้วทำไมที่ปรึกษาทางการเงินจึงยังคงแนะนำให้เรากระจายความเสี่ยงอยู่ละ ผมเชื่อว่าน่าจะมีเหตุผลด้วยกัน 2 ข้อคือ
ข้อแรก Active vs. passive investing การลงทุนเชิงรุก และการลงทุนเชิงรับ นักลงทุนมีอยู่ 2 ประเภท นั้นคือ พวกชอบค้นคว้า ค้นหาสินทรัพย์ที่ต่ำกว่ามูลค่าแล้วซื้อมัน กับพวกที่เกาะตามกระแสไป(เชิงรับ) เช่นการซื้อกองทุนดัชนี พวกเขาไม่ต้องการผลตอบแทนมากๆ ขอแค่เกาะกับดัชนีไปก็เพียงพอแล้ว และกองทุนรวมส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นกองทุนเชิงรับเป็นส่วนใหญ่
อีกนัยหนึ่ง การลงทุนเชิงรุกเป็นเรื่องยาก คุณจำเป็นต้องทำการบ้าน วิเคราะห์ คุณต้องชำนาญ และรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ ในขณะที่นักลงทุนเชิงรับไม่จำเป็นต้องมีความรู้มาก ก็สามารถลงทุนได้ และคนส่วนใหญ่ก็มักเป็นแบบนั้น คือ วิเคราะห์ไม่ได้ และไม่รู้ว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่า
ข้อสอง Risk ความเสี่ยง ต้องพูดด้วยความจริงว่า นักลงทุนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าตัวเองรับความเสี่ยงได้มากกว่าปกติ แต่จริงๆแล้วพวกเขาอาจจะรับไม่ได้เลยก็เป็นได้ และการบริหารความเสี่ยงสำหรับผู้ไม่ชำนาญ คือ การกระจายความเสี่ยงออกไปยังสินทรัพย์อื่น จากสินทรัพย์เสี่ยงไปยังสินทรัพย์ที่เสี่ยงน้อยกว่า เช่น ลงทุนหุ้นถือว่าเสี่ยงมาก แต่ลงทุนในเงินฝากธนาคาร พันธบัตรรัฐบาลมีความเสี่ยงน้อยกว่า
ประเด็นสำคัญ คือ คุณอยากจะเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ หรืออยากเป็นนักลงทุนธรรมดาคนหนึ่ง ถ้าคุณอยากเป็นนักลงทุนธรรมดา ก็จงกระจายความเสี่ยง อย่างที่สุภาษิตกล่าวไว้ว่า จงใส่ไขในตะกร้าหลายๆใบ เพื่อว่าใบหนึ่งตก เราก็ยังมีไข่อีกหลายตะกร้าไว้ให้เก็บกิน อย่างไรก็ตาม หลังจากเหตุการณ์ฟองสบู่เทคโนโลยีแตกในปี 2000 คนที่กระจายความเสี่ยงก็ยังได้รับผลกระทบ มันเป็นเรื่องที่น่าคิดว่า เรากำลังสิ่งที่ถูกต้องหรือเปล่าสำหรับการกระจายความเสี่ยง
"มุ่งเน้น" "มุ่งมั่น" คือหนทางสู่ความสำเร็จ
ในเมืองฮาวายที่ผมอยู่ มีชมรมหนึ่งชื่อว่า Winner Camp ชมรมนี้สอนให้วัยรุ่นยุคใหม่ให้รู้จักเป้าหมายในชีวิตว่าพวกเขาต้องการอะไรกันแน่ บางคนอาจจะต้องการทำสิ่งที่ชอบไม่ได้เน้นที่ตัวเงินอย่างเดียว พวกเขาชอบศิลปะ ชอบประดิษฐ์ ก็ควรได้มุ่งมั่นกับสิ่งนั้น ผมว่าชมรมนี้เป็นชมรมที่ดีมากๆเพราะพวกเขาจะได้ค้นพบว่าตัวเองอยากจะเป็นอะไรกันแน่ตั้งแต่อายุยังน้อย และการเริ่มทำอะไรตั้งแต่อายุยังน้อย โอกาสที่พวกเขาจะประสบความสำเร็จก็มีมากกว่าคนที่รู้มากแต่เริ่มช้า
ผู้แปลและเรียบเรียง SiTh LoRd PaCk
ขอบคุณบทความดีๆจาก http://www.richdad.com