#แนวคิดด้านการลงทุน

คำสอนเจ้าสัวเจริญ สู่ทายาทเจ้าสัว !!

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
378 views

 

สร้างปรากฏการณ์เลื่อนลั่นวงการธุรกิจ ระลอกแล้วระลอกเล่า กับเกมรุก“ซื้อกิจการ” ขยายอาณาจักร“ไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น” หรือทีซีซี กรุ๊ป เซอร์ไพรส์ จากไก่ทอด สู่ ธุรกิจสื่อ “ฐาปน สิริวัฒนภักดี” เคลื่อนทัพไทยเบฟ

 

"หนุ่ม-ฐาปน สิริวัฒนภักดี" ลูกคนกลาง ซึ่งเป็นลูกชายคนแรก คือคนที่เจ้าสัวเจริญมอบหมายให้ดูแลอาณาจักรช้าง ในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ทายาทมหาเศรษฐีผู้มั่งคั่งที่สุดในประเทศ 

 

 

 

กับคำสอนเจ้าสัวเจริญ : พ่อรวยสอนลูก

 

ประโยคหนึ่งที่สะท้อนวิถี พ่อแม่รวยสอนลูก ฉบับ “เจ้าสัวเจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี” มีศาสตร์ลับเคล็ดวิชาใดถ่ายทอดให้แก่ทายาทเช่นเขา คำตอบคือ มีโอกาสได้เรียนรู้การทำงานจากผู้ใหญ่ ผู้เป็นบิดาในสิ่งที่ท่านโฟกัสและปฏิบัติ เป็นมากกว่าคำสอน ที่มากเกินกว่าคำพูดคำบรรยายใดๆ และไม่ต้องไปขวนขวายหาสุดยอดคัมภีร์ธุรกิจจากที่ไหน ประกอบกับการได้ฝึกฝนตัวเองในการทำงาน จนถึงจุดหนึ่งก็จะมีความพร้อมที่จะเข้าใจข้อเท็จจริง เข้าใจธรรมชาติธุรกิจในเรื่องต่างๆด้วยตัวเอง

 

โดยสรุปคือ การเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่สัมผัสจากสิ่งที่พ่อและเขาปฏิบัติโดยตรง นั่นเอง

 

ฐาปน เข้ามาบริหารธุรกิจไทยเบฟ กว่าสิบปี(ตั้งแต่ปี2545)และเคยถามพ่อ(เจ้าสัวเจริญ)ว่า ทำไมเขาต้องมารับผิดชอบงาน ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมากมาย คำถามเยอะมาก เรื่องราวทั้งมีเหตุผลบ้าง ไม่มีเหตุผลบ้าง 

 

เคยเรียนถามคุณพ่อ...ท่านก็นิ่งสักพัก ก่อนหันกลับมาตอบว่า เพราะมีสิ่งที่ต้องแก้ไขปัญหาต่างๆนานา จึงมีผมเข้ามารับผิดชอบในหน้าที่นั้นๆ ถ้าไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องมีผมเข้ามารับผิดชอบ

 

ในการขับเคลื่อนอาณาจักรครอบครัว ไทยเบฟมีการดำเนินงานมากมาย โดยเฉพาะการขยายธุรกิจ และ “ทางลัด” ด้วยการซื้อและควบรวมกิจการ แน่นอนว่า เขาย่อมเสนอความคิดและแนวทางขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ๆ ขณะที่เจ้าสัวเจริญจะเป็นผู้ฟังที่ดี ทำให้การพูดคุยหารือกันของพ่อลูกทำได้เต็มที่

 

 

เพราะเมื่อมี “เป้าหมายร่วมกัน” ทว่าวิธีการจะไปให้ถึงเป้าหมายนั้น “อาจต่างกัน” ขึ้นอยู่กับบทบาทความรับผิดชอบ

 

ผู้ที่รับผิดชอบจะเป็นคนเลือกวิธีการที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย ฐาปนย้ำและเล่าบทสนทนาอย่างเป็นกันเองที่เกิดขึ้นกับเจ้าสัวเจริญว่า..

 

อาหนุ่มนะ..อั๊วเข้าใจลื้อน้า สิ่งที่คิดมันก็มีประเด็นที่ถูก จะทำแบบนี้ก็เสียว หากไม่ทำ..จะอยู่แบบเดิมก็เสียว คุณพ่อพูดด้วยความเรียบง่าย น่ารัก ผมก็สบายแล้วล่ะ เพราะป๊าต้องเลือกแล้วล่ะว่า อยากได้แบบไหน

 

เพราะในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ย่อมมีผลกระทบที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะเป็นเชิงบวกหรือลบก็ตาม ซึ่งการทำงานของเขา ก็ละม้ายคล้ายกับการใช้ชีวิต ทุกนาทีจะต้องประคับประคองให้อยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้มี สูตรสำเร็จ” ไม่มีคำตอบในทุกเรื่อง ต้องขวนขวายในสิ่งที่พอจะสามารถบริหารจัดการได้ ภายใต้ข้อจำกัด ณ เวลานั้น

 

“โชคดีมีโอกาสได้เรียนรู้จากพ่อแม่ และผู้บริหารท่านอื่นๆ” ฐาปน เล่า

 

หนึ่งในบทสนาที่ผู้เขียน เคยพูดคุยกับฐาปน เขาบอกว่า เป็นคนที่ “คิดเร็ว” เช่นเดียวกับเจ้าสัวเจริญ และละเอียดรอบคอบตามแบบอย่างคุณหญิงวรรณา

 

ไม่แปลกที่การขับเคลื่อนธุรกิจของเจ้าสัวน้อยจะ ติดสปีด ตลอดเวลา อาศัยมรรควิธีย่นระยะเวลาในการขยายอาณาจักรด้วยการ ซื้อ” แทนสร้าง สร้างเอง

 

หากทางที่เดินมีมากมาย “ทางลัด” ก็ไปถึงจุดหมายได้เหมือนกัน แล้วทำไมจะไม่ใช้ล่ะ ในเมื่อเร็วกว่าทางปกติเป็นไหนๆ

 

 

แต่ละปีไทยเบฟ มีแผนซื้อกิจการในใจของฐาปน มากน้อยแค่ไหน แม้เขาจะไม่เคยให้รายละเอียด แต่เคยเล่าว่า แต่ละดีลที่กว่าจะเดินมาถึง “บทสรุป” กินเวลานานพอสมควร อย่างเอฟแอนด์เอ็น ใช้เวลาร่วม 2 ปีกว่าจะลงตัว

 

ทว่า ผลลัพธ์ เรียกว่า “คุ้มค่าการลงทุน” มหาศาล เพราะเอฟแอนด์เอ็น เป็นสปริงบอร์ดอย่างดีให้กับธุรกิจเครื่องดื่ม โดยเฉพาะแคทิกอรีไม่มีแอลกอฮอล์ เพราะส่งผลให้ไทยเบฟ กลายเป็นบริษัทที่มียอดขายติดท็อป 5 ยักษ์เครื่องดื่มเอเชียในระยะเวลาอันสั้น ตามติดด้วย คิริน อาซาฮี ยักษ์เครื่องดื่มแดนอาทิตย์อุทัย

 

ขณะที่การรุกธุรกิจอาหาร กำลังเริ่มเปิดเกมอินเตอร์จากการมีพันธมิตรฮ่องกง และยัมฯ รวมถึงธุรกิจ “มีเดีย” ที่ยังไม่เด็ดน้ำ จึงต้องรอดูว่าฐาปนจะสร้าง “เซอร์ไพรส์” แบบไหนในการซีนนอร์ยีเครือไทยเบฟและทีซีซี กรุ๊ป

 

จากเอฟแอนด์เอ็น สู่อมรินทร์ ข้ามไปยังไก่ทอดผู้พันแซนเดอร์ส และกลับมาสู่จีเอ็มเอ็ม แชนแนลฯ ที่เข้าวิน แต่ที่พลาดพ่ายคู่แข่งก็มี เช่น การเข้าแข่งประมูลซื้อเบียร์ Peroni and Grolsch เบียร์ดังยุโรป ที่พ่ายให้กับ อาซาฮี” 

 

แน่นอนว่า  2 ดีลที่เกิดขึ้นหมาดๆ จะยังไม่ใช่ดีลสุดท้าย เพราะธุรกิจหากหยุดนิ่ง ก็เท่ากับถอยหลัง ดังนั้น คงต้อง “จับตาไม่กระพริบ” ว่า ดีลอื่นๆที่จะตามมามีอะไรบ้าง  

 

ที่อยู่ในลิสต์ก่อนหน้านี้ คือกระแสการเข้าคิวซื้อหุ้นของบริษัท ไซง่อนเบียร์ แอลกอฮอล์ เบเวอเรจ คอร์เปอเรชั่น (ซาเบคโค) ธุรกิจเครื่องดื่มบียร์รัฐวิสาหกิจเวียดนาม รวมถึงการซื้อกิจการเครื่องดื่มแอลอกอฮอล์ในอาซียนอื่นๆ เพราะจากวิสัยทัศน์ 2020 

 

การทำ M&A เป็นโอกาสที่เจ้าสัวน้อยมองหาอยู่เสมอ...!!

 

ที่มา : www.bangkokbiznews.com/news/detail/771263


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง