การลงทุน Style Dollar Cost Average (DCA)
DCA คือการลงทุนแบบเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ช่วยลดความเสี่ยงในการซื้อ ด้วยการที่เรากำหนดวันลงทุนชัดเจนและกำหนดวงเงินลงทุนในแต่ละเดือน การลงทุนแบบ DCA จะลงทุนด้วยเงินมากหรือเงินน้อย ไม่สำคัญเท่า ระยะเวลาในการลงทุน
หากเราเริ่มออมเร็วเท่าไรเราย่อมมีโอกาสสร้างฐานะการเงินได้ดีขึ้นเร็วขึ้นเท่านั้น เนื่องจากเราไม่สามารถรู้อนาคตได้จึงใช้ DCA ซึ่งเป็นวิธีการทยอยลงทุน ตัดความกังวลในการซื้อหุ้นที่ราคาแพงเกินไป หรือ ไม่กล้าซื้อหุ้นเมื่อราคาหุ้นตกลงแรงๆ ทำให้มีจำนวนหุ้นน้อย และไม่ต้องเครียด เมื่อเวลาที่ต้องทำการซื้อขาย เพราะมีการกำหนดวันที่ซื้อ อยู่แล้วไม่ว่า ตลาดจะเป็นอย่างไร และยิ่งสะสมหุ้นได้เยอะ เงินปันผลก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้การลงทุนด้วยวิธีนี้จึงเหมาะที่สุดสำหรับนักลงทุนที่ต้องการอิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริง
DCA กุญแจความสำเร็จของการลงทุนลักษณะนี้ คือ ความสม่ำเสมอ เน้นผลตอบแทนจากเงินปันผลที่เราลงทุนไป ตามหลักแล้ว กฎการลงทุนของ DCA มี 4 ข้อ
1. กำหนดเงินเท่าๆกันในการลงทุน แต่ละเดือน เช่น เดือนละ 5,000 - 10,000 บาทต่อเดือน มาลงทุน สามารถเพิ่มเงินลงทุนได้ หากมีรายได้มากขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นต้องเป็นการเพิ่มถาวร ไม่ลดลงอีก หากยังไม่อยากออมหุ้น เพราะยังไม่มั่นใจในฝีมือเลือกหุ้นของตนเอง อาจเปลี่ยนเป็น ออมหน่วยลงทุน ซึ่งผ่านการเลือกหุ้นจาก ผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ ปัจจุบันบางบริษัทหลักทรัพย์ มีบริการโปรแกรมออมหุ้น เช่น บล.ฟิลลิป บล.CIMB
2. การเลือกหุ้นเพื่อจัดพอร์ตการลงทุน เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับการ DCA เพราะ นักลงทุนที่ลงทุนด้วยวิธีนี้จะต้องเชื่อมั่นในหุ้นที่ตนเองเลือกมาแล้วอย่างมาก ระหว่างทางที่ลงทุนจะต้องมีช่วงที่หุ้นนั้นราคาตกลงอย่างหนัก ตัวธุรกิจเองต้องเผชิญกับทั้งขาขึ้นและขาลงของธุรกิจ และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโดยรวม อย่างแน่นอนการมั่นใจในหุ้นที่ตนเองเลือกและลงทุนอย่างต่อเนื่องถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก การเลือกหุ้นนั้นขึ้นอยู่กับว่านักลงทุนมองความเสี่ยงและการเติบโตในระยะยาวอย่างไร โดยส่วนมากแล้วจะแนะนำให้เลือกหุ้นอันดับ1 ของอุตสาหกรรม เป็นหุ้นที่เติบโต มีกำไร และจ่ายปันผลสม่ำเสมอ ประกอบธุรกิจที่เข้าใจไม่ยาก เป็นผู้นำอุตสาหกรรม หากเป็นธุรกิจผูกขาดจะดีมาก
3. วินัยการลงทุน โดยเราจะกำหนด วันที่ที่จะซื้อหุ้นในทุกเดือน เช่น วันที่ 5 วันที่ 25 ของเดือน โดยไม่ต้องสนใจราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่มีการซื้อเพิ่มระหว่างเดือน ไม่มีการตัดขาดทุน เนื่องจากเป็นหุ้นที่เราเลือกมาอย่างดีแล้ว เวลาที่ราคาหุ้นลดลง จำนวนเงินเท่าเดิมของเราจะซื้อหุ้นได้เพิ่มขึ้น หากราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเราก็จะสามารถซื้อได้ในจำนวนที่ลดลง เมื่อเวลาผ่านไปเราจะมีจำนวนหุ้นมากขึ้นทำให้ปันผลที่ได้ในแต่ละรอบเพิ่มขึ้นตามด้วย การลงทุนแบบนี้เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่มีเวลาเฝ้าจอ เช็คข่าว เช็คกราฟ ทุกวัน โดยที่ในระยะยาวแล้วการลงทุนโดยวิธีนี้จะมีผลกำไรเป็นที่พอใจอย่างแน่นอน
4. ตรวจสอบงบการเงินรายไตรมาสที่ประกาศ ทุก 3 เดือนอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่ต้องทำก็คือลองดูว่าหุ้นที่เราซื้อไป ผลประกอบการณ์เป็นไปตามคาดหรือไม่ ถ้าเป็นไปตามที่เราคาดไว้ก็ DCA ต่อได้ แต่ถ้าแย่กว่าก็ต้องดูว่าเป็นเพราะผลกระทบระยะสั้นหรือระยะยาว ถ้าระยะสั้นไม่จำเป็นต้องทำอะไร แต่ถ้าระยะยาว เราจำเป็นต้องเปลี่ยนหุ้นที่เรา DCA การเปรียบเทียบให้เทียบกับงบไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว อย่าเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เพราะแทบทุกธุรกิจมีฤดูที่ขายดีขายไม่ดี
5. เน้น DCA การลงทุนระยะยาว การออมเงิน DCA ไว้ในหุ้น ทางที่ดีที่สุด ควรจะเป็นเงินเย็นๆ ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนใช้เงินภายในไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปี เพราะจะทำให้การออม DCA ไม่ทันได้งอกเงยเห็นผลสักก่อน ดังนั้นเน้นการลงทุนที่วางแผนไว้อย่างน้อย 5 - 7 ปี เนื่องจากการลงทุนยิ่งเพิ่มระยะยาวเวลานาน ความเสี่ยงจะยิ่งลดลง และมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่เพิ่มสูงขึ้นได้ด้วยเช่นกัน ถ้าใครยังเป็นมือใหม่ สามารถเลือกลงทุนได้ทั้งใน กองทุนรวม, LTF-RMF แต่หากใครคาดหวังผลตอบที่สูงขึ้นสามารถเลือกหุ้นเก็บไว้ในพอร์ตได้ตามสไตล์การลงทุนของแต่ละคน
- Yoo & Freedom VI -
อ้างอิง : หนังสือ ออมหุ้น ออมความสุข , www.moneybuffalo.in.th, SET