#แนวคิดด้านการลงทุน

กลยุทธ์การเทรดที่ดี วัดกันที่ตรงไหน ? (ตอนที่ 2)

โดย ผศ.ดร. ศุภวัฒน์  สุภัควงศ์
เผยแพร่:
511 views

(ต่อจากตอนที่แล้ว)

 

สองสิ่งที่มาด้วยกันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในรูปแบบไหน คือ อัตราผลตอบแทน กับ ความเสี่ยง คนที่ทำอะไรโดยจ้องมองแต่ผลตอบแทนที่สูง มักมีโอกาสล้มสูง ในขณะที่คนที่มัวแต่กังวลเรื่องความเสี่ยง เงินเก็บสะสมก็ไม่มีวันจะเติบโต ซ้ำร้าย อาจจะถูกกลืนกินด้วยอัตราเงินเฟ้อที่โหดร้าย

   

ในบทความที่แล้ว เราพูดถึงการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ผ่านกระบวนการทางสถิติ โดยพิจารณาในส่วนของอัตราผลตอบแทนเป็นหลัก  ในบทความนี้ ขอพูดในส่วนของความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง

 

ขอให้ท่านลองพิจารณากราฟในภาพข้างล่างนี้ ซึ่งเรียกว่า Equity Curve แสดงถึง การเติบโตของเงินลงทุนของท่านตั้งแต่เริ่มลงทุนมาจนถึงปัจจุบัน 

 

 

 

Equity curve ถือเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการศึกษาประสิทธิภาพของกลยุทธ์ อาทิ เช่น วิเคราะห์อัตราการเติบโตของเงินในพอร์ตว่าเป็นอย่างไร  การเติบโตเป็นแบบสม่ำเสมอมั้ย รวมถึง เรายังสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยง ในรูปของ Maximum Drawdown จาก equity curve ได้ด้วยเช่นกัน

 

มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า drawdown คืออะไร ?

 

พอเราเริ่มลงทุน ซื้อขายได้ผลกำไร เงินในพอร์ตของเราก็โตขึ้นเรื่อยๆ (สมมุติว่าโตขึ้นจนจำนวนเงินเท่ากับ X บาท) เมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง อาจเริ่มมีการซื้อขายที่ขาดทุนเข้ามา ทำให้เงินในพอร์ตเราลดลง  ส่วนต่างระหว่างเงินในพอร์ต ณ ปัจจุบัน เทียบกับเงินที่เคยสูงสุดตั้งแต่ซื้อขายมา เรียกว่า drawdown 

 

แล้ว Maximum Drawdown ล่ะ คืออะไร ?

 

Maximum Drawdown คือ drawdown ที่ติดลบมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา แสดงถึงช่วงเวลาเลวร้ายที่สุดของการเทรดด้วยระบบนั้นๆ ดังแสดงในภาพด้านล่าง ถือเป็นค่าทางสถิติที่นิยมใช้ในการตรวจสอบความเสี่ยงของระบบ

 

 

จากตัวอย่างในบทความที่แล้ว เราพูดถึงกลยุทธ์ที่จุดซื้อและจุดขายพิจารณาจากการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ยสองเส้น คือ EMA 5 วัน และ EMA 20 วัน พบว่า maximum drawdown อยู่ที่ -32%  (ดังแสดงในรูป)

 

หมายความว่าอะไรครับ???  

 

หากคุณเลือกเทรดด้วยระบบนี้ ขอให้ทำใจว่า อาจมีช่วงใดช่วงหนึ่งในอนาคต ที่เงินในพอร์ตของคุณจะลดจากปริมาณสูงสุดที่เคยมีมา ลงไป 32% หรือมากกว่า

 

คำถามคือ คุณจะรับได้กับการทนนั่งมองเงินลดลงไปกว่า 30% ได้มั้ยครับ?? หากไม่ได้ ก็คงต้องลองมองหากลยุทธ์อื่นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า

 

(ในการเทรดจริง แนะนำให้ maximum drawdown อยู่ไม่เกิน 20% ครับ น่าจะเหมาะสมกับการซื้อขายมากกว่า)

 

แล้วคุณล่ะครับ เคยวัดประสิทธิภาพของกลยุทธ์ที่คุณใช้เทรดแล้วหรือยัง ?  ไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติชั้นสูงหรอกครับ เพียงแค่คุณจดบันทึกการซื้อขายของคุณแต่ละครั้ง monitor ระบบอย่างสม่ำเสมอ  แล้วสรุปลงโปรแกรมอย่าง Excel ก็ถือว่าเกินพอแล้วครับ  ได้ equity ของระบบนั้นๆ ขึ้นมา ก็หา maximum drawdown ได้

 

อย่าลืมนะครับ การลงทุนมีความเสี่ยง เฉพาะคนที่พร้อมกว่า พยายามมากกว่า และมีวินัยสูงกว่า จึงจะเป็นผู้ชนะในเกม

 

โชคดีในการเทรดครับ

อาจารย์ Nine

 

บทความโดย ผศ. ดร.ศุภวัฒน์  สุภัควงศ์ (อาจารย์ Nine) 

.

 

กองทุนส่วนบุคคล Blue-Marlin Waldo (BMW) 

กองทุนโรบอท A.I. งานวิจัยของ Think Algo  

------------------------------------------------------
สอบถามข้อมูลการลงทุนรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ :
โทร : 02-017-7411
Email : [email protected] 
Line@ : https://line.me/R/ti/p/%40dzc4379v


ผศ. ดร.ศุภวัฒน์  สุภัควงศ์ (อาจารย์ Nine) - อดีตนักเรียนทุนรัฐบาล ศึกษาระดับปริญญาตรี-โท ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอกที่ Imperial College London ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  อาจารย์เน้นงานวิจัยด้านการประมวลผลสัญญาณ time-series ประเภทต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ การศึกษาพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์  มีความสนใจและเป็นนักพัฒนา algorithms ต่างๆ ในแนวทางการลงทุนแบบ algorithmic and systematic trading

Facebook

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง