ในโลกธุรกิจ คำว่า "ผูกขาด" ควรต้องแยกแยะกับคำว่า "กินขาด"
เราเคยได้ยิน ดราม่าเรื่องความผูกขาด ของหลายๆธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "เจ้าของร้านสะดวกซื้อ" ที่มีคนแอนตี้อยู่เนืองๆ
วันนี้ได้เห็นข้อมูลเรื่อง ดีลเลอร์ค้าน้ำมัน ปตท. โวยค่าการตลาดน้ำมัน "ต่ำติดดิน" เวลาเติมน้ำมัน รถยนต์คันนึง สมมติว่า 50 ลิตร ปั๊มน้ำมันจะได้ค่าการตลาด ทราบมานานละ ว่าปั๊ม ปตท. จะกดค่าการตลาดกับดีลเลอร์ปั๊มค่อนข้างมาก วันนี้ได้เห็นเลขจริง
ถ้าเป็นปั๊มอื่นๆ เช่น ESSO หรือ SHELL เขาให้ค่าการตลาดน้ำมันกับผู้แทนจำหน่าย 1.30 บาท/ลิตร
ในขณะที่ปตท.ให้ 0.9 บาท/ลิตร จ่ายน้อยกว่า 30% กว่า !!!
อ้างอิง
ดีลเลอร์โวยปตท. ขอปรับมาร์จิ้น 40 สตางค์
https://www.prachachat.net/economy/news-29053
เติมน้ำมันรถคันนึง เต็มถังได้เงิน = 0.9*50 = 45 บาท
นี่ไง ปั๊มยุคใหม่ ถึงต้องทำมาหากินกับ Non-Oil ให้มากขึ้น ในอดีต เคยฟังผู้ใหญ่ของป๊ม JET เล่าในงานนึง นานมาแล้ว เขาว่า..
-> ลูกค้า A เป็น รถเบนซ์ S Class 500 มาเติมน้ำมันเต็มถัง 1,500 บาท แล้วขับออก
-> ลูกค้า B ขี่รถมอไซด์แฟนซ้อนท้าย มาเติมน้ำมัน 50 บาท แต่เดินเข้าไปซื้อฮอทดอก กับโค้ก ก่อนขี่ออกไป
กรณีนี้ ลูกค้า B ขี่รถมอไซด์ มีความสำคัญต่อปั๊ม มากกว่าลูกค้า A เบนซ์ S class
ปั๊ม ปตท. ได้ชื่อว่าเป็นปั๊มที่ขาย Non-Oil ได้ดีที่สุด เอาตรงๆนะ ผมคิดว่า ห้องน้ำ ปตท. ไม่ได้มี Image เรื่องความสะอาด และน่าเข้าที่สุด แบบที่ JET ในอดีตเคยทำได้ แต่เขามีแม่เหล็กอย่าง 7-11 และ Cafe Amazon
ถ้าต้องลงทุนเปิดปั๊ม ผู้คนก็ยังคงเลือก ปตท.เป็นหลักอยู่นั่นเอง นี่คือ success breed success และนี่คือเหตุผลที่ ปตท ให้ค่าการตลาดน้ำมันกับผู้แทนจำหน่าย น้อยกว่ามากถึง 30% แต่ก็ยังมีคนสนใจเปิดปั๊มกับปตท.มากมาย
ในเกมธุรกิจ นี่คือ ผูกขาด หรือ กินขาด ?
สายลงทุนแบบ Fundamental ... การลงทุนระยะยาว ก็ต้องเลือกกับธุรกิจที่ผูกขาด หรือ กินขาด นี่แหละ
แล้วเรียกสิ่งนี้ ด้วยคำสวยๆ
"ถ้ากินขาด" เรียกว่า Competitive Advantage มีความได้เปรียบในการแข่งขัน
"ถ้าผูกขาด" เรียกว่า Durable Competitive Advantage มีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน