#แนวคิดด้านการลงทุน

AI กับการลงทุนไม่ง่ายอย่างที่คิด ความท้าทายอยู่ตรงไหน ?

โดย ผศ.ดร. ศุภวัฒน์  สุภัควงศ์
เผยแพร่:
482 views

ในวันนี้ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทั้งในและต่างประเทศ ล้วนฟันธงไปในทิศทางเดียวกันว่า AI หรือ Artificial Intelligence คืออนาคต และก้าวต่อไปของโลกแห่งการลงทุน แต่ !!! การจะนำ AI มาใช้ในการเทรดหรือลงทุนไม่ใช่เรื่องง่าย ความท้าทายอยู่ที่ตรงไหน วันนี้ Think Algo ซึ่งเป็นหนึ่งองค์กรที่ทุ่มวิจัยและพัฒนาด้านนี้มานาน จะมาเล่าให้ฟังครับ

เมื่อไม่นานมานี้เว็บไซต์www.benzinga.com ได้ทำการสัมภาษณ์ experts ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ AI เพื่อใช้ในการลงทุนจำนวน 6 ท่าน ถึงแนวโน้มของ AI ในด้านการเงินการลงทุน เป็นที่น่าสนใจว่า เมื่อให้กูรูทั้ง 6 ทำการให้คะแนน 1 ถึง 10 ว่า ณ วันนี้ ถือว่าโลกของเรามีการนำ AI มาใช้ในการลงทุนแล้วมากน้อยขนาดไหน ปรากฏว่า experts ทั้งหกให้คะแนนอยู่ในช่วงเพียง 3-4 คะแนน โดยหนึ่งในนั้นให้คะแนนน้อยสุดเพียง 2 จาก 10 คะแนน ชี้ให้เห็นว่า AI เพิ่งถูกนำมาใช้ในระดับผิวเผินด้านการลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมหลักอื่นๆ เช่น internet products ของ google search engine หรือระบบการแนะนำสินค้าของทาง amazon

แต่ด้วยศักยภาพของ AI ที่สามารถทำอะไรได้อีกเยอะมาก จึงไม่แปลกใจที่กองทุนขนาดใหญ่หลายแห่งทำการปรับโครงสร้างองค์กรขนานใหญ่ ทุ่มเททรัพยากรมหาศาลในการพัฒนาด้านนี้

แล้วในการจะก้าวไปถึงจุดนั้นได้ จะต้องผ่านอะไรบ้าง? มาลองดูกัน

ความท้าทายในมุมมองของสถาบัน

เว็บไซต์ www.benzinga.com ได้ถามต่อว่า ในมุมมองของนักลงทุนสถาบันนั้น การจะพัฒนาให้ AI เอาไปใช้ได้จริง ความท้าทายอยู่ที่ตรงไหน? คำตอบจากกูรูทั้งหกมีความหลากหลาย แต่ชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า “คนในองค์กร รวมถึงตัวขององค์กร ต้องมีการปรับตัวขนานใหญ่” ในส่วนของคน ต้องเข้าใจว่าสภาพอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนไปแล้ว การมีความรู้ด้านการลงทุนอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในตัวเทคโนโลยี รวมถึง AI ด้วย

หากกองทุนยังคงมองว่า AI คือกล่องดำ (blackbox) ที่ไม่เข้าใจการทำงานของมันจริงๆ  ความมั่นใจที่จะปล่อยให้ AI เทรดแทนคนก็จะไม่มี

ในขณะที่ตัวขององค์กรเองก็ต้องมีการปรับตัว เพราะโครงสร้างหลักขององค์กรได้เปลี่ยนไป จะพัฒนาองค์กรให้เป็นผู้นำด้าน AI ได้จำเป็นต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ หนึ่ง ต้องมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลในเชิง Big Data ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน สอง computing infrastructure ต้องลงทุนมหาศาลเพื่อเพิ่มกำลังและประสิทธิภาพในการประมวลผลข้อมูล และสุดท้าย ต้องมีอัลกอริทึมที่ดีในการเข้าซื้อขายและสร้างผลตอบแทนที่ดีได้

สังเกตมั้ยครับ อุตสาหกรรมนี้ค่อยๆ แปลงร่างจาก finance industry มาเป็นศูนย์กลางที่ Tech มากขึ้นเรื่อยๆ

ความท้าทายในมุมมองของนักลงทุนรายย่อย

แล้วสำหรับนักลงทุนรายย่อยล่ะ ความท้าทายที่จะพัฒนา AI ในการเทรดอยู่ที่ตรงไหน? เว็บไซต์ www.benzinga.com ถามต่อ กูรูทั้งหกแสดงความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยหนึ่งในนั้น คุณ Lane Mendelsohnซึ่งเป็นVice President ของบริษัท VantagePointผู้พัฒนาซอฟแวร์สำหรับการคาดการณ์สภาวะตลาดด้วย AI ได้ให้ความเห็น ซึ่งอาจทำให้รายย่อยหลายคนสะอึกว่า

หากมองย้อนกลับไปว่าความท้าทายของการที่กองทุนจะพัฒนาระบบ AI ขึ้นมาอยู่ที่ตรงไหน ความท้าทายของรายย่อยก็ประมาณนั้นแหละ เพียงแค่ถูกคูณด้วย 1,000 !!!

ซึ่งหากพิจารณาดีๆจะพอเข้าใจประเด็นที่คุณ Lane Mendelsohn พยายามจะสื่อ ด้วยนักลงทุนรายย่อยแทบจะสู้สถาบันไม่ได้เลยในส่วนของ resourcesต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนในการพัฒนาระบบ Infrastructure การมีฐานข้อมูลที่ดี รวมถึงการพัฒนาอัลกอริทึม

อย่างไรก็ตาม กูรูทั้งหกได้ฝากประเด็นที่น่าสนใจไว้ว่า ความท้าทายหลักๆ ที่รายย่อยต้องก้าวผ่านให้ได้ คือ หนึ่ง ต้องมีความรู้ที่แท้จริงในเรื่องของ AI ไม่ใช่ยังคงมองฉาบฉวย คิดว่ามันเป็นอาวุธมหัศจรรย์เหมือนในโลก sci-fi และประเด็นที่สอง ควรมีความคาดหวังในเชิงผลตอบแทนที่เหมาะสม

AI ไม่ใช่ holy grailหรือจอกน้ำมหัศจรรย์ที่สร้างผลตอบแทนมหาศาลให้เราได้ แต่เป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยขับเคลื่อนในการสร้างผลตอบแทนให้เราอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เริ่มต้นวันนี้ หาความรู้ใส่ตัวให้เต็มที่ เริ่มเร็วกว่าย่อมได้เปรียบครับ

-------------------------

สนใจกองทุนส่วนบุคคล A.I. – Waldo

คลิกได้ที่ https://www.think-algo.com/product/waldo/ 
(เงินลงทุนขั้นต่ำ 3 ล้านบาท)

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

โทรศัพท์ : 02-017-7411
Email : [email protected]
Line@ : https://line.me/R/ti/p/%40dzc4379v


ผศ. ดร.ศุภวัฒน์  สุภัควงศ์ (อาจารย์ Nine) - อดีตนักเรียนทุนรัฐบาล ศึกษาระดับปริญญาตรี-โท ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอกที่ Imperial College London ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  อาจารย์เน้นงานวิจัยด้านการประมวลผลสัญญาณ time-series ประเภทต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ การศึกษาพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์  มีความสนใจและเป็นนักพัฒนา algorithms ต่างๆ ในแนวทางการลงทุนแบบ algorithmic and systematic trading

Facebook

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง