Seth Klarman นักลงทุนเน้นคุณค่าผู้ศรัทธาในแนวทางของเบนจามิน เกรเฮม
เซธ คลาร์แมน เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ปี 1957 เป็นชาวอเมริกันโดยกำเนิน ปัจจุบันเป็นนักลงทุน บริหารกองทุนเฮดจ์ฟันด์ และนักปรัชญา เขาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นนักลงทุนแนวเน้นคุณค่าคนสำคัญอีกคนหนึ่งไม่แพ้วอเร็น บัฟเฟตต์ เขาเป็นผู้บริหารบริษัทในเครือ Baupost Group ซึ่งถือเป็นบริษัทรับบริหารกองทุนที่มีชื่อเสียงระดับโลก
เขาถือว่าเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าผู้ซึ่งตามรอยเบนจามิน เกรเฮม และเป็นสาวกแฟนพันธุ์แท้ไม่แพ้วอเร็น บัฟเฟตต์ เลยทีเดียว เขามีชื่อเสียงมากกับการหาซื้อสินทรัพย์และหุ้นที่ไม่ค่อยนิยมนักในหมู่นักลงทุน โดยเฉพาะสินทรัพย์ที่เขาคิดว่าต่ำกว่ามูลค่ามากจริงๆ นอกจากนี้เขายังยึดถือหลักของ Margin of Safety "ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย" อย่างเคร่งครัด เขาเชื่อว่าการทำกำไรจากการลงทุน คือ ซื้อในสิ่งที่มี Margin of Safety เท่านั้น
นับตั้งแต่ปี 2008 จนถึงปี 2016 เขาสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหน่วยสูงถึง 20% ต่อปีแบบทบต้น ตอนนี้เขาบริหารเงินมากถึง 3 หมื่น 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ก่อนหน้านั้นในปี 2008 ชื่อของเขาได้ถูกบรรจุลงไปในหอเกียรติยศ (Hall of Fame) ว่าเป็นผู้จัดการกองทุนที่มากความสามารถ ในปี 2017 นิตยสาร Forbes กล่าวว่าเขามีสินทรัพย์ส่วนตัวสูงถึง 1.5 หมื่นล้านเหรียญ และเป็นอันดับที่ 15 ผู้บริหารกองทุนเฮดจ์ฟันด์ของโลก มีน้อยคนนักที่จะมีชื่อเสียงเทียบเคียงกับวอเร็น บัฟเฟตต์ และทำอะไรซักอย่างก็มักจะตกเป็นข่าวอยู่เสมอ ถ้าวอเร็น บัฟเฟตต์ เป็น "พ่อมดแห่งเมืองโอมาฮ่า" แล้วละก็ เซธ คลาร์แมน จะต้องชื่อว่า "พ่อมดแห่งเมืองบอสตัน"อย่างแน่นอน
(Image: acquirersmultiple.com)
เซธ คลาร์แมน เกิดที่เมืองนิวยอร์ค และย้ายเมืองมาแล้วหลายครั้ง ครอบครัวของเขาเป็นชาวยิวผู้เคร่งครัด พ่อของเขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Johns Hopkins University และแม่ของเขาเป็นครูสอนเด็กมัธยมปลาย พ่อกับแม่ของเขาหย่าร้างกัน
ตอนที่เขาอายุ 4 ขวบ เขาตกแต่งห้องนอนของเขาเองให้เหมือนกับร้านค้า โดยเขียนป้ายราคาลงไปในสิ่งของทุกชิ้นที่เขาซื้อมาว่ามีราคาเท่าไร พอโตขึ้นมาหน่อย เขาได้แข่งปาฐกถากับเด็กมัธยมปลายในเรื่องของแนวคิดการคัดเลือกหุ้น
ซึ่งเป็นเรื่องเหลือเชื่อมากที่เด็กขนาดนี้แต่เข้าใจคำว่า "Stock" เมื่อเขาอายุ 10 ขวบ เขาได้นำเงินเก็บของเขาซื้อหุ้นตัวแรกในชีวิต นั้นคือหุ้น Johnson & Johnson เขายอมรับภายหลังว่า เหตุผลที่เขาเลือกหุ้นตัวนี้มาจากผลิตภัณฑ์ใกล้ตัวเขา ที่เขาใช้อยู่เสมอนั้นเอง
คลาร์แมนเข้ามหาวิทยาลัย Cornell University และสนใจในวิชาณิตศาสตร์ แต่เขาเลือกที่จะลงเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์แทน เขาเรียนจบในปี 1979 วิชาหลักคือ เศรษฐศาสตร์แทน และวิชาเลือก คือประวัติศาสตร์ หลังจากเขาเรียนจบเขาทำงานบริษัทจัดการกองทุนที่มี Max Heine และ Michael Price 2 สุดยอดนักลงทุนเน้นคุณค่า ณ ตอนนั้น หลังจากทำงานได้ 18 เดือน เขาก็กลับไปเรียนต่อที่โรงเรียนสอนธุรกิจ Harvard Business School
