#มือใหม่เริ่มลงทุน

อธิบาย Margin of Safety ง่ายสุดๆ เห็นภาพชัดเจน

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
4,531 views

 

อธิบาย Margin of Safety ง่ายสุดๆ เห็นภาพชัดเจน

 

นี่อาจจะเป็นคอนเซ็ปต์ Margin of Safety ที่ตรงและเข้าใจง่ายที่สุดในชีวิตการลงทุนที่ผ่านมาเลยทีเดียว หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจคำว่า Margin of Safety (MOS เป็นภาษาหุ้นที่ชาวนักลงทุนชอบเรียกกัน) ซึ่งแปลเป็นไทยแบบง่ายก็คือ.. ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย = ราคาหุ้นที่สามารถเข้าซื้อได้โดยมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ (เครดิตคำอธิบาย: TSI)


Name:  b3d748448764b0113b83cd7bc419831e.jpgViews: 1Size:  484.7 กิโลไบต์

นี่คือตัวอย่างที่สัมผัสจริง ไม่เกี่ยวกับตลาดหุ้น แต่เป็นการซื้อ "ตะแกรงใส่เอกสาร" ที่กำลังลดราคาอยู่ หลังจากได้ยินเสียงเป่าประกาศดังๆ มาว่า ตะแกรง ลดราคา 90% เหลือ 12 บาท หมดแล้ว หมดเลย 

 

ผมเลยรีบเดินไปดู โห!! ลดเยอะจริงๆ ด้วย จากราคาป้าย 125 บาท เหลือ 12 บาท เทียบกับหุ้น นี่มันสุดยอด Margin of Safety เพียบเลยน่ะเนี่ย คุ้มๆ เลยซื้อมา 2 อัน นั่งยิ้มในใจได้ของถูก


สักพักผ่านไป 10 นาที หลังจ่ายเงินเสร็จ คนยังรุมซื้อของอยู่ พนักงานประกาศราคาใหม่อีกรอบ ตะแกรง เหลือ 10 บาท 10 อันสุดท้าย ด่วนๆๆๆๆๆ 


เฮ้ยไรฟ่ะ ตรูว่า ซื้อ 12 บาทถูกแล้วน่ะ นี่ยังจะขายเหลือ 10 บาท ลดเพิ่มอีก 20% แม่เจ้าลดเพิ่มจากราคาที่ผมซื้อได้อีกประมาณ 17% เลยหรอเนี่ย แอบเซ็งนิดๆ จริงๆ ลดเพิ่มอีกแค่ 2 บาทเอง (นี่มันตลาดหุ้น Panic ตื่นตระหนก ชัดๆ เอามือไปรับมีด เลือดสาด)

ถ้าตะแกรงนี้เป็นราคาหุ้น มันคือ หุ้น Super Sales ที่ทำอย่างกับบริษัทจะเจ๊ง จาก 125 --> 12 --> 10 บาท แต่มีคนเห็น Value (มั้ง) เลยต้องเข้าซื้อ เพราะคิดว่ามันถูกสุดๆ แล้ว ไม่น่าจะถูกได้กว่านี้ ลองคิดดูว่า ถ้ามีสัก 10,000 อัน (หุ้น) จะอ่วมขนาดไหน ขาดทุนชั่วคราวย่อยยับใน 10 นาที

แต่ผมมั่นใจว่า ตะแกรงนี้ ต้นทุนซื้อมา 12 บาท เอาไปขาย 30 บาท ข้างนอกงาน รับรองว่า มีคนซื้อแน่นอน และไม่น่าจะขายยากด้วย

 

(ภาพ : ปรมาจารย์ เบนจามิน เกรแฮม)

 

แถม..หลักการลงทุนแบบ Margin of Safety ที่ทาง TSI สรุปจากปรมาจารย์ เบนจามิน เกรแฮม ไว้ดังนี้
 

  1. ลงทุนในบริษัทใหญ่ที่มียอดขายดี
     
  2. ลงทุนในบริษัทที่มีการจ่ายเงินปันผล
     
  3. ลงทุนในบริษัทที่มีสภาพคล่องสูง มี Current Assets > (Current and Long term Debt) มี Cash Flow ดี และมีภาระหนี้ต่ำ
     
  4. ลงทุนในบริษัทที่มีผลประกอบการเติบโตอย่างยั่งยืน คือมีความมั่นคงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
     
  5. เน้นการวิเคราะห์อัตราส่วนราคา (Price Multiples) โดยดูจากค่า P/E โดยต้องมีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และค่า P/BV < 1.2 เท่า (Book Value = Total Assets ? Total Liabilities)


เบนจามิน เกรแฮม กล่าวว่า..“ส่วนเผื่อความปลอดภัยขึ้นกับราคาที่จ่ายเสมอ สำหรับทุกหลักทรัพย์ มันจะมีส่วนเผื่อมากที่ระดับราคาหนึ่ง มีส่วนเผื่อน้อยลงเมื่อราคาสูงขึ้น และไม่เหลือส่วนเผื่อเลยเมื่อมีราคาสูงถึงจุดหนึ่ง…”

cr. FreedomShip 


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง