เจาะโมเดลธุรกิจ BAFS ธุรกิจผูกขาดเติมน้ำมันสนามบิน กับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล และดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในรายการ Business Model สรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกันจากการฟังรายการย้อนหลัง
BAFS อยู่ในธุรกิจ(เกือบจะ)ผูกขาดเติมน้ำมันสนามบิน
เครดิตรูปจาก : Ebooks.in.th
ลักษณะธุรกิจ
ให้บริการจัดเก็บ และระบบเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน
BAFS อยู่ในธุรกิจสัมปทานที่มี Barrier to Entry สูงมาก
ส่วนที ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- BAFS ทำ 3 ธุรกิจ คือ คลังเก็บน้ำมัน, ท่อส่งน้ำมัน, สถานีบริการย่อยฝั่งลาดจอด
- ปี 2560 รายได้จากท่อส่งน้ำมันอยุ่ที่ 20% รายได้จากการบริการ(คลังเก็บ + บริการ) อยู่ที่ 80%
- แต่ยังไงก็ตามเจ้าของท่อเป็นของ AOT ไม่ใช่ BAFS แต่ AOT ทำสัญญาสัมปทานให้
- ที่สุวรรณภูมิ BAFS มีมาร์เก็ตแชร์ประมาณ 87% อีก 13% เป็นของ ASIG ซึ่งได้รับสัญญาสัมปทานจาก AOT มาอีกทีเหมือนกัน
- ธุรกิจมี Barrier to Entry แต่รายได้ก็ต้องแบ่งตามสัดส่วน ธุรกิจสัมปทานมีทั้งข้อดี ข้อเสีย
- การเติบโตของ BAFS จะต้องจัดหารายได้เพิ่มมากขึ้น ภาพรวมจะเติบโตตามอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การเติบโตของสายการบินโลวคอส จำนวนเที่ยวบินเพิ่มมากขึ้น จะเป็นโอกาสของ BAFS
- การขยายสุวรรณภูมิ เป็นปัจจัยบวกกับ BAFS
- ตอนนี้ BAFS กำลังลงทุนทางด้างท่อส่งน้ำมันไปภาคเหนือ ตรงนี้จะเป็นปัจจัยบวกกับ BAFS ด้วย
- Gross Margin อยู่ที่ 60% สูงมาก EBIT Margin อยู่ 47% และ Net Margin อยู่ 32%
- BAFS เป็นธุรกิจที่มี Stable Cash flow
P/E อยู่ที่ 30 เท่า ถือว่าสูงมาก ถ้าบริษัทไม่เติบโตเลยจะใช้เวลา 30 ปีในการคืนทุน
แต่เมื่อดูจากปันผลที่ 3% แล้วก็ถือว่าใช้ได้
- PE ของเขา 29 เท่า ไม่ได้ถูกมาก แต่ผมอยากให้เน้นที่ P/BV และ ROE มากกว่า
- ราคาปัจจุบัน ผมมองว่าเป็นราคาที่สมเหตุสมผล
- ดูจาก Consesus ราคาที่เป็น Target price ก็อยู่แถวๆนี้
- ปัจจัยบวก คือ การลงทุนท่อน้ำมันเพิ่มเติม และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้น
โดยพื้นฐาน BAFS เป็นธุรกิจที่มีการเติบโตเรื่อยๆ แต่คงไม่ได้โตแบบรุนแรงมากอย่างที่นักลงทุนคาดหวังกัน
ส่วนที ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- รายได้หลักของ BAFS คือเติมน้ำมัน เหมือนเป็นปั้มน้ำมัน แต่นี้เป็นปั้มเครื่องบิน แถมยังผูกขาดด้วย ไม่ใช่ใครจะเข้ามาทำได้
- ถามว่าจะมีใครมาเป็นคู่แข่งไหม ผมมองว่ายากเพราะ BAFS พร้อมทุกอย่างแล้ว มีสถานี มีอินฟราสตรัคเจอร์แล้ว คู่แข่งมาทำใหม่ ลงทุนใหม่ อาจจะดูไม่คุ้มทุนแล้ว
- การเติบโตของ BAFS ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของการท่องเที่ยว ตรงนี้มองเป็นปัจจัยบวก ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวชอบ โตไปพร้อมกับการท่องเที่ยว
- ผมว่าการท่องเที่ยวในไทยยังไปได้อีกไกล
- ธุรกิจของ BAFS มีจุดเด่นที่ผมมองว่าดีมาก คือ ความผันผวนธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมัน จริงๆเครื่องบินไม่ได้เคิมน้ำมันของ BAFS นะ แต่เขาเติบน้ำมันกับพวกเอสโซ่ ปตท. เชฟร่อน นะ เขามีหน้าที่บริการเติมน้ำมันให้เฉยๆ กินมาร์จินส่วนต่าง ดังนั้นธุรกิจปลอดภัยมาก ไม่สนใจราคาน้ำมันโลก
- BAFS เป็นธุรกิจเติบโตไหม เป็นธุรกิจเติบโต แต่ไม่ได้โตมากอย่างที่พวกเราคาดหวังกัน
- แต่ BAFS ก็เป็นบริษัทที่ลงทุนหนัก อย่างลงทุนเพิ่มท่อส่งน้ำมัน เห็นว่าลงทุนเยอะ 8-9 พันล้าน เกือบเท่าตัวบริษัทเลย
- ลงทุนครั้งแรกนี้หนักมาก แต่เวลาเปิดทำการ Operate เป็นต้นทุนต่ำมาก คือไม่ต้องใช้คนมาก ใช้เครื่องยนต์ ใช้ปั้ม ใช้เครื่องจักรมากกว่า จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม Margin ของเขาดีมาก 30% กว่า
- การลงทุนครั้งนี้ไม่ได้เพิ่มทุน ถ้านักลงทุนให้เวลาจนถึงคืนทุน รายได้มา กำไรมา จะเข้ามายังกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมแบบเต็มๆ
- BAFS จะเป็นหุ้นเติบโตก้าวกระโดดเป็นช่วงๆ คือ ลงทุนท่อส่งไปแล้ว การขยายสุวรรณภูมิเฟส 2 การเติบโตของอุสาหกรรมท่องเที่ยว แต่มันก็ไม่ได้เติบโตเร็วมากอะไรแบบนั้น
--------------------------------------------------
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการ Business Model รายการ Money Channel : เจาะโมเดลธุรกิจ BAFS ธุรกิจผูกขาดเติมน้ำมันสนามบิน