#มือใหม่เริ่มลงทุน

แกะ Blueprint กองทุนโรบอท (ตอนที่ 1)

โดย Think Algo
เผยแพร่:
228 views

 

“โรบอท” ไม่ใช่ผู้เล่นใหม่ในตลาด แต่เป็นเทคโนโลยีที่กลุ่มนักลงทุนไม่ว่าจะเป็น กองทุน โบรกเกอร์ ต่างชาติ หรือรายย่อย สามารถหยิบนำมาใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น

 

วันนี้ Think Algo จะพามาแกะ blueprint ดูแนวทางการวางโครงสร้างของ “โรบอทระดับกองทุน” ว่าจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร โดยขอนำแนวคิดของ Blue-Marlin Waldo (BMW) กองทุนโรบอทผลผลิตจากงานวิจัยของ Think Algo มาใช้เป็น case study ครับ

 

 

ชื่อ Blue-Marlin Waldo กับ การกำหนดขนาดกองทุน


จากบทความที่แล้ว เราได้เปรียบเทียบจุดเด่น จุดด้อย และข้อจำกัดของโรบอท “รายย่อย” กับ “กองทุน” สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาเลย ก็คือ ขนาดของกองทุนนั้นๆ ว่าต้องการบริหารเงินมากน้อยขนาดไหน

 

คิดง่ายๆ การบริหารพอร์ตเงิน 10 ล้าน กับ 1,000 ล้าน คุณคิดว่ามีความแตกต่างกันมั้ย ?  ใช่ครับ ขนาดของเงิน มีผลต่อความคล่องตัวในการสร้างผลตอบแทน และรวมถึง ความซับซ้อนของโครงสร้างระบบ

 

ด้วยผลิตภัณฑ์ของ Think Algo มีความหลากหลาย จัดการตั้งแต่โรบอทตัวเล็กๆ ถึงตัวใหญ่ๆ บิ๊กเบิ้ม ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องทำการแบ่ง class ของกองทุนต่างๆ ตามขนาด โดยใช้ชื่อนี่แหละ!!!

 

 

ยกตัวอย่าง เช่น Blue-Marlin แสดงถึง class ของกองทุนที่รับเงินได้สูงสุดประมาณ 5,000 ล้านบาท ในขณะที่พี่ใหญ่ Blue Whale เป็นประเภทกองทุนที่ดีไซน์มาให้ดูแลเงินระดับหมื่นล้านขึ้นไป ส่วน Waldo เป็นชื่อเรียกย่อยของโรบอทตัวนี้ ซึ่งอยู่ในกลุ่มของ Blue-Marlin จึงรวมกันได้เป็น Blue-Marlin Waldo หรือเรียกสั้นๆ ว่า BMW

 

“ชื่อ” ดูเผินๆ อาจคิดว่าไม่สำคัญ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว เป็นสิ่งจำเป็นเลยล่ะครับ เพราะอย่างที่บอกไป เมื่อขนาดของเงินต่างกัน กลยุทธ์การซื้อขายก็ต่าง ลักษณะการยิงคำสั่งก็ต่าง แต่เมื่อทีมวิจัยเข้าใจแล้วว่า เงินที่พูดถึงมีขนาดมากน้อยขนาดไหน การวางโครงสร้างระบบและเป้าหมายก็ทำได้แม่นยำมากขึ้น

 

กลยุทธ์ต้องหลากหลาย


สมมุติว่า เรามีเงิน 1 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 10 กองๆ ละ หนึ่งแสนบาท การมีโรบอทเพียงหนึ่งกลยุทธ์ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ซื้อขายตามการตัดขึ้นลงของเส้นค่าเฉลี่ย ยิงคำสั่งหุ้นทันทีที่เกิดสัญญาณ แบบนี้ทำได้ทันที ไม่ต้องคิดมาก แต่ลองคิดดูว่า ถ้าเปลี่ยนจากพอร์ตหนึ่งล้าน เป็นหนึ่งพันล้านบาท

 

แบ่งเป็น 10 กองๆ ละ 100 ล้านบาทเข้าซื้อทั้งหมดในไม้เดียว ไหวมั้ย?
มีกลยุทธ์เดียวเสี่ยงไปหรือเปล่า? ถ้าสภาพตลาดเปลี่ยนไปจะไหวเหรอ?
สำหรับ Blue-Marlin Waldo การซื้อขายเกิดจากการผสมผสานของกลยุทธ์กว่า 50 กลยุทธ์ โดยที่แต่ละตัวก็ล้วนถูกทดสอบมาก่อนแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการสร้างผลตอบแทนที่ดี แบ่งกว้างๆ ได้ดังแสดงในรูป

 

 

หมดยุคของการซื้อขายโดยทุ่มหมดหน้าตักให้กับ trend following เพียงอย่างเดียวแล้วล่ะครับ มิติในในการหาหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีมีมากกว่านั้น โดยอาจพิจารณาจาก

 

เกณฑ์การเติบโตของหุ้น (growth)


มูลค่าของหุ้น (value)


ความผันผวน (volatility) 


และ รวมถึง โมเมนตั้ม (momentum)


แต่ละเกณฑ์เหล่านี้ ก็จะมีกลยุทธ์ย่อย (sub-models) แตกออกไปอีกสำหรับการจับจังหวะเข้าซื้อขายที่แตกต่างกัน

 

ด้วยโครงสร้างแบบนี้ นอกเหนือจากเป็นการกระจายความเสี่ยงแล้ว ยังช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ด้วย เพราะสภาพตลาดเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น กลยุทธ์ของเราก็ต้องมีความยืดหยุ่นในตัวด้วย บางกลยุทธ์ทำกำไรได้ดีในบางสภาพตลาด ขณะที่อีกกลยุทธ์ทำได้ดีกว่าเมื่อสภาพตลาดเริ่มเปลี่ยนไป บางกลยุทธ์เข้าซื้อที่ราคาสูง เพราะคิดว่าจะขายได้ในราคาที่สูงกว่า ขณะที่อีกกลยุทธ์รอเข้าซื้อเมื่อมีการย่อตัวของราคาและถือว่าถูกเมื่อเทียบกับมูลค่าของตัวหุ้น

 

เอ๊ะ เขียนมาตั้งนาน ยังไม่เห็นมีอะไรเกี่ยวข้องกับโรบอท หรือ การใช้ความฉลาดจาก A.I. เลย….อยากรู้ว่าเราสองตัวนี้มาใช้อย่างไร ปูเสื่อรอตอนต่อไปเลยครับ

 


Think Algo เป็นบริษัท Fin-Tech ที่ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) สำหรับการลงทุน และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้การเทรดด้วยระบบอัลกอริทึ่ม (algorithmic trading) ติดตามเราได้ที่ think-algo.com และ FB: Think Algo

Facebook

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง