PDJ จิวเวลรี่ เพื่อการเติบโตบนความยั่งยืน กับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล และดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในรายการ Business Model สรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกัน
ลักษณะธุรกิจ
Pranda Group ดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิต จัดจำหน่ายและค้าปลีกเครื่องประดับแท้เป็นหลัก ปัจจุบันเป็นผู้นำด้านการส่งออกเครื่องประดับอัญมณีของไทยซึ่งมีการกระจายฐานลูกค้าไปยังภูมิภาคที่สำคัญของโลก อันได้แก่ อเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย
ส่วนที ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- บริษัทมี 2 กลุ่มรายได้หลัก คือ มี Own brand คือเจ้าของตราสินค้าเอง และรับจ้างผลิตร่วมกับคู่ค้า
- โครงสร้างรายได้ รับผลิต 45% จำหน่าย 21% และค้าปลีกอีก 34% ... รายได้จากต่างประเทศ 72% แต่ตอนนี้ลดเหลือ 62% ในขณะที่รายได้ภายในประเทศ 27% ตอนนี้เพิ่มเป็น 37%
- ตราสินค้าบริษัทก็ คือ Prima Gold เป็นร้านค้าของเขาเอง
- กำไรขั้นต้นของบริษัทน่าสนใจมาก 26-30% กำไรดีมาก แต่พอมาเป็น EBIT Margin พลิกมาติดลบ 22% หมายความว่าค่าใช้จ่ายในการบริหารที่สูง ทำให้ขาดทุนได้
- วงจรเงินสด(ยิ่งต่ำยิ่งดี) ใช้เวลา 9 เดือน สินค้า 1 ชิ้นผลิตจากโรงงาน เก็บ แล้วก็ส่งเพื่อขายใช้เวลา 9 เดือน เท่าที่ผมรู้มาน่าจะมากกว่าค่าเฉลี่ย คือใช้เวลานานกว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสดนานกว่าบริษัทอื่นโดยค่าเฉลี่ย
- บริษัทยังขาดทุนอยู่ ไม่สามารถใช้ค่า P/E มาประเมินได้
- บริษัทมีต้นทุนจากทองคำ จากอัญมณีสูงถึง 33% แต่บริษัทก็ยังสามารถทำให้กำไรขั้นต้นกำไรได้ก็ถือว่ามีศักยภาพ อีกทั้งสามารถผลักต้นทุนไปให้ผู้ซื้อได้
- พวกเพชร อัญมณี การขายออนไลน์เป็นอะไรที่ยากมาก
- Operating Cash Flow ของเขาไม่คงที่ แกว่งแรงมากตรงนี้ไม่ดี
- P/BV ของเขาเทรดต่ำกว่า 1 แสดงว่านักลงทุนไม่ได้ให้คุณค่าอะไรมากนัก อย่างบริษัทดังๆ Pandora เทรดกัน 5-6 เท่าของ BV นั้นคือนักลงทุนให้คุณค่าแบรนด์เนมของ Pandora
- ผมคิดว่า Prima Gold ต้องรีแบรนด์ตัวเองให้ทันสมัยมากขึ้น จับตลาดคนรุ่นใหม่
- ในแง่สินทรัพย์ Inventory คิดเป็น 40% ของสินทรัพย์ทั้งหมด บริษัทต้องหาวิธีในการทำสินทรัพย์ให้เป็นเงินสดให้ได้
- การประเมินมูลค่าใช้ค่า P/E P/BV หรือแม้แต่ ROE น่าจะใช้ไม่ได้ ตอนนี้ที่คนรอก็คือรออะไรใหม่ๆ โมเดลธุรกิจใหม่ เพื่อให้บริษัทกลับมามีกำไร
- ผมมองว่าบริษัทมีสินทรัพย์เยอะ แต่ยังไม่ใช่หุ้น Turnaround ซะทีเดียว ต้องรอดูไปก่อน
ส่วนที ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- ผมมองว่า PDJ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือรับออกแบบผลิต และออกแบบเอง ขายเอง
- ผมจำได้ว่าที่เวียดนามมีบริษัทหนึ่ง ขายทอง ขายเพชรเหมือนกัน บริษัทโตดีมาก มีอยู่ทั่วเวียดนาม ขายกันในโมเดิร์นเทรดเลย คนถือหุ้นก็รวย แต่สำหรับผม ผมมองตรงกันข้าม
- ประเด็นคือ ตอนนี้ประเทศไทยไม่ใช่ฐานการส่งออก ค่าแรงเราแพง ค่าเงินเราก็แพงด้วย พอมาตรงนี้จะทำให้ต้นทุนเราสูงมาก เราเสียเปรียบสู้เวียดนามไม่ได้แล้ว
- ผมมองว่าในประเทศไทย การซื้อทองในประเทศเป็นลักษณะซื้อทองเพื่อเก็บของชนชั้นกลาง ซื้อทองตู้ราคาปกติ ทองคำแท่งอะไรแบบนั้น แต่ถ้าเป็นตราสินค้า Prima Gold ราคาแพงกว่ามากเป็นทองของคนรวยซึ่งมันไม่มีคนซื้อกันเป็นกิจลักษณะ จะให้คนทั่วไปมาซื้อเหรอ ผมก็ว่ายากนะ มันโตไม่ได้
- แต่ถ้าวันดีคืนดี บอกว่าผมจะทำเพชร ทำทองดีไซด์ระดับหรู เพื่อความสวยงาม มีชิ้นเดียวในโลก ขายเฉพาะคนรวยเลย เปิดประมูล เปิดงาน ตรงนี้โมเดลธุรกิจแตกต่างแล้ว ก็ว่ากันอีกเรื่อง
- ตอนนี้ผมรู้สึกว่า บริษัท "ทู่ซี้" ขายไป แม้ว่าจะขาดทุนก็ต้องขาย แบบนี้ยิ่งทำยิ่งแย่
- ดูจากอุตสาหกรรมแล้ว ค้าเพชร ค้าทอง เป็นธุรกิที่มาร์จิ้นดีอยู่แล้ว
- แต่พูดถึงก็มีคนกลุ่มหนึ่ง ที่เขาชอบสินค้าราคาแพงแล้วดุน่ารัก เครื่องประดับที่ใส่แล้วดูกุ๊กกิ๊กน่ารัก ก็มีเหมือนกัน ตรงนี้ก็เป็นโมเดลธุรกิจอีกแบบหนึ่ง ต้องลองกลับไปดู
- ผมมองว่า หุ้นตัวนี้มองเป็น หุ้นรอวัน Turnaround
- ถามว่าเป็นหุ้น asset play ไหม ผมก็ไม่แน่ใจเพราะสินทรัพย์เยอะต้องดุว่าเป็นสินทรัพย์อะไร โรงงานเก่าๆ งานเก่าๆที่ขายไม่ออก ตรงนี้ก็ไม่มีค่า
- ผมว่าธุรกิจค้าทอง ค้าเพชร ไม่เติบโตแล้ว มันเป็นธุรกิจเรื่อยๆ แต่ถ้าเป็นธุรกิจจิวเวอร์รี่ ค้าเครื่องประดับตรงนี้ยังมีช่องให้โตได้อยู่
- อย่างไรก็ตามผมเป็นแค่คนนอกนะ ไม่ได้รู้ลึกอะไรมากเกี่ยวกับธุรกิจนี้ ผมก็มองในมุมมองของผมต่อธุรกิจหนึ่งเท่านั้น บางทีมันอาจจะมีอะไรลึกๆซ่อนอยู่ก็ได้ ซึ่งผมเองก็ไม่รู้
--------------------------------------------------
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการ Business Model PDJ จิวเวลรี่ เพื่อการเติบโตบนความยั่งยืน ช่อง Money Channel
ดูฉบับเต็มได้ที่นี้เลยครับ
หลักสูตร : เข้าใจกราฟได้อย่างง่ายใน 1 วัน