เหตุการณ์ : ประชุมนักวิเคราะห์ วันที่ 26 ม.ค. 2561
ITEL ประกอบธุรกิจ
1.ให้บริการเช่าโครงข่ายใยแก้วนำแสง
2.ให้บริการออกแบบ ก่อสร้าง และรับเหมางานโครงการสายใยแก้วนำแสงและโครงการสื่อสัญญาณโทรคมนาคม
3.ให้บริการเช่าพื้นที่ดาต้าเซ็นเตอร์
ประเด็นสำคัญ :
1. ภาพการเติบโตของ ITEL ที่คาดรายได้ปี 2561 เท่ากับ 1,400 ลบ. +30%y-y
ประกอบด้วย 3 ธุรกิจ ได้แก่
a. ธุรกิจ Data service ปัจจุบันมี backlog 340 ลบ. และยังคงหาลูกค้าใหม่ๆเพื่อเติมเต็มอัตราการใช้งาน(Utilization rate) บนโครงข่ายเดิม
b. ธุรกิจ Data center รายได้ขยายตัวเล็กน้อยจากค่าไฟ บน Utilization rate ที่อยู่ในระดับสูงอยู่แล้ว
c. ธุรกิจ Installation ปัจจุบันมี backlog 300 ลบ. (ยังไม่รวมงาน USO net phase 2) และยังคงหางานใหม่ๆต่อเนื่องทั้งภาครัฐและร่วมมือกับพันธมิตร(AIT)
2. ธุรกิจ Installation มี Upside risk จากงานภาครัฐในปี 2561 ได้แก่ โครงการประมูลอินเตอร์เน็ตพื้นที่ชนบทระยะที่ 2 (USO net phase 2) ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอ กสทช. นำเสนอต่อบอร์ดฯ ทั้งนี้มีอยู่ 3 แนวทาง (ที่มา : ข่าวหุ้น) คือ
a. ดำเนินการในรูปแบบที่ TOT ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมี Wi-Fi ประจำหมู่บ้าน ระยะเวลาในการสนับสนุน 1 ปี ใช้กรอบวงเงิน 3,287 ลบ.
b. ดำเนินการในลักษณะเดียวกับรูปแบบที่ 1 ระยะเวลาในการสนับสนุน 5 ปี ใช้กรอบวงเงิน 6,840 ลบ.
c. ดำเนินการในแนวทางอินเตอร์เน็ตชายขอบ วงเงินประมาณ 18,000 ลบ. พร้อมกับมีศูนย์อินเทอร์เน็ตสาธารณะ จำนวน 228 แห่ง ห้องบริการอินเทอร์เน็ตประจำโรงเรียน จำนวน 1,623 แห่ง โรงเรียนที่มีลาสต์ไมล์เข้าถึงอีก 3,170 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 91 แห่ง ซึ่งจะใช้บริการฟรีทั้งหมดตลอดระยะเวลา 5 ปี
ตามโรดแมปคาดจะได้ข้อสรุป(1 ใน 3 แนวทาง) รวมถึงรายละเอียดการประมูลในช่วง 2Q60 ทั้งนี้คาดวงเงินดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 5 สัญญาย่อย ซึ่ง ITEL มีแผนจะเข้าร่วมประมูลในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ (พื่นที่เดิมที่บริษัทเคยได้งานใน USO net phase 1 ) คิดเป็นมูลค่างาน 2,500-3,000 ลบ.
3. ผู้บริหารชี้แจงว่า นโยบายจากหน่วยงานรัฐ (กทม.) ที่ให้นำสายไฟลงใต้ดิน อาจส่งผลต่อ ITEL ต้องย้ายสายเคเบิลจากเสาไฟฟ้า ลงสู่ใต้ดิน ซึ่งจะทำให้ ITEL มีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการเช่าท่อใต้ดินนับตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป
ความเห็น :
· ITEL จะได้ผลกระทบจากนโยบายนำสายไฟลงใต้ดิน เป็น downside risk ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 5-40 ลบ. อย่างไรก็ดีเรามองความน่าจะเป็นที่ค่าใช้จ่ายจริงอาจอยู่ที่ราว 5-10 ลบ. (หากสามารถเจรจากับผู้เช่าได้) ซึ่งจะกระทบต่อประมาณการกำไรของ ITEL บางส่วน (concensus ประเมินกำไรสุทธิปี 60-61 เท่ากับ 100-110 และ 130-140 ลบ. ตามลำดับ)
· เรามอง ITEL จะได้รับผลกระทบจาก negative surprise ที่น้อยกว่า ILINK ขณะที่ธุรกิจของ ITEL ที่มี Operating leverage ได้หาก Utilization rate เพิ่มได้ตามเป้า ที่เรามองว่าจะช่วยชดเชยค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม ในระยะสั้น เรามอง ITEL ลงมาระดับที่น่าสนใจ (อิง Target price concensus 7-7.7 บาท/หุ้น คิดเป็น Upside 40%) โดยให้น้ำหนักกับ catalyst ที่รออยู่ในปี 2561 โดยเฉพาะโครงการ USO net phase 2 ในช่วง 2Q61
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : บล. Maybank KimEng