SGP ผู้ค้าก๊าซ LPG ติดอันดับเอเชียตะวันออก กับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล และดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในรายการ Business Model สรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกัน
ลักษณะธุรกิจ
แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. ธุรกิจค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภายใต้เครื่องหมายการค้า สยามแก๊ส และ ยูนิคแก๊ส แอมโมเนีย และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอื่น 2. ธุรกิจขนส่ง : ขนส่งก๊าซ LPG, ขนส่งน้ำมัน และขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอื่น 3. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายถังก๊าซ LPG 4. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายเอทานอล
ส่วนที ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- สัดส่วนรายได้ในประเทศ 40% ต่างประเทศ 60% ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
- ในประเทศแยกย่อยเป็นกึ่งลอยตัว กึ่งควบคุม
- PTT มีส่วนแบ่งการตลาด 38.5% และ SGP มีส่วนแบ่ง 24% ส่วนที่เหลือก็ปิคนิคกับเวิล์ดแก๊ส 22%
- SGP มีโรงบรรจุแก๊ส 25 แห่ง เป็นของบริษัทเอง 12 แห่ง และสัมปทาน 13 แห่ง สถานีบริการ LPG อยู่ 540 แห่ง เป็นของบริษัทเอง 44 แห่ง และดีลเลอร์อีก 466 แห่ง จะเห็นได้ว่าบริษัทพยายามบริษัทพยายามเน้นในเรื่องของการถึงมือผู้บริโภค
- การค้าปลีกอุตสาหกรรมครัวเรือนมีสัดส่วนประมาณ 60% แห่งซึ่งราคาถูกควบคุมโดยกระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรมรถยนต์ 15% อื่นๆอีก 12%
- ทั้ง 3 เจ้าใหญ่เป็นเจ้าตลาดและมีลูกค้าเป็นของตัวเอง อย่างอันดับ และ 3 มีสัดส่วนใกล้เคียงกันส่งผลให้ผู้บริโภคไม่ได้สนใจทางด้านตราสินค้ามากนัก สนใจในเรื่องของความสะดวก จุดไหนอยู่ใกล้บ้านมากกว่ากัน
- Stock gain / stock loss เป็นเรื่องระยะสั้นๆ
- ต้องยอมรับการขายแก๊สนี้ ขึ้นอยู่กับวอลุ่ม ยิ่งขายมาก รายได้มาก เน้นแต่วอลู่มอย่างเดียว
- ธุรกิจนี้วงจรเงินสดดีมาก ขายแล้วได้เงินสดเลย ต่ำกว่า 1 เดือน
- P/BV 2 เท่า ROE 27% ถือว่าสูงมาก ROA อยู่ระดับ 13% แสดงว่าบริษัททำผลตอบแทนได้ดีมาก
- ราคาหุ้นตอนนี้สะท้อนผลประกอบการไปแล้ว
- บริษัทมีการส่งออกที่ดี โดยเฉพาะจีน แต่เรื่องกำไรยังไม่แน่ชัด นักลงทุนต้องติดตามกันต่อไป แต่ราคาหุ้นตอนนี้สะท้อนผลประกอบการในปี 60 ไปแล้ว
ส่วนที ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- นี้คือธุรกิจที่เป็น Monopoly ลูกค้าประจำ Margin บางมากเพราะแข่งขันสมบูรณ์
- ส่วนใหญ่ความสามารถในการทำกำไรจะอยู่ที่ Stock gain / stock loss มากกว่าในเรื่องของการทำการตลาด
- ผมมองว่าการผลิตถังแก๊สเอง มันไม่ได้มีคุณค่าอะไรมากนัก ดีไม่ดีการไปจ้างคนอื่นผลิตอาจจะดีมากกว่า ผมรู้สึกว่าการผลิตถังแก๊สมันก็ไม่ได้ทำให้เราแตกต่างอะไรมากอยู่แล้ว
- เรื่องของการซื้อแก๊ส ผมมองว่าไม่ได้เลือกยี่ห้อนะ เขาเลือกในเรื่องของความสะดวก ใกล้บ้าน เพราะแก๊สมันก็เหมือนๆกัน
- คร่าวนี้เราต้องมาดูว่า เราจะลงทุนได้หรือเปล่า ? เราก็ต้องไปดูในเรื่องของการปันผล หุ้นราคาแพงไปไหม
- จากงบที่ผ่านมา งบไม่โตเลย ก็วนๆอยู่ที่เดิม ผมเลยคิดว่าการใช้แก๊สในประเทศมันอิ่มตัวแล้ว คนจะใช้เพิ่มก็น่าจะยาก คร่าวนี้เราบอก เราจะไปต่างประเทศ ซึ่งไปต่างประเทศมันก็ไม่ง่าย อย่างที่ผ่านมารายได้ 6 หมื่นล้าน อยู่ดีๆเหลือ 4 หมื่นล้าน 5 หมื่นล้านแบบนี้ รายได้ลดลงอาจจะบอกถึงการลงทุน
- เราเลยมาดูว่ากำไรเป็นยังไง ปรากฏว่า Margin ดีขึ้นมาแตะระดับ 4% มันก็คิดได้สองแง่ คือ มาร์จิ้นจากต่างประเทศดีขึ้น หรือไม่ก็เป็นเรื่อง Stock gain / stock loss หรืออาจจะเป็นเรื่องการซื้อกิจการในราคาต่ำ เวลาเราบันทึกบัญชีก็จะกลายเป็นกำไร อันนี้เราต้องกลับไปดูอีกทีว่าเกิดจากอะไร
- ลักษณะที่ธุรกิจแข่งขันสมบูรณ์ไม่มีทางที่มาร์จิ้นจะสูง อย่างเช่นตอนนี้กำไร 4% อาจจะสูงเกินไปไหม เพราะถ้าสูงคุ่แข่งจะเข้ามาเพราะกำไรดี ในขณะที่ ปตท. บอกเป็นเจ้าตลาด มาร์จิ้นดีแบบนี้ ต้องขายเพิ่ม ก็ส่งผลให้มาร์จิ้นลดลง
- การที่กระทรวงพาณิชย์ควบคุม ผมรู้สึกเฉยๆนะเพราะด้วยภาวะอุตสาหกรรมมันจะควบคุมกันเองอยู่แล้ว
- P/E 9-10 เท่า ซึ่งตามตำราบอกว่าหุ้นตัวนี้ถูก แต่สำหรับธุรกิจนี้มันเป็น Classic case คือ สินค้าคอมโม ถ้า PE สูงให้ซื้อ ถ้าต่ำให้ขายเพราะกำไรดี นั้นคือจุดพีค เคสนี้ P/E ใช้ตามตำราไม่ได้
-------------------------------------------------
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการ Business Model SGP ผู้ค้าก๊าซ LPG ติดอันดับเอเชียตะวันออก ช่อง Money Channel