เจาะโมเดลธุรกิจ KBANK 4.0 จุดพลิกธุรกิจด้วย Big Data กับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล และดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในรายการ Business Model สรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกัน
ลักษณะธุรกิจ
ธนาคารกสิกรไทยประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องตามที่ได้รับอนุญาตไว้ในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินฯ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ และประกาศที่เกี่ยวข้อง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 ธนาคารมีเครือข่ายสาขาทั่วประเทศ จำนวน 1,107 สาขา ให้บริการแก่ลูกค้าของธนาคารและประชาชนทั่วไป มีเครื่อง ATM ทั่วประเทศ จำนวน 8,973 เครื่อง และเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ จำนวน 2,710 เครื่อง
นอกจากนี้ ธนาคารยังมีเครือข่ายการให้บริการในต่างประเทศ โดยมีธนาคารพาณิชย์ท้องถิ่นจดทะเบียน 1 แห่ง สาขาและสาขาย่อย 6 แห่ง และสำนักงานผู้แทน 9 แห่ง มีศูนย์กลางการดำเนินงานและให้บริการที่สำนักงานใหญ่
ส่วนที ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- KBANK มีรายได้จากดอกเบี้ย 58% จากค่าธรรมเนียม 28%
- 32% มาจากธุรกิจขนาดใหญ่ Corporate Loan ประมาณ 41% มาจาก SME และอีก 27% เป็นของสินเชื่อรายย่อย
- สินเชื่อรายย่อยจะเป็นพวกสินเชื่อบ้าน รถ หรือสินเชื่อ personal loan
- ที่ผ่านมา KBANK โตจากธุรกิจขนาดใหญ่ 2% จาก SME ประมาณ 8% และสินเชื่อรายย่อยประมาณ 5-6%
- KBANK กำลังเปลี่ยนไปธุรกิจไปยัง digital platform นั้นคือเกี่ยวกับรายย่อยและ SME ที่มีการเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี
- การเติบโตของสินเชื่อจะเกี่ยวกับภาคเศรษฐกิจของไทย ดังนั้นต้องวิเคราะห์ภาพใหญ่ของเศรษฐกิจไทยให้ได้
- Net Interest Margin (NIM) ของ KBANK ดีมากประมาณ 3.07% ติดอันดับต้นๆของประเทศ
- การวิเคราะห์แบงค์ ต้องมองว่ากลยุทธ์ของแบงค์เน้นไปที่สินเชื่อของกลุ่มใด อย่างของ KBANK จะเน้นที่ SME
- การที่ KBANK เน้นไปที่ Big Data จะทำให้เข้าใจพฤติกรรมความต้องการใช้เงินของรายย่อย และ SME ซึ่งถือว่าตอบโจทย์ธุรกิจในอนาคตด้วย
- การวิเคราะห์แบงค์ต้องใช้ P/BV กับ ROE อย่างปัจจุบัน KBANK อยู่ประมาณ 13% นั้นสามารถ KBANK สามารถเทรดมากกว่ามูลค่าทางบัญชีประมาณ 1.2-1.3 เท่าได้ไม่ใช่เรื่องแปลก
- ราคานี้ของ KBANK ค่อนข้าง fair price
ส่วนที ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- KBANK ถูกจัดในแบงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกลยุทธ์ก็เหมือนๆกัน คล้ายๆกัน รับเงินจากรายย่อยแล้วนำไปปล่อยต่อ นำไปบริหารต่อกินส่วนต่าง แล้วก็อีกอย่างคือค่าธรรมเนียม
- แบงค์เล็กความแตกต่างจะมี แต่ถ้าแบงค์ใหญ่ด้วยกันจะมีความแตกต่างกันน้อยมาก
- ฐานลูกค้าของแบงค์เป็นเรื่องสำคัญ ยิ่งมีฐานลูกค้าเยอะ ยิ่งได้เปรียบ เช่น ถ้าบริษัทหนึ่งจ่ายเงินเดือนผ่าน KBANK ทำให้ลูกจ้างที่รับเงินผ่าน KBANK จะต้องเปิดบัตร ATM เพิ่ม บัตรนู้นบัตรนี้เพิ่มความสะดวกสบาย แบงค์ก็ได้รับค่าธรรมเนียมมากขึ้น
- อย่าง KTB เป็นแบงค์ของภาครัฐ ก็ได้ฐานจากราชการ ได้การปล่อยกู้จากภาครัฐ ตรงนี้ก็เป็นข้อได้เปรียบ
- ถ้าให้ผมมอง KBANK ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกับแบงค์อื่นๆมากนัก การแข่งขันในธุรกิจธนาคารค่อนข้างสมบูรณ์ แบงค์ผมมีผลิตภัณฑ์นี้ แบงค์นั้นก็มีเหมือนกัน มันเลยเป็นเรื่องของความสะดวกสบายของผู้ใช้ ผู้ใช้สะดวกที่ไหนก็ไปเปิดที่นั้น
- 2-3 ปี ที่ผ่านมา ภาคธนาคารค่อนข้าง stable คือไม่โต เพราะเศรษฐกิจไทยไม่โตเลยเท่าที่ผ่านมา
- แต่ข้อดีของธนาคาร คือ เป็นธุรกิจที่อยู่เฉยๆก็ได้เงิน เพราะมันวิ่งดอกเบี้ยตลอดเป็นนาที เป็นชั่วโมง มันไม่เหมือนธุรกิจอื่น ที่ทำมากๆแล้วจะได้เงินเยอะขึ้น ผลิตมากเราก็ได้เงินมาก แต่ของแบงค์นี้ไม่ใช่นะ ยิ่งทำมากแต่กลับได้เงินเท่าเดิม ลูกค้าอาจจะสะดวกสบายขึ้น แต่มันไม่ได้เพิ่มกำไร
- ธุรกิจแบงค์เป็นธุรกิจที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน เพราะเขากู้เงินเยอะกว่าส่วน Equity ถ้ามันเกิดวิกฤตอะไรนี้จะไปก่อนเลย โอกาสเจ๊งสูงกว่าภาคธุรกิจอื่น แต่เสี่ยงสูงก็ผลตอบแทนเยอะ ธุรกิจแบงค์เป็นธุรกิจที่มีมาร์จิ้นดี
- ตอนนี้ปันผลของกลุ่มแบงค์ค่อนข้างน้อย
- กลุ่มแบงค์แข็งแกร่ง ไม่ล้มง่ายๆเหมือนต่างประเทศเพราะผู้บริหารค่อนข้างอนุรักษ์นิยม ไม่ล้มง่ายๆ
- การเข้ามาของ Fin Tech จะไม่ทำให้กำไรแบงค์หาย หรือแบงค์ล้ม แต่ผมมองว่าจะเป็นการเสริมให้กำไรของแบงค์ดีขึ้น มีค่าธรรมเนียมมากขึ้น
- จริงๆกลุ่มแบงค์ก็ลงทุนได้ ราคานี้ก็ไม่ได้แพง
- เหตุผลที่ควรลงทุนแบงค์ คือ คนฝากเงินกับผู้ถือหุ้นแบงค์มีความเสี่ยงไม่ต่างกัน ถ้าแบงค์เจ๊ง ผู้ถือหุ้นก็เสียหาย ผู้ฝากเงินก็ได้ชดเชยน้อย ก็เงินหายเหมือกนัน ไม่ต่างกันเลย ดังนั้นลงทุนหุ้นแบงค์ดีกว่า
--------------------------------------------------
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการ Business Model รายการ Money Channel : KBANK 4.0 จุดพลิกธุรกิจด้วย Big Data