BANPU ภายหลังจากคำตัดสินของศาลฯ เชื่อว่า BANPU จะกลับไปเคลื่อนไหวสะท้อนปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น จากประเด็นคดีที่ยืดเยื้อมาเป็น 10 ปี ราคาหุ้นกลับมาขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานปกติ มีแนวโน้มเชิงบวก ตามการปรับเพิ่มขึ้นของถ่านหิน ส่งผลดีต่อเหมืองถ่านหินของ BANPU ที่อินโดและออสเตรเลีย
Banpu ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจหลักด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยปัจจุบันมีรายได้หลักมาจากการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป (Conventional power generation) และได้มีการขยายการลงทุนไปยังโรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable power generation) โดยลงทุนในโรงไฟฟ้าหลากหลายรูปแบบและในหลายประเทศ เช่น ประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น
ผลกระทบจากค่าชดเชยต่ำ
ศาลฎีกามีคำสั่งให้กลุ่ม BANPU ชดใช้ค่านำข้อมูลสัมปทานเหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้าหงสาเป็นมูลค่า 1,500 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.55 ต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องในเดือน ก.ค. 2550 ค่าชดใช้ตามคำตัดสินของศาลฯต่ำกว่าคำตัดสินของศาลชั้นต้นที่มีมูลค่ารวม 31,745 ล้านบาท (ส่วนค่าเสียโอกาสตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกายืนยันตามศาลอุธรณ์ คือไม่ต้องชำระ) เป็นอย่างมากผลกระทบเมื่อรวมภาระดอกเบี้ยจ่ายอยู่ที่ประมาณ 2,700 ล้านบาท BANPU จะรับภาระชดเชย 1,800 ล้านบาท BANPU และ BPP จะบันทึกค่าชดเชยในผลประกอบการในไตรมาส 1/61
หุ้นกลับไปสะท้อนปัจจัยพื้นฐาน
การปลดล็อคปัจจัยหลักที่กดดันหุ้น BANPU ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา เชื่อว่าหุ้น BANPU จะกลับมาปรับตัวสะท้อนปัจจัยพื้นฐาน หลังความเสี่ยงจากคดีโรงไฟฟ้าหงสาที่หมดไป
จากการศึกษาผลกระทบหากราคาขายถ่านหินของ BANPU เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้นราว 600 ล้านบาท และส่งผลให้มูลค่าพื้นฐานเพิ่มขึ้นราว 2.50-3.00 บาทต่อหุ้น
แนวโน้มธุรกิจอนาคต
- แนวโน้มธุรกิจถ่านหินฟื้นตัวของปี 60 จากนำเข้าของจีน และนโยบายการควบคุมราคาถ่านหินของรัฐบาลจีน
- คาดผลการดำเนินงานในปี 61 จะฟื้นตัวได้ อันเนื่องมาจากธุรกิจถ่านหินและการรับรู้ผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าหงสา โรงไฟฟ้าถ่านหินที่จีน และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่จีนและญี่ปุ่น
- ราคาถ่านหินในตลาดโลก ซึ่งล่าสุดกลับมายืนในระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ทำให้ราคาขายเฉลี่ยถ่านหินในปี 2561 ของ BANPU มีโอกาสขึ้นไปได้
ด้านความเสี่ยง
ความผันผวนของราคาถ่านหินที่มากกว่าคาดความเสี่ยงจาก FX และความเสี่ยงจากธุรกิจก๊าซฯในสหรัฐ
ที่มา : บทวิเคราะห์ บล. เมย์แบงก์ กิมเอ็ง, บล. เคจีไอ, บล. ไอร่า, บล. เอเชีย พลัส
ราคาเป้าหมายที่บรรดาโบรกเกอร์
รูปภาพจาก Settrade
ราคาเป้าหมายเฉลี่ยของหุ้น Banpu อยู่ที่ 25.89 บาท จากราคาล่าสุดอยู่ที่ 22.90 บาท (ณ 06/03/2018)
กราฟราคาหุ้น Banpu หลังจากแตกพาร์จาก 10 บาทไป 1 บาท ช่วงปี 2013 ราคาหุ้นมีทิศทาง Down trend จนราคาลงไป 11 บาท ในสิ้นปี 2015 หลังบริษัทขาดทุนไปกว่า 1500 ล้านบาท แล้วล่าสุดผลการดำเนินงานบริษัทพลิกฟื้นกลับมาได้ในปี 2017 บ้านปูมีกำไรสูงสุดอีกครั้ง 7900 ล้านบาท
หนุนกับการที่ถือหุ้นใหญ่ใน BPP บ้านปูพาวเวอร์ ถือเป็นจุดที่น่าสนใจของนักลงทุนหุ้น Banpu ในอดีตเป็นหุ้นที่ยอดฮิตของนักลงทุนรุ่นเก๋า แต่ในอนาคตคำถามสำคัญ หุ้น Banpu จะกลับมาเติบโตได้ใหม่อีกครั้งมั้ย ?