เชื่อว่า ณ เวลานี้ไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จักเว็บค้าออนไลน์อย่าง Lazada ที่มีคนเข้าไปจับจ่ายใช้สอยกันเป็นจำนวนมากเรียกได้ว่าเป็นการค้าปลีกออนไลน์ที่แทบจะทำให้ธุรกิจโมเดิร์นเทรดหรือค้าปลีกยุคเก่าแทบจะไม่มีช่องว่างในการขายของเลยทีเดียว
คนไทยรู้จัก Lazada แต่มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าใครคือเจ้าของ Lazada แล้วนักลงทุนอย่างเราๆจะลงทุนในหุ้น Lazada ได้อย่างไร วันนี้เราจะมาดูกันครับ
3 ผู้ก่อตั้ง Rocket Internet และเป็นผู้ก่อตั้ง Lazada Group
ที่มาภาพ : https://boerse.ard.de
Lazada ก่อต้ังโดยบริษัท Startup อย่าง Rocket Internet บริษัทสัญชาติเยอรมัน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน บริษัทก่อตั้งเมื่อปี 2007 โดยสามพี่น้อง Marc, Oliver และ Alexander Samwer
พวกเขาได้รับแรงบรรดาลใจจาก Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งเว็บไซด์ Amezon และคิดว่าการสร้าง Platform การค้าออนไลน์อย่าง e-commerce ยังมีช่องว่างการเติบโตอีกมาก ดังนั้นงานแรกของเขา คือ การเลียนแบบเว็บไซด์ขายของแฟชั่นง่ายๆของอเมริกาอย่าง Zappos.com โดยตั้งชื่อใหม่เป็น Zalando ในปี2008 ที่รวบรวมแฟชั่นเครื่องแต่งกาย และรองเท้าไว้อย่างครบครัน แต่น่าเสียดายที่บริษัทมีผลประกอบการไม่ดีนัก เขาขาดทุนติดต่อกันถึง 3 ปีซ้อน และเริ่มกำไรในปีที่ 4
นอกจากนี้ Rocket Internet ยังสร้างเว็บไซด์อีกหลายเว็บทางด้านการค้าออนไลน์ ส่วนใหญ่แล้วจะเน้นไปที่อาหารสด แฟชั่น เครื่องใช้ในบ้าน และการท่องเที่ยว เช่น Dafiti, Campsy, Jumia Travel, Nestpick เป็นต้น
ในปี 2012 ทั้งสามพี่น้องเล็งเห็นว่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่มีการทำ e-commerce อย่างจริงๆจังๆ เขาจึงก่อตั้ง Lazada โดยจะเน้นใน 5 ประเทศที่มีกำลังซื้ออย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลิปินส์ และเวียดนาม แต่น่าเสียดายที่การขยายกิจการไปต่างประเทศเป็นเรื่องยากลำบากพอสมควร อีกทั้งพวกเขาเป็นชาวเยอรมัน การข้ามมาทำตลาดในแถมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเรื่องยาก พวกเขาจึงจัดตั้งบริษัทใหม่โดยใช้ชื่อว่า Lazada Group จดทะเบียนที่ประเทศสิงคโปร์และให้รัฐบาลสิงคโปร์อย่างกลุ่มเทมาเส็กเข้ามาร่วมถือหุ้นด้วย บริษัทไปได้ดีในสิงคโปร์และประเทศไทย ทำให้ดึงผู้ร่วมทุนต่างชาติอีกหลายหลาย เช่น Tesco ของอังกฤษ , JPMorgan Chase, Investment AB Kinnevik และ บริษัท Venture Capital ชื่อดังอย่าง Summit Partners
ในปี 2016 Lazada ประกาศว่าบริษัทมียอดขายมากกว่า 1.36 พันล้านเหรียญ และกลายมาเป็นผู้เล่นรายใหญ่อันดับหนึ่ง Shopping Platform ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังชักชวนให้ Alibaba Group ของ Jack Ma เข้ามาร่วมลงทุนอีกด้วย
ในปี 2017 Alibaba Group ประกาศเข้าซื้อหุ้น 83% ใช้เงินลงทุนไปมากกว่า 1 พันล้านเหรียญ จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมอย่าง Rocket Internet และ Investment AB Kinnevik ทำให้ Lazada มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่ 2 กลุ่มนั้นคือ Alibaba และ Temasek Holdings
เมื่อไม่นานมานี้เดือนมีนาคม ปี 2018 Alibaba ประกาศเพิ่มการลงทุนใน Lazada ไปอีก 2 พันล้านเหรียญ เป็นการยืนยันได้ว่าบริษัทจะจริงจังกับการทำ Shopping Platform อย่างเข้มข้นแน่นอน
กลับมามองที่การลงทุน ถ้านักลงทุนชาวไทยคนไหนอยากจะเป็นเจ้าของกิจการ Lazada อาจจะต้องข้ามไปซื้อหุ้น Alibaba อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรามาดูพื้นฐานของหุ้น Alibaba กันครับว่าแพงไปหรือยัง ?
หุ้น Alibaba เสนอราคาที่ 170 เหรียญต่อหุ้น (ประมาณ 5300 บาท) ด้วยค่า P/E ratio ที่ 47 เท่า P/BV ที่ 7.8 เท่า และยังไม่เคยมีประวัติการจ่ายปันผล การที่นักลงทุนยอมให้ค่า P/E สูงขนาดนี้อาจจะบ่งบอกว่าคาดหวังการเติบโตของ Alibaba
เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา รายได้ของ Alibaba อยู่ที่ 24 พันล้านเหรียญ และกำไรสุทธิที่ 6 พันล้าน หมายถึงอัตรากำไรสุทธิที่ 27.59% อยู่ในระดับสูงมาก
สำหรับราคาหุ้นของ Alibaba สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุนมาโดยตลอด ถ้าใครจะคิดเข้าลงทุน ก็ต้องให้ราคาพรีเมี่ยมสักหน่อยสำหรับหุ้นเติบโตสูงแบบนี้ ...
---------------------------------
เขียนโดย SiTh LoRd PaCk
แหล่งข้อมูล
https://en.wikipedia.org/wiki/Lazada_Group
https://en.wikipedia.org/wiki/Rocket_Internet
https://en.wikipedia.org/wiki/Zalando
https://www.businesswire.com/news/home/20170628005543/en/Alibaba-Increases-Stake-E-Commerce-Platform-Lazada
https://www.dealstreetasia.com/stories/alibaba-increases-stake-singapore-ecommerce-site-lazada-76094/
https://www.bloomberg.com/quote/BABA:US