#ข่าวหุ้นธุรกิจการลงทุน

“หุ้น BH” ผนึกพันธมิตรโรงพยาบาล ส่งต่อเทคโนโลยีการแพทย์ ขานรับไทยแลนด์ 4.0

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
464 views

ข่าวประชาสัมพันธ์ รพ.บำรุงราษฎร์

 

รพ.บำรุงราษฎร์” หรือ BH ที่นักลงทุนในตลาดหุ้น รู้จักกันเป็นอย่างดี หุ้นโรงพยาบาลถือเป็นเมกะเทรนด์ต่อไปในอนาคตกับประเทศไทยที่กำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society)

 

ช่วงก่อนหน้าที่หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลได้รับความสนใจอย่างมาก ทั้งจากนักลงทุนรายย่อย – ใหญ่ รวมถึงนักลงทุนสถาบัน ช่วงระยะสั้นที่ผ่านมาไม่กี่เดือนนี้ หุ้นโรงพยาบาลหลายๆ ตัวได้ปรับฐานลงมา อาจจะเนื่องผลประกอบการ การลงทุนเพิ่ม และจำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติลดลง แต่หากมองการลงทุนระยะกลาง – ยาว ยังเชื่อว่าหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลจะกลับมาได้รับความนิยมจากนักลงทุนอีกครั้ง

 

ล่าสุด ได้ผนึก 51 พันธมิตรโรงพยาบาลทั่วประเทศ ชูมิติใหม่บริบาลทางการแพทย์แบบไร้รอยต่อ มุ่ง 4 พันธกิจสำคัญ พร้อมส่งต่อเทคโนโลยีทางการแพทย์ ขานรับไทยแลนด์ 4.0

 

 

กรุงเทพฯ (14 กรกฎาคม 2560) – โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) ผู้ให้บริบาลด้านการแพทย์ภาคเอกชนแห่งใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน เดินหน้าขยายความร่วมมือพร้อมเอ็มโอยูโรงพยาบาลพันธมิตร  51 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้บริบาลแก่ผู้เข้ารับการดูแลรักษาทั้งชาวไทยและต่างชาติ พร้อมขยายตลาดบริบาล และมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์ร่วมกันในระดับประเทศและระดับภูมิภาค

 

รศ. นพ. สมศักดิ์ เชาว์วิศิษฐ์เสรี ผู้อำนวยการด้านบริหารร่วมและผู้อำนวยการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ร่วมกับโรงพยาบาลพันธมิตรเพิ่มอีก 16 แห่ง ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ต่อจากในปี 2559 ที่มีโรงพยาบาลพันธมิตรเข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) จำนวน 35 แห่ง

 

วัตถุประสงค์

เพื่อยกระดับให้การดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลพันธมิตรได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพแบบไร้รอยต่อ โดยอาศัยจุดแข็งและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของโรงพยาบาล แต่ละแห่ง ให้สามารถรับช่วงต่อผู้เข้ามาใช้บริบาลทางการแพทย์ระหว่างกันได้ ซึ่งมาจากการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านการแพทย์ระหว่างโรงพยาบาลพันธมิตรร่วมกัน  โดย BH เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการให้บริบาลทางการแพทย์ดังกล่าว 

 

 

ขณะเดียวกัน ยังสอดคล้องกับที่ ศ.นพ. ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์ ประธานกรรมการ บริษัท BH ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ รวมถึงผู้บริหารในฝ่ายปฏิบัติการอีก 4 ท่าน ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจต่อระบบสาธารณสุขไทย ที่มีความร่วมมืออย่างสมัครใจจาก 35 โรงพยาบาลพันธมิตรต่อเนื่องจากในปีก่อนที่ดำเนินการร่วมกันเป็นอย่างดี  โดยในปีนี้ BH ยังได้คิดก้าวไกลไปกว่าเดิมพร้อมยกระดับขีดความสามารถเครือข่ายพันธมิตรร่วมกัน

