#แนวคิดด้านการลงทุน

5 หลักการเลือกหุ้น ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์

โดย กำพล อังศุเกษตร์
เผยแพร่:
483 views

 

เชื่อว่าทุกคนที่ลงทุนในหุ้นนั้นย่อมรู้จัก "วอร์เรน บัฟเฟตต์" นักลงทุนที่เป็นตำนานที่ยังมีลมหายใจ หลักการลงทุนของบัฟเฟตต์นั้นเป็นที่รู้จักในวงกว้าง วันนี้เล่าเรื่องหุ้นได้นำ 5 หลักการเลือกหุ้นลงทุนของบัฟเฟตต์ มาให้อ่านกัน..


 

1. ธุรกิจต้องเข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน


บัฟเฟตต์ นั้นจะลงทุนในธุรกิจที่เขาสามารถทำความเข้าใจ ที่มาของรายได้ ค่าใช้จ่าย แหล่งเงินทุนของบริษัทต่างๆที่ลงทุน


“จงลงทุนในขอบเขตความสามารถของคุณ ไม่สำคัญว่ามันจะใหญ่หรือเล็ก”

 



2. ผลการดำเนินงานต้องสม่ำเสมอ


สมมติว่าตลาดหุ้นปิดไป 10 ปี ในขณะที่คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ คุณจะทำอย่างไร ? เป็นคำถามที่บัฟเฟตต์ถาม เมลิสซ่า เทอร์เนอร์ นักเขียนของนสพ. Atlanta Constitution ณ ตอนที่เขาซื้อหุ้น Coca Cola

 

ความหมายที่บัฟเฟตต์ต้องการจะสื่อคือ นอกจากธุรกิจที่เข้าใจได้ง่ายแล้ว ผลดำเนินงานที่สม่ำเสมอเป็นเครื่องยืนยันศักยภาพของธุรกิจที่เปรียบว่า อีก 10 ปี ข้างหน้าบริษัทยังคงทำธุรกิจได้เหมือนเดิม

 


3. ต้องมีแฟรนไชส์


บัฟเฟตต์นั้นให้นิยาม 3 ข้อ ของธุรกิจที่มีแฟรนไชส์ว่า..

 

* สินค้าหรือบริการมีความจำเป็นต่อผู้บริโภค
* ไม่มีสินค้าทดแทนที่คุณภาพหรือราคาใกล้เคียง
* ไม่ถูกควบคุมจากนโยบายรัฐ


ด้วย 3 คุณลักษณะนี้ทำให้ธุรกิจที่มีแฟรนไชส์ สามารถเพิ่มราคาขายได้เรื่อยๆโดยไม่ต้องกังวล เรื่องของการเสียส่วนแบ่งการตลาด (Market share)

 



4. ผู้บริหารมีความน่าเชื่อถือ


บัฟเฟตต์กล่าวว่า ผู้บริหารของบริษัทที่เขาจะลงทุน ต้องมี 3 องค์ประกอบ ต่อไปนี้

4.1 มีเหตุผล 
การที่ธุรกิจมีวงจรที่แตกต่างกัน (พัฒนา / เติบโต / อิ่มตัว /ถดถอย) นำมาซึ่งกลยุทธ์ในการบริหารที่ต่างกันดังนั้นบัฟเฟตต์ จะพิจารณาความสามารถของผู้บริหารว่าสามารถบริหาร ได้เหมาะสมตามสถานการณ์หรือไม่? 


4.2 เปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา บัฟเฟตต์เน้นข้อนี้มาก จากการผู้บริหารรายงานผลการดำเนินงาน
อย่างเต็มที่ถูกต้อง หากเกิดความผิดพลาดก็กล้าที่จะยอมรับ เหมือนตอนที่ทำผลงานได้ดี

 

ซึ่งเรื่องนี้บัฟเฟตต์เองก็ใช้กับ การรายงานผลการดำเนินงานของเบิร์กไชร์ ฮาธาเวย์ ที่ตนเองนั้นกล้าที่จะเล่าความผิดพลาดของตนเองให้ผู้ถือหุ้นได้รับรู้ แต่ก็มีเสียงวิจารณ์ทำนองว่าบัฟเฟตต์สามารถทำได้เพราะ ตนนั้นเป็นเจ้าของเบิร์กไชร์ ในขณะที่ผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนหลายคน เป็นเพียงผู้บริหารรับจ้าง โดยบัฟเฟตต์ได้กล่าวตอบว่า 


“ผู้บริหารที่ทำให้คนอื่นหลงผิดในที่สาธารณะ สุดท้ายอาจทำให้ตัวเขาหลงผิดในที่สุด”


4.3 ยึดมั่นในจุดยืน ในยุคที่โลกธุรกิจนิยมใช้กลยุทธ์เทคโอเวอร์ หรือการกระจายการลงทุน 
บัฟเฟตต์กลับมีความเห็นว่าตนนั้นชื่นชอบผู้บริหารที่ยึดมั่นไปกับแนวทาง ในการทำธุรกิจที่ตนเองถนัดมากกว่าเข้าซื้อธุรกิจที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ

 


5. ต้องมีมูลค่าและราคาที่เหมาะสม 

 

หากธุรกิจไม่ซับซ้อน ผลการดำเนินงานสม่ำเสมอ มีแฟรนไชส์ที่สร้างความเติบโตในระยาวได้ รวมถึงมีผู้บริหารที่น่าเชื่อถือแต่หากว่าหุ้นนั้นมีความเสี่ยงสูง หรือ ไม่มีส่วนลด ที่ทำให้บัฟเฟตต์สนใจเขาก็จะปล่อยผ่านไป..

 

บัฟเฟตต์นั้นได้เรียนรู้หลักการเรื่องการซื้อหุ้นที่มี ส่วนเผื่อความปลอดภัย (Margin of safety) จาก เบนจามิน เกรแฮม ซึ่งทำให้บัฟเฟตต์สามารถ ที่จะเฝ้ารอการเข้าซื้อหุ้นในช่วงที่ราคาตกแรง และเมื่อราคากลับมาสะท้อนมูลค่าเหมือนเดิม ก็จะสามารถทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ !


กำพล อังศุเกษตร์ (อ.โอ๊ค)
Co-Founder # เพจเล่าเรืองหุ้น

 


- อดีตวิศวกรที่ผันตัวเองมาเป็น Full time investor

- อดีตคอลัมนิสต์ "เจาะหุ้น" & "ติวหุ้นให้เพื่อน" เพจ โรงเรียนสอนเล่นหุ้น

- Co-Founder แฟนเพจการลงทุน "เล่าเรื่องหุ้น"

- ที่ปรึกษาเจ้าของธุรกิจ ในการเตรียมความพร้อมการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

- อาจารย์พิเศษสอนการลงทุนในหุ้น

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง