#แนวคิดด้านการลงทุน

พ่อรวยสอนลูกตัวจริง !? ใน Rich Dad Poor Dad

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
298 views

 

มีคนไทยจำนวนมากได้อ่านหนังสือ "พ่อรวยสอนลูก" แล้วรู้สึกประทับใจมาก รวมถึงมุมมองทางการเงินก็เปลี่ยนไป แต่มีน้อยคนที่จะรู้ว่าตกลงแล้ว! พ่อรวยที่คิโยซากิพูดถึงบ่อยๆนี้ เขาคือใครกันแน่ ? ... เขาคือ ริชาร์ด วัสมัน คิมิ นั้นเอง

 

ริชาร์ด วัสมัน คิมิ ต้นแบบของพ่อรวย

 

ริชาร์ด วัสมัน คิมิ (Richard wassman kimi) หรือ ริชาร์ด คิมิ เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ปี 1925 ที่เกาะฮาวาย เขามีเชื้อสายเป็นชาวเอเชียด้วยส่วนหนึ่ง พ่อของเขา,วิลเลี่ยม คิมิ , เป็นนักการเมืองท้องถิ่นอยู่บนหมู่เกาะฮาวาย ริชาร์ตเข้าเกณฑทหารหลังจากที่อเมริกาถูกโจมตีอ่าวเพิล์ร ฮาเบอร์ (Pearl Harbor) ได้ไม่นานและเข้าสู่สงครามโลกเปิดฉากโจมตีญี่ปุ่น หลังจากสงครามจบลง เขาก็ทำงานในธุรกิจของครอบครัว คือขายของใช้เกี่ยวกับทหาร เช่น เสื้อผ้าลายทหาร กระติกน้ำ มีดและกระเป๋าเป้เดินป่า เป็นต้น แต่มันก็เป็นธุรกิจที่ไม่ค่อยทำกำไรเท่าไรนัก เขาเลยตัดสินใจเซ้งร้านขายกิจการไปให้กับครอบครัวหนึ่ง เขาและพี่ชายได้ตั้งบริษัท Kimiville บริษัทอสังหาริมทรัพย์เล็กๆ นายหน้าเช่าซื้อปล่อยเช่าบ้านราคาถูกในเขตเมืองไฮโล (Hilo)

 

ต่อมากลางปี 1950 ริชาร์ดได้เล็งเห็นถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในหมู่เกาะฮาวายว่ามีโอกาสยิ่งใหญ่ซ่อนอยู่ ณ ตอนนั้น สาธารณูปโภคยังไม่เจริญ โรงแรมก็มีไม่มากนักซึ่งโรงแรมที่มีจะเป็นรีสอร์ทติดทะเลระดับ 5 ดาวไปเลย ซึ่งราคาแพงมาก ท่ามกลางเสียงคัดค้านของครอบครัว ริชาร์ดได้กู้เงินก้อนหนึ่งสร้างโรงแรมกระท่อม 30 ห้องเล็กๆเพื่อนักท่องเที่ยวที่ไม่ค่อยมีเงิน ใครจะไปรู้ว่ากระแสตอบรับจะดีมากๆ ริชาร์ดขยายกิจการใหญ่ขึ้น มีเงินมากขึ้น เขาได้ก่อสร้างโรงแรมและซื้อโรงแรมอีกหลายแห่งในเมือง Kona Maui และ Kaua’i 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อโรงแรมเก่าอย่าง Waikiki Biltmore hotel ติดทะเลแต่เป็นโรงแรมที่เก่ามาก เขาได้ทุ่มเงินก้อนหนึ่งลงไปเพื่อรีโนเวทโรงแรมใหม่กลายเป็นรีสอร์ทหรู ชื่อว่า Hyatt Regency in Waikiki ในปัจจุบัน

 

(Image: yourtraveldeal.com)

 

ริชาร์ด ไม่ชอบการซื้อโรงแรมขนาดใหญ่เพราะเขาบอกว่าตลาดโรงแรมระดับหรูในเกาะฮาวายมีมากเกินไป และต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก การคืนทุนก็ช้า เขาอยากจะเจาะกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวธรรมดาและสร้างโรงแรมชั้นประหยัดน่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า .. นอกจากนี้เขายังมีหัวคิดทางธุรกิจใหม่ๆ คือ ทำธุรกิจโรงแรมควบคู่ไปกับการเช่ารถยนต์เพื่อใช้ขับบนเกาะฮาวาย ถ้านักท่องเที่ยวจองพร้อมกันสามารถเช่าได้ในราคาพิเศษ ปัจจุบันนี้ลูกชายของเขา "อลัน คิมิ" นั่งบริหารโรงแรมนี้อยู่ ชื่อว่า Sand & Seaside Hotels

 

อลัน เคยให้สัมภาษณ์ว่า "พ่อของเขามีอิทธิพลกับความคิดของเขา และสอนให้เขาทำธุรกิจโดยมองระยะยาวเข้าไว้ ระยะยาวที่ว่านี้คือ 5 - 10 ปีเป็นอย่างต่ำ" 


อลันยังบอกอีกว่า "ตอนประชุมบริษัทกัน พ่อของผมจะนั่งหัวโต๊ะ และถามผมว่า กิจการเป็นอย่างไรบ้าง ? ก็ดีครับ กำไรของเราเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับ 3 เดือนที่แล้ว รวมถึงปีที่แล้วด้วย" 


"ไม่ใช่" พ่อของผมรีบตอบ "พ่อไม่ได้ถามแกว่า อดีต โรงแรมของเราเป็นอย่างไร แต่พ่อถามว่า ในอนาคตอีก 10 ปีต่อจากนี้ โรงแรมของเราจะเป็นอย่างไรต่างหาก พ่อไม่สนใจอดีต" พ่อมีอิทธิพลกับความคิดของเขามาก อลันยอมรับ ..

 

 

อย่างไรก็ตาม การเปิดประวัติ ริชาร์ด วัสมัน คิมิ ว่าเป็นต้นแบบ "พ่อรวย" ของโรเบิร์ต คิโยซากิ หรือไม่นั้น ยังไม่ได้รับการคอนเฟิร์ม จนกระทั่งปี 2009 มีข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ว่ามีนักธุรกิจรายใหญ่ชาวฮาวายได้เสียชีวิตไปแล้ว ชื่อ "ริชาร์ด วัสมัน คิมิ" ทำให้ชื่อนี้ตกเป็นเป้าของสื่อและสังคมว่า คนๆนี้คือ "พ่อรวย" ของคิโยซากิหรือไม่ แต่ทางโรเบิร์ต คิโยซากิ ก็ไม่ได้ให้สัมภาษณ์สื่อแต่ประการใด จนกระทั่งวันที่ 4 พฤษภาคม ปี 2016 โรเบิร์ต คิโยซากิ ได้ทำรายการวิทยุและเชิญ อลัน คิมิ มาให้สัมภาษณ์ ทั้งสองก็ยอมรับว่า "มันถึงเวลาที่เราจะได้เปิดเผยถึงความจริงกันแล้ว ... จริงๆ ริชาร์ด วัสมัน คิมิ คือ ต้นแบบพ่อรวยที่เขามักจะกล่าวถึงในหนังสือนี้เอง" ข่าวนี้เป็นเรื่องที่ดังมาก ทำให้ครอบครัวคิมิ ตกเป็นเป้าของสื่อและสูญเสียความเป็นส่วนตัวไป ดังจนกระทั่งรายการ Oprah show ของพิธีกรชื่อดังอย่างโอปราห์ วินฟรีย์ เชิญทั้งสองมาให้สัมภาษณ์ในรายการ 


ทางอลัน คิมิ ก็ยอมรับว่าเขาเป็นเพื่อนสนิทกับโรเบิร์ต คิโยซากิ จริงๆ และพ่อของเขาก็เป็นต้นแบบพ่อรวยที่กล่าวถึงด้วย แต่อลันบอกว่า ในความเป็นจริงคุณพ่อของเขาก็ไม่ได้เป็นคนเก่งขั้นเทพอะไรขนาดนั้น ก็เหมือนมนุษย์ทั่วไปที่ผิดบ้าง ถูกบ้าง แต่ "พ่อรวย" ที่โรเบิร์ต คิโยซากิ กล่าวถึงประกอบไปด้วยคนหลากหลายคน ไม่ว่าจะเป็นปรัชญาทางเศรษฐศาสตร์ แนวคิดเศรษฐกิจและการเมือง เงินทอง การลงทุน ล้วนมาจากคนหลายคน และถูกโรเบิร์ต นำมารวมกันให้กลายมาเป็นคนๆเดียวซึ่งก็คือ "พ่อรวย" นั้นเอง

 

แนวคิดของหนังสือที่สำคัญ คือ การแยกให้ชัดเจนว่าอะไรคือทรัพย์สิน(Asset) และอะไรคือหนี้สิน(Liabilities) 
ที่มา leadingtrader.com

 

เห็นอย่างนี้แล้ว เราอาจจะคิดได้ว่าใครเป็นพ่อรวยนั้นไม่มีความสำคัญสักเท่าไร แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือ แนวคิด ปรัชญาทางด้านการเงินเป็นเรื่องสำคัญที่สุด นี้อาจจะเป็นสิ่งที่โรเบิร์ต คิโยซากิ ต้องการจะสื่อให้เรารู้ก็ได้ครับ ...

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

 

ผู้เขียน SiTh LoRd PaCk

 

>>> นักลงทุนพร้อมกันหรือยัง <<<

 

7-8 ส.ค. นี้ เรามาอัพเดตตัวเองให้เป็น “นักลงทุนยุคดิจิตอล” กันครับ
ในงาน Thailand Investment Fest ปี2 ตอน “Smart Investor In Digital Era”

.
มีข้อมูล ความรู้อะไรใหม่ๆบ้าง ในโลกการลงทุน 
และนักลงทุนอย่างพวกเราควรปรับตัวและเตรียมตัวยังไง ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

>>>ฟรี<<<
จองที่นั่งกันด่วนเลย ก่อนเต็ม ที่ https://goo.gl/X27SnX


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง