#แนวคิดด้านการลงทุน

แนวคิดด้านการลงทุน - เปิดพอร์ตหุ้น แอนน์ ไชเบอร์

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
574 views

อ่านตอนที่ 1 ได้ที่ : เปิดประวัติแอนน์ ไชเบอร์ คนที่ ดร.นิเวศน์ ยังกล่าวถึง

 

แอนน์ ไชเบอร์ มีชีวิตที่เรียบง่ายในหอพักเก่าๆของเธอ ท่ามกลางภาพเขียนเก่าๆราคาถูก เฟอร์นิเจอร์ที่เต็มไปด้วยฝุ่น และชั้นวางหนังสือที่เต็มไปด้วยหนังสือหายากจำนวนมาก

 

เบน คลาร์ก เพื่อนสนิทของป้าแอนน์ที่เป็นทนายความ กล่าวไว้ว่าเธอเป็นบุคคลที่แปลกที่สุดเท่าที่ผมเคยพบมา เธอไม่มีคนรักและไม่ค่อยจะออกไปข้างนอกในเวลาทำงาน เว้นแต่ว่าเธอจะไปบริษัทหลักทรัพย์เพื่อซื้อหุ้น

 

"ผมไม่ได้สนใจตลาดหุ้นมากนัก แต่เนื่องด้วยอาชีพทนายความก็ต้องติดตามข่าวสารตามหน้าหนังสือพิมพ์ ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเห็นพาดหัวข่าวว่า ตลาดหุ้นลงหนักหรือฟองสบู่ตลาดหุ้น เมื่อผมอ่านข่าวแล้วก็ทำให้นึกถึงเพื่อนของผม แอนน์ ไชเบอร์" เบน คลาร์ก กล่าว
ผมเจอเธอตอนที่ตลาดหุ้นลงหนัก ผมถามเธอว่าเธอทำอะไรกับพอร์ตหุ้นของเธอ ? เธอกลับทำหน้านิ่งๆและตอบผมว่า "ไม่ได้ทำอะไรกับมันเลย เมื่อเงินเดือนออก ฉันจะไปซื้อเพิ่ม" คำตอบของเธอมันช่างดูแปลกจริงๆ แปลกตรงที่ว่า ทุกคนอยากจะขายหุ้น ในขณะที่เธอกลับมีความคิดอยากจะซื้อหุ้น เธอน่าจะเป็นนักสวนกระแสคนหนึ่ง

 


พอร์ตหุ้นของป้าแอนน์ ที่ประกอบไปด้วยหุ้นธุรกิจคุณภาพ
ที่มาภาพ : Merrill Lynch, Benjamin Clark

 

เธอลงทุนมาตลอด 50 ปี ด้วยเงินเริ่มต้นเพียงแค่ 5 พันเหรียญสหรัฐ ซึ่งหุ้นในพอร์ตของเธอประกอบไปด้วยหุ้นชั้นเยี่ยมคุณภาพดี เช่น Coca-Cola - บริษัททำน้ำอัดลมโค๊ก , Paramount - ผลิตภาพยนต์ชั้นแนวหน้าในอเมริกา, Schering-Plough - บริษัทผลิตยา , Exxon - บริษัททำน้ำมัน ,  PepsiCo - บริษัททำน้ำอัดลมเป๊ปซี่ และยังมีหุ้นอีกจำนวนมาก ตอนที่เธอเสียชีวิตด้วยอายุ 101 ปี เธอทำเงินได้มากกว่า 22 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

การอยู่อย่างประหยัด และไร้ชื่อเสียงในเมืองที่เต็มไปด้วยแสงสี เป็นเรื่องที่ยากมาก แต่เธอก็ฝึกตนเองไม่ให้ใช้จ่ายเกินตัวหรือซื้อในสิ่งของที่ไม่จำเป็น หลังจากที่เธอจากไปด้วยเงิน 22 ล้านเหรียญ เธอใช้ไปกับการบริจาคให้มหาวิทยาลัย Yeshiva University ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เธอไม่เคยเข้าไปเรียน เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่เธอไม่เคยพบ

 

เพื่อนของเธอส่วนใหญ่มักจะเป็นทนายความและเพื่อนที่โบรคเกอร์ แสดงความเห็นว่าเธอมีจิตใจที่ดีงามและชอบช่วยเหลือชาวยิวที่ถูกรังแกมากมาย ถึงแม้เธอจะเป็นคนที่ประหยัดมัธยัสถ์ แต่ถ้าเป็นเรื่องช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันแล้วละก็ ถึงไหนถึงกันเลยละ!