 

สำหรับทิศทางการดำเนินการ ได้เรียนเชิญโรงพยาบาลทางสายภาคเหนือ คือ เริ่มที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ต่อไปที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมเชิญชวนศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมเป็นวิสัยทัศน์การทำงาน เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน โดยมุ่งเน้น 4 พันธกิจสำคัญ

 

ด้านพันธกิจแรก เป็นรากฐานของการดูแลผู้ป่วย เริ่มจากโรงพยาบาลต้นทางซึ่งเป็นการดูแลผู้ป่วยในตั้งแต่แรก และมีการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา หรือ สเต็ปอัพ (Step up)  จนถึงเมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาในระยะหนึ่งแล้ว และต้องการย้ายกลับไปยังโรงพยาบาลเดิมตั้งแต่แรก (Step down)

 

สำหรับพันธกิจที่ 2. ด้านวิชาการ โดย BH มีแนวคิดด้านการสอนให้กับนักศึกษาแพทย์ เชิงวิชาการ ในลักษณะต่อยอดความคิดทางการแพทย์ที่ทันสมัย พร้อมรับเฟลโลว์ (Fellow)  แพทย์เฉพาะทางสาขามาต่อยอดโดยบริบทของ รพ.บำรุงราษฎร์อยู่ที่การฝึกอบรมเฟลโลว์ เพื่อเพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วยสูงสุด

 

ขณะที่พันธกิจที่ 3 ด้านการวิจัย เพื่อให้สอดคล้องกับไทยแลนด์ 4.0 ได้นั้น จะต้องสามารถสร้าง ครีเอชั่น และ นวัตกรรม โดย BH มีวิสัยทัศน์ที่พร้อมสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทย โดยการเชิญโรงเรียนแพทย์ 3 แห่ง (โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เข้าร่วมงานวิจัยทางการแพทย์

 

ทั้งนี้ ยังตระหนักถึงความมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันในโรงพยาบาลทุกแห่ง โดย BH ไม่ใช่พี่ใหญ่ หากโรงเรียนแพทย์ใดมีเครือข่ายดี ก็สามารถส่งผ่านองค์ความรู้ทางไกล (เทเล) ได้โดยผ่านเครือข่าย โดยไม่ได้เป็นผู้ชี้นำทางวิชาการเพียงอย่างเดียว และพันธกิจสำคัญที่ 4 คือ มาตรฐานด้านคุณภาพ BH ถือเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียที่ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลระดับสากล The Joint Commission International (JCI)  ของสหรัฐอเมริกา

 

ล่าสุดยังผ่านการรับรอง DNV- GL’s MANAGING INFECTION RISK (MIR) STANDARD  มาตรฐานที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงด้านการติดเชื้อ ซึ่งแห่งที่สามนอกทวีปอเมริกาเหนือและเป็นแห่งแรกของเอเชีย

 

 

นอกจากนี้ยังได้รับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ระดับสากล  จากวิทยาลัยพยาธิแพทย์อเมริกัน College of American Pathologists (CAP) เป็นแห่งแรกของไทย แสดงถึงความพร้อมด้านวิชาการ การวิจัยที่เข้าถึงพันธมิตรต่างๆ รวมถึงมิติเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยถือเป็นเสาหลักในการดูแลผู้ป่วยที่สำคัญ และที่สำคัญ คือ รูปแบบความร่วมมือนี้ เปรียบเสมือนเพื่อนช่วยเพื่อน โดยไม่ได้มองเพียงเงินทุน (แคปิทัล) แต่รวมกันเป็น ฮิวแมน แคปิทัล ไฟแนนเชียล แคปิทัล เพื่อสร้างธุรกิจร่วมกันในรูปแบบ เน็ตเวิร์ค แคปิทัล

 

