BGRIM ผู้นำผลิตไฟฟ้าไอน้ำรายเล็ก กับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล และดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในรายการ Business Model สรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกัน
ลักษณะธุรกิจ
ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจหลักด้านการผลิตและขายไฟฟ้า ไอน้ำ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ส่วนที ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ 42 GW ซึ่ง EGAT เป็นคนผลิต 35% เป็นเอกชน IPP รายใหญ่อีก 35% รายเล็ก SPP อีก 18% ที่เหลือซื้อจากต่างประเทศเช่น ลาว
- ซึ่ง BGRIM อยู่ใน SPP แต่เป็น SPP รายใหญ่ที่สุด
- BGRIM จะมีรายได้ 2 แบ่ง คือ ขายส่งกับขายปลีก ถ้าขายส่งคือขายให้กับการไฟฟ้า แต่ขายปลีกนี้จะขายให้กับนิคมอุตสาหกรรม
- ดังนั้นการวิเคราะห์ BGRIM จะต้องวิเคราะห์ในเรื่องความต้องการไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรมด้วย
- ขายให้ 5 นิคมอุตสาหกรรม ได้แก่ อมตะนคร อมตะซิตี้ บางกะดี้ เหมราช แหลมฉบัง
- โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม Co-Gen มี 17 โรง มีกำลังการผลิต 1498 Mw.
- โรงไฟฟ้าน้ำมันดีเซล 4MW มีโซล่าร์ 90 MW พลังงานน้ำ 94.5 MW พลังงานลม 14.8 MW
- เรียกได้ว่ามีแทบจะทุกกลุ่มโรงไฟฟ้า ยังขาด"พลังงานชีวมวล"
- การวิเคราะห์ BGRIM ต้องศึกษาว่าแต่ละโรงมี IRR เท่าไร เพราะเขามีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีสัญญาการซื้อขายไม่เท่ากัน
- ในอดีตของ EGCO มี IRR อยู่ที่ 20% กว่า ต่อมาเป็น RATCH มี IRR ประมาณ 19% ในขณะที่ BGRIM เป็นรายหลังจะมี IRR ประมาณ 14% -17%
- สิ่งท้าทายของ BGRIM คือ ตอนนี้การไฟฟ้ามีไฟสำรองประมาณ 33% ถึงเป้าหมายจะลดลงเหลือ 15% ในปี 2575 นั้นคือการรับซื้อไฟฟ้าจะลดลง แล้วทางบริษัทจะทำอย่างไรต่อไป ไปลงทุนต่างประเทศ ? ซึ่งทาง BGRIM นั้นเข้ามาทีหลัง ผลตอบแทนอาจจะลดลง
- P/BV 3.19 เท่า ROE 17% และ P/E 28 เท่า นั้นหมายถึงนักลงทุนคาดหวังการเติบโตของ BGRIM และเมื่อดูจากราคาหุ้นก็ถือว่า Fair Value เมื่อเทียบกับ ROE
- นักลงทุนคาดหวังการเติบโตจากต่างประเทศรวมลงไปในราคาหุ้นแล้ว
ส่วนที ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- การผลิตไฟฟ้าผมมองว่ามันเป็นเมกะเทรนระดับโลก แต่คงไม่ใช่ในประเทศไทย เพราะตอนนี้ประเทศไทยถือว่าอิ่มตัวแล้ว กำลังการผลิตก็เกินความต้องการใช้ไปพอสมควร และคาดว่าน่าจะเติบโตได้ไม่เยอะ
- ข้อจำกัดของโรงไฟฟ้า คือ "การสร้าง" สร้างตรงนั้นตรงนี้ไม่ได้ ต้องสร้างที่ห่างไกลชุมชน บางทีก็เป็นคดีความกับท้องถิ่นอะไรแบบนั้น
- เท่าที่ผมจำไม่ผิด รู้สึกว่าเดียวนี้นิคมอุตสาหกรรม เขาหันมาทำโรงไฟฟ้าเองด้วย
- หุ้นโรงไฟฟ้านี้เคยเป็น "ดารา" มาก่อนนะ เติบโตเร็วมาก แต่ตอนนี้โตช้าแล้ว เป็นช่วงปลายของพลังงาน
- โดยเฉพาะของ BGRIM นี้ผมมองว่า Valuation นี้พอๆกับพวก IPP รายใหญ่อย่าง EGCO เลยนะ ซึ่งมันไม่ควรเป็นแบบนั้น เพราะ EGCO เขาทำมาก่อน รายใหญ่กว่าแต่ "มูลค่า"ใกล้เคียงกัน อาจจะเพราะว่าเวลานักลงทุนเปรียบเทียบ เขาเปรียบเทียบทั้งกลุ่ม
- แต่ถามว่าแพงมากไหม ก็ไม่ใช่แบบนั้น แต่ด้วย P/E 30 เท่าเรียกว่า "ค่อนข้างสูง" ดีกว่า นักลงทุนมองว่าเป็นหุ้นโตเร็ว แต่จริงๆแล้วผมว่าอุตสาหกรรมเริ่มอิ่มตัวและโตช้า ไม่ควรให้ PE ขนาดนั้น
- ดังนั้นกลุ่มโรงไฟฟ้าจึงหาช่องทางการเติบโตใหม่ๆคือ "ต่างประเทศ" แต่ติดตรงที่ว่า ใครๆเขาก็ไปกัน ทุกคนไปหมด พอทุกคนเห็นเหมือนกันหมด ไปเหมือนกันหมด ผลตอบแทนก็ไม่ดีแล้ว
- ดูจากภาพรวม BGRIM เขาก็ดูดีนะ บริษัทไม่มีปัญหา ผู้บริหารใช้ได้ โดยรวมถือว่าดีเลย
- ผมว่า IPP มูลค่าถูกกว่า SPP ไปแล้ว
- สิ่งที่ต้องจับตาดูสำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้า คือ ไปต่างประเทศแล้ว ผลการดำเนินงานจะเป็นอย่างไร ? ตรงนี้ยังเป็นคำถามอยู่
- แต่เดิมหุ้นโรงไฟฟ้าเป็นหุ้นมั่นคงนะ มีรายได้แน่นอน ลงทุนเพิ่ม รายได้เพิ่ม สามารถซื้อถือกินปันผลได้ ด้วยเหตุนี้ราคาหุ้นจึงไม่หวือหวามากนัก ปันผลพอใช้ PE ต่ำ แต่ช่วงหลังนี้นักลงทุนก็คาดหวังมากเกินไป PE เลยสูง
- นาทีนี้ ผมว่าอุตสาหกรรมมันอิ่มตัวไปแล้ว
- ข้อจำกัดของ BGRIM คือ เขาไม่ใช่ผู้ชำนาญพลังงานทางเลือก ประสบการณ์ต่างประเทศยังน้อย ไปทีหลัง จะหวังเติบโตเร็วๆคงไม่ได้ ประเด็นสุดท้ายคือบริษัทมีหนี้ค่อนข้างสูง ถ้าผมจำไม่ผิด D/E เกิน 3 เท่า การกู้หนี้ผมว่ายากแล้ว หรืออาจจะมีความเสี่ยงเรื่อง"เพิ่มทุน"
- ผมว่า P/E สูงเกินไป ราคานี้ไม่ถูกแล้ว
-------------------------------------------------
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการ Business Model BGRIM ผู้นำผลิตไฟฟ้าไอน้ำรายเล็ก