 
กับอีกเรื่องหนึ่งที่เธอทุ่มสุดตัวนั้นคือการซื้อหุ้น เธอเป็นคนที่ไม่ได้มีวิธีหรือเคล็ดลับมากมาย แต่เธอก็เลือกมันอย่างมีวิสัยทัศน์ ที่สำคัญคือ เธอไม่ใช่คนมองอะไรสั้นๆ การถือมันไปตลอดคือสิ่งที่ดีที่สุด ....

 

วิลเลี่ยม เฟย์ เพื่อนของป้าแอนน์ที่ทำงานอยู่ใน Merrill Lynch กล่าวว่า "หลักการลงทุนของป้าแอนน์ คือ ลืมเรื่องตลาดไปซะ ไม่รู้อะไรคือจุดสูงสุด อะไรคือจุดต่ำสุด เธอไม่เคยมองมันเลยไม่ว่าจะเป็นภาพรายวัน รายเดือน หรือรายปี เธอเอาปันผลที่ได้รับไปซื้อหุ้นเพิ่มอีกด้วยซ้ำ ถือมันให้นาน ขายให้มันน้อยหน่อย"

 

"เธอไม่เคยมองกำไรที่เกิดขึ้นในระยะสั้นเลย แน่นอนว่าถ้าเธอเป็นพวกชอบขายทำกำไรระยะสั้นแล้วละก็ เธอคงไม่มีวันนี้อย่างแน่นอน ... ถ้าคุณคิดว่าวอเร็น บัฟเฟตต์ คือนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จแล้วละก็ การยกตัวอย่างของป้าแอนน์ คือส่วนเติมเต็มที่ทำให้หลักการลงทุนของวอเร็น บัฟเฟตต์ มีความสมเหตุสมผลมากขึ้น"

 

 

หลักการลงทุนของแอนน์ที่มีการพูดถึงกันหลังจากที่เธอเสียชีวิตไปแล้วสรุป ได้ดังต่อไปนี้..

( จากตอนที่ 1  : เปิดประวัติแอนน์ ไชเบอร์ คนที่ ดร.นิเวศน์ ยังกล่าวถึง )

 

1. ลงทุนในบริษัทที่ผลิตสินค้าที่มียี่ห้อ “ดัง” และเป็นสินค้าที่เธอรู้จักดีและมีโอกาสได้ใช้ตลอดเช่น ยาและอาหาร บริษัทที่เธอถือหุ้นจำนวนมากประกอบไปด้วยหุ้นของ บริษัทยาเช่น เชอริงก์ พลาว หุ้น โค๊กและเป๊ปซี่ เป็นต้น นอกจากนั้น ค่าที่เธอชอบดูหนังและทีวี เธอจึงลงทุนในหุ้นอย่างโคลัมเบียพิคเจอร์ พาราเม้าท์ และ แคปปิตอลซิตี้ที่เป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น

 

2. แอนน์ชอบบริษัทที่มีผลประกอบการหรือกำไรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี โดยไม่ค่อยสนใจเรื่องของความถูกความแพงมากนัก นั่นคือ ไม่ค่อยดูค่า PE เธอบอกว่าบางช่วงหุ้นถูก บางช่วงหุ้นก็แพง ดูยาก แต่ถ้ากำไรของบริษัทโตขึ้นไปเรื่อย ๆ ในที่สุดราคาหุ้นก็จะขึ้นตามไป ดังนั้น ไม่ต้องห่วงว่าจะซื้อถูกหรือแพงถ้าเราถือลงทุนระยะยาว

 

3. ต่อจากข้อสองที่ทำให้เธอไม่ห่วงเรื่องหุ้นแพงหรือถูกก็คือ ธอจะสะสมหุ้นดีตามข้อหนึ่งไปเรื่อย ๆ ทีละน้อย นั่นคือ เมื่อได้รับปันผลเข้ามาก็จะนำเงินกลับเข้าไปลงทุนในหุ้นอีก ดังนั้น ในบางคราวที่หุ้นตก เธอก็จะซื้อได้ถูกลง เฉลี่ยราคาลงมา หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ การทำคล้าย ๆ กับวิธีที่เรียกว่า Dollar Cost Average หรือซื้อไปเรื่อย ๆ ทุกเดือนหรือทุกงวดที่ได้เงินมา ดังนั้น ราคาต้นทุนเฉลี่ยของหุ้นเหล่านั้นก็จะไม่สูงหรือไม่ต่ำแต่เป็นหุ้นของกิจการที่ดีเยี่ยม