หลังจากเขาเรียนจบในปี 1982 เขาได้ก่อตั้งบริษัท the Baupost Group กับเพื่อนและอาจารย์ของเขา เขาระดมทุนครั้งแรกได้เงินมาประมาณ 27 ล้านเหรียญสหรัฐ และให้เงินเดือนตัวเองปีละ 3 หมื่นเหรียญซึ่งถือว่าน้อยมาก ครั้งหนึ่งเขาเล่าให้ฟังว่าตอนเขาทำครั้งแรกยังไม่มีประสบการณ์ เขาโทรถามเพื่อนของเขาที่ทำงานอยู่ใน Goldman Sachs เขาเองก็รู้ตัวว่าตัวเขาเองน่ารำคาญมาก บางครั้งเขาก็น่ารำคาญจนเพื่อนเขาไม่อยากรับโทรศัพท์เลยก็มี การเริ่มต้นเป็นอะไรที่ยากเสมอ
ในปี 2008 คลาร์แมนสนใจบริษัท Peloton Partners ซึ่งทำธุรกิจด้านการเงินในประเทศอังกฤศและมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงลอนดอน บริษัทนี้ขาดสภาพคล่อง ทำให้ราคาหุ้นตกอย่างต่อเนื่อง แต่คลาร์แมนเห้นว่าบริษัทนี้มีทรัพย์สินมากกว่าพันล้านดอล์ล่าร์ ดังนั้นเขาจึงประกาศเปิดกองทุนรับนักลงทุนหน้าใหม่
แต่เป็นนักลงทุนเฉพาะเจาะจงเท่านั้นซึ่งเขาเลือกสโมสรนักลงทุนเน้นคุณค่าในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวี่ลีคส์ ( Ivy League - ประกอบไปด้วย 8 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก อันได้แก่ Brown University, Columbia University, Cornell University, Dartmouth College, Harvard University, the University of Pennsylvania, Princeton University, และ Yale University) เขาระดมทุนได้มากกว่า 4 พันล้านเหรียญและเข้าซื้อหุ้นบริษัท Peloton Partners ส่วนหนึ่งและเพิ่มทุนโดยแลกกับหุ้นกู้แปลงสภาพด้วยส่วนหนึ่ง (Convertible bond) หลังจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ บริษัท AIG และ Lehman Brothers ประสบปัญหาอย่างหนักและสร้างปัญหาให้กับตลาดหุ้นวอลสตรีทอย่างมาก
แต่คลาร์แมนมองเห็นโอกาสจึงได้ซื้อหุ้นเข้ากองทุนของเขาอย่างหนัก บางวันเขาใช้เงินมากกว่า 100 ล้านเหรียญเพื่อซื้อหุ้น ถึงแม้ว่าผลตอบแทนของกองทุนของเขาจะไม่ค่อยดีนัก บางปีติดลบมากถึง 13% แต่เขาก็ไม่ท้อถอย ยังคงเดินหน้าซื้อหุ้นอย่างต่อเรื่องเพราะเขามองว่านี้คือโอกาสในการซื้อบริษัทที่ดีในราคาที่ถูก ในปีเดียวกันนั้นเอง เขายังได้ซื้อหุ้นบางส่วนของทีมเบสบอลอย่าง Boston Red Sox อีกด้วย
สิ้นปี 2016 กองทุนที่เขาบริหารมีเงินมากกว่า 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ....
ปรัชญาทางการลงทุน
คลาร์แมน มีชื่อเสียงในเรื่องของการลงทุนเน้นคุณค่า เขาเคยกล่าวไว้ว่า "การจะเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่า ไม่ใช่ใครจะเป็นก็เป็นได้ มันต้องอยู่ในสายเลือดอย่างแท้จริง เพราะคนจำนวนมากไม่มีความอดทนและไม่มีวินัย แค่โดนแรงเหวี่ยงจากตลาด เขาก็พร้อมขายทุกสิ่งทุกอย่างออกไปจากพอร์ตโฟลิโอแล้ว"
When a Wall Street analyst or broker expresses optimism, investors must take it with a grain of salt. เมื่อวอล์สตรีทหรือนักวิเคราะห์มองในภาพดีเกินไป นักลงทุนควรจะรับฟังเอาไว้โดยไตร่ตรองให้ดีอีกครั้งหนึ่ง
(ที่มาภาพ : Business Insider)
ครั้งหนึ่งเขาเคยพูดถึงการลงทุนเน้นคุณค่าเอาไว้ว่า ...
อย่างแรก การลงทุนเน้นคุณค่าเป็นสิ่งที่สวยงาม คุณซื้อในสิ่งที่มีส่วนลด และรอคอยให้ทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏ ประวัติศาสตร์พิสูจน์ไว้อยู่แล้วว่าวิธีนี้มันเป็นวิธีที่ได้ผล และเราไม่จำเป็นต้องใช้เวลากว่าครึ่งชีวิตของเราไปพิสูจน์มัน
อย่างที่สอง มีคนจำนวนมากไล่ล่าการเติบโต หรือสิ่งที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ และพวกเขาก็ต้องบาดเจ็บจากการขาดทุนเป็นเพราะว่าพวกเขาซื้อในราคาที่มีพรีเมี่ยมกับบริษัทนั้นๆ พวกเขาสูญเสียเพราะพวกเขามีความอดทนน้อยกว่าและมีวินัยน้อยกว่ากลุ่มคนที่เป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าจริงๆ
อย่างที่สาม การซื้อในสิ่งที่เป็นกระแสเป็นเรื่องที่ดูน่าสนใจ เพราะในชีวิตจริงการสนใจในสิ่งที่ไม่มีใครสนใจมันไม่ใช่เรื่องสนุกเลย คุณต้องหว้าเหว่และไม่สามารถพูดคุยกับใครได้เลย เขาจะมองคุณเป็นตัวประหลาดไปเลยละ! แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ช้าก็เร็ว ส่วนลดนั้นจะต้องถูกเติมเต็มในท้ายที่สุด และประโยชน์นั้นก็ต้องตกแก่คุณ
คลาร์แมน กล่าวยกย่องอาจารย์เบนจามิน เกรเฮมว่าเป็นต้นแบบนักลงทุนที่นักลงทุนทุกคนควรเอาเป็นแบบอย่าง ในช่วงวิกฤตปี 2008 เขาใช้แนวคิดของเบนจามิน เกรเฮมในการเข้าซื้อหุ้นโดยไม่สนใจสิ่งรอบข้างเมื่อทุกคนตะโกนบอกให้คุณขายหุ้นออกไป คนจำนวนมากรวมถึงผู้จัดการกองทุนเน้นในเรื่องของเศรษฐกิจและวงจรขาขึ้นขาลงมากจนเกินไป เขาเปิดเผยว่าเขาไม่เคยขายหุ้นออกไปจนหมด เขาจะขายก็ต่อเมื่อมัน"ราคาสูงเกินไป" และซื้อในสิ่งที่"มีราคาไม่แพงมากเมื่อเทียบกับคุณภาพบริษัท" ถ้าเขาหาไม่ได้จริงๆจะเหลือเงินไว้ในพอร์ตประมาณ 30-50% เพื่อมองหาโอกาสต่อไป
นอกจากเขาจะเป็นนักลงทุนแล้ว เขายังมีงานเขียนอีกด้วย ซึ่งงานเขียนอย่างแรกที่เขาต้องทำทุกปี คือ จดหมายถึงผู้ถือหน่วยลงทุนของเขา ซึ่งจะต้องเขียนทุกปีโดยส่วนใหญ่แล้วจะเน้นไปที่ว่า ตัวเขาเองกำลังทำอะไร มองหาอะไรอยู่ แนวคิดทางการเมือง เศรษฐกิจและการลงทุนแบบเน้นคุณค่า อย่างที่สองจะเป็นหนังสือการลงทุนที่ชื่อว่า Margin of Safety, Risk Averse Investing Strategies for the Thoughtful Investor ตอนนี้ยังไม่มีใครนำมาแปลเป็นภาษาไทยครับ ....
-------------------------------------------------------
เขียนและสรุปโดย SiTh LoRd PaCk
ขอบคุณเนื้อหาจาก Wikipidia, Forbes และ Business Insider
7-8 ส.ค. นี้ มาอัพเดตตัวเองให้เป็น “นักลงทุนยุคดิจิตอล” กันครับ
ในงาน Thailand Investment Fest ปี 2 ตอน “Smart Investor In Digital Era
ต้องมาอัพเดตความรู้กันให้ได้เลยนะครับ 7-8 ส.ค. นี้ที่ ห้องประชุมสังเวียนฯ ตลาดหลักทรัพย์ฯ
--------------------------------------------------
ความรู้อัพเดต จัดหนักจัดเต็ม
>>>ฟรี<<<
จองที่นั่งกันได้เลยที่ https://goo.gl/X27SnX