ด้าน นพ. ดร. เทอดศักดิ์ โรจน์สุรกิตติ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์อาวุโส โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า การร่วมมือกันครั้งนี้ ถือเป็นการผนึกกำลังเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีการรักษาผู้ป่วยที่มีความซับซ้อน เพื่อให้ผู้รับบริการทั้งคนไทยและชาวต่างชาติในทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ดีที่สุด เป็นไปตามวิสัยทัศน์และพันธกิจ อย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย โดยความร่วมมือกับกลุ่มโรงพยาบาลพันธมิตร ที่มีประสิทธิภาพทั้งการดูแลรักษาและการบริการ

 

ศ. นพ. นิมิต เตชไกรชนะ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์อาวุโส โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  กล่าวเพิ่มว่าสำหรับการเอ็มโอยู และความร่วมมือระหว่าง 3 ภาคี คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และ โรงเรียนแพทย์ ในครั้งนี้ ยังเป็นการส่งสัญญาณที่ดีต่องานสาธารณสุขทางการแพทย์ของไทยที่พร้อมยกระดับสู่ความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพและมาตรฐาน และการให้บริบาลทางการแพทย์แบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน ที่ยังสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐ จากการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมตลอดทุกกระบวนการทางการแพทย์

 

ทั้งนี้ จากรูปแบบเครือข่ายความร่วมมืออย่างต่อเนื่องทางด้านการวิจัย ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับทางวิชาการ ซึ่งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีเทคโนโลยี และเป็นแม่ข่ายการแบ่งปันไปที่ต่างๆ เช่น โรงพยาบาลแพทย์ ที่มีการประชุมวิชาการสามารถแชร์เครือข่ายเดียวกันได้

 

นอกจากนี้ ในอนาคตยังสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพ (อัพเกรด) เพื่อให้เป็นแบบสองทาง(อินเตอร์แอคทีฟ) ในกรณี(เคส)ของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลสามารถแบ่งประสบการณ์ร่วมกัน ผ่านเครือข่ายแต่ละแห่งที่มีประสบการณ์ ความชำนาญ ที่ไม่เท่ากันซึ่งบ่อยครั้งต้องมีการเรียนรู้ร่วมกัน โดยสามารถส่งมายังส่วนกลางเพื่อให้การช่วยเหลือได้

 

ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านปฏิบัติการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่าแนวทางดังกล่าวถือเป็นมิติการรักษาที่ออกมาอย่างรวดเร็ว ในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ (เมดิคัล เทคโนโลยี) ต่อการเชื่อมโยงส่งข้อมูลผู้ป่วย ซึ่งในเร็วๆนี้ เตรียมจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ(เวิร์ค ช้อป)ให้โรงพยาบาลพันธมิตร สามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่นดังกล่าวในโครงการแรก “Watson for Oncology” ด้วย

 

ขณะที่ ดีเอ็นเอ  หรือ ค่านิยมหลัก ของ รพ.บำรุงราษฎร์ได้ยึดมั่นด้านความปลอดภัยและคุณภาพในการรักษา ซึ่งนอกจากมาตรฐาน JCI, CAP, DNV-GL MIR แล้ว รพ.บำรุงราษฎร์ ยังได้รับมาตรฐาน Pathway to Excellence® เป็นมาตรฐานการรับรองคุณภาพของ American Nurse Credentialing Center (ANCC) เพื่อรับรองว่าเป็นองค์กรที่มีสถานที่ทำงานที่ดีที่สุดสำหรับพยาบาล

 

 

 

จากแนวทางความร่วมมือระหว่าง 3 ภาคีในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของบริบาลทางการแพทย์ไทยที่มุ่งมั่นยกระดับงานสาธารณสุขของประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่มีความเป็นเลิศด้านการรักษาพยาบาลและนวัตกรรมทางการแพทย์ มีความแข็งแกร่งร่วมกัน และเพื่อความยั่งยืนในการบริบาล ดูแลรักษา ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล ที่จะได้รับบริบาลอย่างดีที่สุดภายใต้มาตรฐานที่สูงขึ้น

 

---------------------------------------------


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง