กำลังจะเข้าช่วงสิ้นปี 2560 เวลาผ่านไปเร็วเหลือเกิน ปีเก่ากำลังจะผ่านพ้นไปอีก ปีใหม่กำลังจะเข้ามา พร้อมกับภาวะของตลาดหุ้นไทย ที่ได้มาถึงจุดวัดใจครั้งสำคัญอีกครั้ง สำหรับดัชนี SET ไต่ระดับมาอยู่ที่เหนือ 1,700 จุด อีกครั้ง ช่วงปลายปีแบบนี้ คำถามสำคัญที่มักจะได้ยินกันบ่อยๆ ซื้อ LTF กันหรือยัง ? ใครที่ยังไม่ได้ซื้อ LTF คงรอหาจังหวะลงทุนกันอยู่ แล้วมีกองไหนติดอันดับน่าสนใจบ้าง ?
ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ พนักงานประจำ คงกำลังรอลุ้นรับโบนัสกันอยู่ หรือเจ้าของธุรกิจที่สรุปยอดรายได้ และกำไรสุทธิของปีนี้กัน จึงต้องเริ่มต้นวางแผนการเงินกันตั้งแต่สิ้นปีนี้ก้าวข้ามไปสู่ปีหน้ากันต่อไป
แล้วนำเงินก้อนหนึ่งนี้ไปออมไปลงทุนต่อยอดให้งอกเงยกันอย่างไร?
การออมเงินมีหลายรูปแบบ ขอทบทวนจากเลขชั้นประถม กันหน่อย
จากสมการ รายได้ – รายจ่าย = เงินออม แต่ว่าเพียงแค่เราสลับตัวแปรใหม่ รายได้ – เงินออม = รายจ่าย แม้ว่าตัวแปรตัวเดียวกัน แต่กลับให้ความหมายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ เราให้ความสำคัญกับเงินออมก่อนที่จะนำไปใช้จ่าย
แล้วจะออมเงินเท่าไหร่ แล้วนำเงินออมไปทำอะไรดีล่ะ?
สำหรับสัดส่วนการออมเงินคงบอกเป็นตัวเลขกลมๆ ไม่ได้ เพราะฐานเงินเดือนหรือรายได้ของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป แต่ให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ ออมเงินอย่างน้อย 10 - 20% ของรายได้ในแต่ละเดือน แล้วนำเงินส่วนนี้นำไปทำอะไรต่อ?
อีกหนึ่งวิธียอดฮิตของการออมเงินในช่วงสิ้นปีนี้ นอกจากจะได้ผลตอบแทนที่งอกเงย คือ การนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวม หรือ LTF, RMF นอกจากจะเป็นการลงทุนแล้วยังสามารถลดหย่อนภาษีได้ด้วย ที่นิยมซื้อในช่วงปลายปี เนื่องจากการถือ LTF จะต้องถือประมาณ 5 ปี หรือ 7 ปีปฏิทิน หากซื้อช่วงปลายปี 2560 และขายช่วงต้นปี 2566 นั้นเอง
กองทุนเลือกแบบไหนดีล่ะ มีตั้งหลากหลายกองทุน หลายสถาบันที่ขาย เป็นร้อยเป็นพันกองทุนให้เลือกเลย ตัวไหนดีกว่ากัน?
เราจึงนำ 4 ขั้นตอน สิ่งที่เราต้องพิจารณาเลือกกองทุน มีดังต่อไปนี้
1. ความสม่ำเสมอของอัตราผลตอบแทน (Return) สิ่งแรกๆ ที่นักลงทุนคาดหวังก็คือ ผลตอบแทน เราต้องค้นหากองทุนที่มีผลตอบแทนในระยะยาว อย่างน้อยๆ 5-10 ปี แล้วดูว่าอดีตที่ผ่านมาผลตอบแทนผันผวนมากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่ว่าบางปีผลตอบแทนสูงมาก บางปีต่ำมาก แบบนี้สวิงเกินไป ก็ไม่น่าลงทุนนัก
2. ขนาดกองทุน (Fund Size) หรือก็คือมูลค่าของสินทรัพย์ที่ผู้จัดการกองทุนบริหารอยู่ หากกองทุนเล็กจนเกินไป เช่น มูลค่าไม่กี่ร้อยล้านบาท ถือว่ากองทุนนั้นจะมีต้นทุนเฉลี่ยที่สูง เพราะค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายก็พอๆ กันหมด หรือว่ากองทุนมีขนาดใหญ่มากเกินไป เช่น มูลค่ามากกว่า 50,000 ล้านบาท ก็มีอุปสรรคในการเลือกหลักทรัพย์ที่มีคุณภาพได้ หากมีเงินเหลืออยู่อาจจะได้หลักทรัพย์คุณภาพไม่ดีหรือหุ้นไม่มีสภาพคล่องปะปนเข้ามาด้วย ฉะนั้นเลือกกองทุนที่มีขนาดที่เหมาะสม
3. เปรียบเทียบข้อมูลด้านความเสี่ยง (Risk) นอกจากผลตอบแทนที่นักลงทุนต้องดูแล้วยังมีด้านความเสี่ยงของการลงทุนด้วยเช่นกัน
กองทุนรวมมีหลากกลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหุ้น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม แต่ละกองก็มีความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป เครื่องมือวัดความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น
ค่าเบต้า (Beta) เป็นตัวที่บอกว่ากองทุนนั้นๆ มีลักษณะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้น SET หรือไม่ ไปมากกว่าหรือน้อยกว่าแค่ไหน
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ SD : (Standard Deviation) บอกถึงความผันผวนของกองทุนได้ ยิ่ง SD สูง แสดงว่ากองทุนมีความผันผวนสูงเช่นกัน
ค่าชาร์ป เรโช (Sharpe Ratio) เป็นอัตราส่วนผลตอบแทนต่อหนึ่งหน่วยความเสี่ยง ยิ่งกองทุนไหนมีค่า Sharpe สูงกว่าแสดงว่าบริหารกองทุนได้มีประสิทธิภาพกว่า ดังนั้นหากกองทุนไหนมีนโยบายใกล้เคียงกัน ก็ให้เลือกกองทุนจากค่า Sharpe
4. ความสามารถของผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) เนื่องจากว่าเป็นผู้บริหารเงินกองทุนของเรา จึงต้องรู้จักทั้งประวัติ ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ จรรยาบรรณของผู้จัดการ
ทั้งหมดนี้เป็นหลักเกณฑ์ง่าย ๆ สำหรับเลือกออมเงินได้ ลองมาดู Top 10 ของกองทุน LTF
TOP 10 กองทุน LTF ย้อนหลัง 5 ปี (%ต่อปี)
(ผลตอบแทนกองทุน LTF ย้อนหลังประจำเดือนกันยายน 2560 จาก morningstarthailand )
TOP 10 กองทุน LTF ย้อนหลัง 1 ปี (%ต่อปี)
(ผลตอบแทนกองทุน LTF ย้อนหลังประจำเดือนกันยายน 2560 จาก morningstarthailand)
จากสถิติข้อมูลกองทุน LTF ที่ได้รับการจัดอันดับเข้ามา ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 10 - 20 % ต่อปี กันเลยทีเดียว ถือว่าเป็นการนำเงินออมก้อนนี้ไปลงทุนคุ้มค่า ให้งอกเงย และลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
-----------------------------------------------
เขียนสรุปโดย : Freedom VI
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : morningstarthailand, หนังสืออยากรวย ผมช่วยคุณได้ เขียนโดยคุณมงคล ลุสัมฤทธิ์, FChFP
"ฉันจะมีบ้านให้ได้..ภายใน1ปี"
คอร์ส สอนฟรี จากประสบการณ์ตรง :