KOOL บนสังเวียนพัดลมไอเย็น กับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล และดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในรายการ Business Model สรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกัน
ลักษณะธุรกิจ
KOOL ดำเนินธุรกิจจัดหาและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์พัดลมไอเย็น พัดลมไอน้ำ และพัดลมอุตสาหกรรม ภายใต้ตราสินค้า "MASTERKOOL" และ "Cooltop" นอกจากนี้บริษัทยังให้บริการเช่าใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว รวมถึงออกแบบและติดตั้งระบบระบายความร้อน และระบบโอโซน
ส่วนที ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- โครงสร้างรายได้ของ Kool พัดลมไอเย็น 73% พัดลมไอน้ำ 12%
- จุดยืนบริษัทชัดเจน คือ เย็นมากกว่าพัดลม และคนที่ไม่ชอบแอร์ ตรงนี้เป็นช่องว่างที่บริษัทสามารถไปทำตลาดได้
- รายได้จากต่างประเทศ 20% และในประเทศแบ่่งเป็นอีเวนต์และคอเปอร์เรตประมาณ 36% และค้าปลีกตามห้าง ประมาณ 44%
- แสดงว่าบริษัทมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการค้าปลีกตามห้างใหญ่ๆ
- ธุรกิจลักษณะนี้เป็นธุรกิจวัฐจักร หมายถึง ภาวะอากาศที่ร้อนมีผลต่อยอดขาย ผลประกอบการที่ผ่านมาก็เป็นแบบนั้น ฤดูกาลที่ร้อนก็ขายได้มาก ฤดูฝน-หนาวก็ขายได้น้อย
- ผู้บริโภคหลายท่านไม่สามารถจ่ายค่าแอร์ได้ แต่สามารถซื้อพัดลมไอเย็นที่มีราคาถูกกว่าได้
- การแข่งขันพัดลมรุนแรงมาก ตรงนี้ต้องระวัง
- ความสามารถในการรักษากำไรขั้นต้นของบริษัทดีแค่ไหน นักลงทุนต้องจับตามอง อาจจะเป็นการหาวัตถุดิบได้ถูก หรือจ้างผลิตที่มีราคาถูกกว่า ก็สามารถรักษากำไรขั้นต้นได้
- ปีที่ผ่านมา ยอดขายลดลง กำไรขั้้นต้นลดลง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเกือบจะเท่าเดิม บริษัทคุมตรงนี้ได้ดี แสดงว่าบริษัทมีค่าใช้จ่ายคงที่ ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญว่าเราจะลดตรงนี้ยังไง
- ปีที่แล้วเป็นปีที่ไม่ดีของ Kool วงจรเงินสดช้าจาก 3 เดือนเป็น 6 เดือน สินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นเป็นสัญญาณว่าไม่สามารถจำหน่ายได้ แล้วก็มีเรื่องของสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปอย่างปี 60 ฤดูร้อนจะใช้เวลาไม่นานก็มาฝนตกและอากาศหนาว ทำให้ไม่สามารถขายได้เต็มที่
- ผมคิดว่า Kool เขามีแบรนด์ที่ดี Master Cool เป็นสินค้าติดตลาดในพัดลมไอน้ำไอเย็น ประเด็นคือบริษัทจะลดต้นทุนอย่างไรเพื่อให้ อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มมากขึ้น
- ถ้าปี 2018 การจ้างผลิตประสบความสำเร็จ จะเห็นผลประกอบการดีขึ้น Kool จะกลายเป็นหุ้นฟื้นตัวทันที
- ตอนนี้ผมยังมอง่า Kool สะท้อนผลประกอบการที่แย่ไปแล้ว และหุ้นยังดูเป็นวัฐจักร
ส่วนที ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- ผมมองว่าสินค้าของเขานี้สามารถแทนพัดลมได้ แต่ยังไม่สามารถมาแทนแอร์ได้ โดยธรรมชาติของคนเราไม่มีแบบว่าผมได้เงินมาอยากจะติดแอร์ แต่เอาพัดลมไอเย็นไปก่อนแบบนี้ไม่น่าจะมีนะในความคิดผม
- ผมว่าสินค้านี้เหมาะแก่การแทนพัดลมมากกว่าและต้องเปิดในที่โล่ง ถ่ายเทอากาศสะดวก ในขณะที่แอร์เป็นระบบปิด ในห้องนอนอะไรแบบนั้น
- ลูกค้าจำกัด ตลาดก็จำกัด นอกจากความเสี่ยงที่มีตลาดจำกัดแล้ว สินค้ายังขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย อากาศร้อนก็ขายได้เยอะ อากาศหนาวก็ขายได้น้อย
- ผมว่าในเมืองไทยเป็นธุรกิจที่เหนื่อยสักหน่อย คนไทยมีแนวโน้มรายได้มากขึ้นเขาก็อยากจะติดแอร์ เพราะเย็นกว่าสบายกว่า ผมว่ามันจำกัดเกินไปในแง่ของตลาด
- ปี 60 ขาดทุน 80 ล้าน ขาดทุนเยอะมาก ตรงนี้นักลงทุนต้องตั้งคำถามแล้วเกิดอะไรขึ้น ต้นทุนเพิ่ม? การแข่งขันสูง? หรือผมไม่แน่ใจว่าสินค้าจากเมืองจีนเข้ามาตีตลาดไทยมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน ราคาถูกกว่าไหม ทำให้กำไรบริษัทน้อยลงจนมีผลขาดทุน
- สินค้าแบบนี้ขึ้นราคาไม่ได้ เพราะคู่แข่งเยอะ ดังนั้นบริษัทต้องมาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เช่น เน้นการตลาดอย่างเดียว เน้นเทรดดิ้ง แต่ไม่เน้นการผลิต
- ที่สำคัญสินค้าลอกเลียนแบบได้ง่ายมาก ตรงนี้เป็นข้อเสียเลย
- ผลประกอบการที่ผ่านมา ดูแล้วเป็นธุรกิจกำไรน้อย อย่างปี 58 รายได้ 600 ล้าน กำไร 8 ล้าน ปี 59 รายได้ 900 ล้าน กำไร 87 ล้าน ผมเป็นห่วงว่าถ้าบริษัทไปจ้างเขาผลิตก็ทำให้กำไรดีขึ้นไม่มาก
- ผมดูว่าตลาดพัดลมไอเย็น ไอน้ำ มันเป็นตลาดเล็กๆที่ขยายตัวได้ยากในประเทศไทย ถ้าเราบอกว่าส่งออกไปต่างประเทศ เราก็อาจจะสู้เขาไม่ได้หรือเปล่า อย่างตอนนี้มาร์จิ้นบางมาก ถ้าค่าเงินอัตราแลกเปลี่ยนเหวี่ยงตัวสัก 5% นี้มันกินกำไรของเราไปเลย ยังไม่ได้ดูในเรื่องของคู่แข่งเลย
- ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าหุ้นตัวนี้ราคาแพงไปไหม หรือถูกไป แต่อยากฝากแนวคิดว่า นักลงทุนต้องลองกำหนดว่ามาร์จิ้นที่เหมาะสมของ Kool เท่าไร อาจจะสัก 3-5% ถ้ายอดขายเท่านี้ กำไรสุทธิเท่านี้ เราก็สามารถหาค่า P/E ที่เหมาะสมของหุ้นได้ เราก็บอกได้ว่าหุ้นตัวนี้ควรมีราคาที่เท่าไร
--------------------------------------------------
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการ Business Model KOOL บนสังเวียนพัดลมไอเย็น ช่อง Money Channel