 

4. กลยุทธ์สำคัญอย่างหนึ่งของแอนน์ก็คือ “ซื้อแล้วเก็บ” โดยเฉพาะในหุ้นที่เธอเชื่อมั่นว่ามันเป็นกิจการที่ดีเยี่ยม แม้ในยามที่ตลาดหุ้นตกลงมาอย่างหนักหรือตัวหุ้นตกลงมา บางที 50% เธอก็ไม่ขาย ความ “ศรัทธา” ของเธอนั้นแรงกล้า เธอคิดว่าถ้ากิจการมันดี ราคาหุ้นก็ต้องกลับมา และถ้าดูจากหุ้นที่เธอถือ ก็น่าจะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่ามันก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ

 

 

5. “ทำการบ้าน” นี่คือสิ่งที่แอนน์ทำมาตลอด เธอจะไปประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้งที่ทำได้โดยเฉพาะที่จัดในเมืองนิวยอร์ค เธอจะศึกษาข้อมูลและไปซักถามผู้บริหารอย่างลึกซึ้งแล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลของนักวิเคราะห์และความเห็นของตนเอง แอนน์เองเคยเป็นผู้ตรวจสอบด้านภาษีของบริษัทต่าง ๆ ดังนั้น เธอจึงรู้เรื่องเหล่านี้ดี

 

6. เนื่องจากอัตราภาษีโดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นสูงมาก แอนน์จะพยายามหลีกเลี่ยงให้ต้องจ่ายน้อยที่สุด เช่น เธอจะขายหุ้นน้อยมากเนื่องจากการขายหุ้นจะเสียภาษีกำไรจากการขายหุ้น นอกจากนั้น ในวันที่เธอตายยังพบว่าเธอถือพันธบัตรถึง 30% ของพอร์ต เนื่องจากประเด็นเรื่องภาษีที่จ่ายน้อยกว่าการถือหุ้นทั้งหมด และนี่ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่แอนน์ใช้ประโยชน์จากความรู้ด้านภาษีของตนเองในการลงทุน

 

7. กลยุทธ์การสร้างความมั่งคั่งของแอนน์ที่สำคัญสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ การประหยัด ใช้จ่ายเงินเพื่อการบริโภคน้อยมาก บ่อยครั้งเธอเดินแทนที่จะใช้รถสาธารณะ ไม่ซื้อเสื้อผ้าใหม่เลย เสื้อโค้ทและหมวกสีดำของเธอกลายเป็นสัญลักษณ์ “ประจำตัว” กินอาหาร “ฟรี” ทุกครั้งที่มีโอกาส อยู่ในอพาร์ทเม้นต์ห้องเดียวและตัวคนเดียว เธอแทบไม่มีเพื่อนเลย คนเล่าว่าใน 5 ปีสุดท้ายของชีวิตนั้น เธอไม่เคยได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนแม้แต่ครั้งเดียวและนี่ก็อาจจะเป็น “ต้นทุน” ของความประหยัด หรืออาจจะเป็นสิ่งที่เธอเลือกก็สุดจะเดา แต่คนบอกว่าเธอมีชีวิตที่ “น่าสังเวช” วันที่ยิ่งใหญ่มีความสุขของเธอก็คือวันที่เธอเดินไปเปิดตู้นิรภัยที่เมอริล ลินช์ ใกล้ ๆ ตลาดหุ้นนิวยอร์คเพื่อที่จะดูใบหุ้น ซึ่งเธอก็ทำอยู่บ่อย ๆ

 

ผมเองไม่อยากที่จะตัดสินว่าเธอเป็นคนที่น่าอนาถ ผมคิดว่าเธอมีความคิดของเธอเอง และเธอก็คงไม่ได้มีความทุกข์หรือความเศร้าหมองอะไรนักมิฉะนั้นคงไม่อยู่ถึง 100 ปีในยุคที่คนส่วนใหญ่อยู่กันแค่ 60-70 ปีก็ถือว่าใช้ได้แล้ว ในส่วนของวิธีการลงทุนของแอนน์เองนั้น ผมคิดว่ามันยังน่าจะดีเยี่ยมและไม่ล้าสมัยและน่าจะเหมาะกับนักลงทุนรายย่อยจำนวนมากของบ้านเรา โดยเฉพาะที่กำลังเป็น “ป้า” และไม่เคยแต่งงานแบบ “ป้าแอนน์”

 

---------------------------------
แปลโดย SiTh LoRd PaCk
ขอบคุณเนื้อหา Wikipidia, News York Times.com และ ThaiVI


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง