10 ปีก่อน วอเรนบัฟเฟตต์ เจ้าพ่อด้านการลงทุนของโลกได้ทำการพนันกับบริษัทกองทุน Hedge Fund ที่ชื่อว่า Protégé สาระสำคัญ คือ บัฟเฟตต์จะลงทุนในกองทุนดัชนี S&P500 ซึ่งมีความธรรมเนียมต่ำ (แนว Passive Fund) และ Protégé Hedge Fund จะลงทุนในกองทุน 5 กองทุนที่มีการปรับพอร์ตซื้อขายเพื่อเอาชนะตลาด (แนว Active Fund) ถ้าใครชนะจะได้เงินที่พนันไปแล้วเอาไปทำบุญ
ผ่านไปเกือบ 10 ปี สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ผลตอบแทนจาก Passive Fund แนวการลงทุนที่จำลองดัชนี S&P500 ให้ผลตอบแทนประมาณ 86% และ Active Fund ที่ปรับพอร์ตเพื่อพยายามชนะตลาดให้ผลตอบแทน 22% สรุปได้ว่า Passive Fund ชนะแบบท่วมท้น ซึ่งเหตุผลหลักที่ทำให้ Active Fund พ่ายแพ้ คือความธรรมเนียมที่สูงจากการปรับพอร์ตซื้อขายตลอดเวลาเพื่อเอาชนะตลาด
กลับมาดูในบ้านเราบ้าง ผมลองทำข้อมูลของกองทุนหุ้นในตลาดไทยเทียบกับอัตราผลตอบแทนดัชนี SET TRI (ดัชนี SET Index ที่รวมผลตอบแทนจากปันผลเข้าไปด้วย) มาดูว่ามีอยู่กี่กองทุนสามารถเอาชนะตลาดได้
ผลที่ออกมาคือ มีกองทุนหุ้นไทยทั้งหมด 144 กองทุนที่ก่อตั้งมาแล้ว 10 ปี ปรากฏว่ามีอยู่ 33 กองทุนที่สามารถเอาชนะดัชนี SET TRI ได้ (เทียบเป็น 23% ของกองทุนทั้งหมด)
หมายความว่า ยังมีกองทุนหุ้นแนว Active Fund ในประเทศไทยที่สามารถเอาชนะตลาดได้ประมาณ 23% และคนที่ลงทุนในกองทุนกลุ่มนี้ถ้าผ่านไป 10 ปีจากเงินต้น 100,000 บาทวางไว้เฉยๆไม่ต้องทำอะไรเงินจะโตไปเป็น 300,000 บาทในระยะเวลา 10 ปี
สาเหตุที่ทำให้กองทุน Active Fund ในบ้านเราบางกองยังทำผลงานได้ดีกว่าตลาดน่าจะมีสาเหตุมาจาก
1) ค่าธรรมเนียมของกองทุนรวมบ้านเราไม่ได้สูงเหมือนของต่างประเทศ
2) สภาพตลาดหุ้นของบ้านเรายังมีหุ้นที่ซ่อนโอกาสการเติบโตสูงๆไว้ทำให้ผู้จัดกองทุนที่มีความสามารถดีๆสามารถเลือกหุ้นเหล่านี้มาอยู่ในพอร์ตและทำผลงานชนะตลาดได้ในระยะยาว
ซึ่งการที่จะทำให้เงินต้นเราเติบโตสม่ำเสมอแบบนี้ได้มีหลักเกณฑ์ง่ายอยู่ 3 ข้อที่คนทั่วๆไปทุกคนก็สามารถทำได้คือ
1) กระจายเงินให้“เป็น” = อย่าใส่เงินไว้แค่ที่ใดที่หนึ่งเช่นหุ้นเพียงไม่กี่ตัวหรือกองทุนเพียงไม่มีกองทุน
2) เลือกของให้“ดี” = ต้องรู้วิธีวัดผลงานกองทุนที่เหมาะสมก็คือดีและสม่ำเสมอ
3) ถือให้“ยาว” = ถ้าเราคอยปรับพอร์ตอยู่ตลอดเวลาเราจะถูกข่าวในตลาดหลอกจนไม่สามารถทำให้เงินเราเติบโตได้