จากบทความตอนที่แล้ว ได้พูดถึงไป 2 forces อ่านตอนที่ 1 ได้ที่ https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=1033
คราวนี้เรามาต่อกันให้ครบ อีก 3 force ที่เหลือกัน...ดังนี้
3.Threat of Subtitute Product or Service
ความยืดหยุ่นและคุณสมบัติในการใช้งานทดแทนกันของสินค้าทดแทนเป็นศูนย์ การให้บริการทางพิเศษและระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทฯโดยบริษัทฯ มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐ
สำหรับสัมปทานในการก่อสร้างและบริหารทางพิเศษ ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่2) ภายใต้สัญญาโครงการกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มีระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2533 และทางพิเศษส่วนต่อขยาย มีระยะเวลา 30 ปี เช่นกัน นับตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2540
ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานคร ภายใต้สัญญาสัมปทานการลงทุนออกแบบก่อสร้าง บริหารจัดการ ให้บริการและบำรุงรักษา มีระยะเวลา 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2555
ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางประอิน-ปากเกร็ด) โดยดำเนินการผ่านบริษัทย่อย (NECL) ระยะเวลา 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2539
สำหรับสัมปทานโครงการระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าจำนวน 2 โครงการ
โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) (หังลำโพง-บางซื่อ) บริษัทเป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการจัดเก็บค่าโดยสาร รวมทั้งค่าดำเนินกิจกรรม และการพัฒนาเชิงพาณิชย์ การโฆษณา และการให้เช่าพื้นที่ในโครงการ และธุรกิจให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมภายในสถานีและภายในขบวนรถไฟฟ้า เป็นระยะเวลา 25 ปี นับแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2547
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ(คลองบางไผ่-เตาปูน) สัญญาที่ 4 สัมปทานสำหรับการลงทุน การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการเดินรถไฟฟ้า และซ่อมบำรุงตามมาตฐานการให้บริการ โดย รฟม. เป็นผู้มีสิทธิในรายได้ค่าโดยสาร และรายได้เชิงพาณิชย์จากการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานทางโยธาและระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด และ รฟม.จะจ่ายคืนบริษัทในลักษณะค่าจ้างบริหารการเดินรถไฟฟ้า ค่าซ่อมบำรุง และค่าอุปกรณ์งานระบบ ตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี นับจากวันที่ลงนามในสัญญา
ด้านต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลง (switching cost) ไปสู่สินค้าทดแทนอื่น เนื่องจากบริษัทฯเป็นเพียงบริษัทเดียวในอุตสาหกรรมที่ได้รับสัมปทานในการเดินรถไฟฟ้าในเส้นทางดังกล่าว ถึงแม้จะมีการขนส่งมวลชนประเภทอื่น เช่น รถขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ รถแท็กซี่ Uber ก็ไม่ได้รับความสะดวกสบายเท่า หรือมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาก จึงไม่ถือเป็นคู่แข่งของบริษัท ทำให้ลูกค้ามีต้นทุนในการเปลี่ยนแปลงไปสู่สินค้าทดแทนอื่นสูงขึ้นมาก บริษัทจึงมีความได้เปรียบในแง่ของต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลง (switching cost)
4. Bargaining Power of buyers : อำนาจการต่อรองของลูกค้า
เนื่องจากผู้รับบริการเป็นประชาชนทั่วไป มีจำนวนมากรายถึงแม้การให้บริการจะมีลักษณะที่เป็น standard และผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้บริการจากบริษัทใดก็ได้ในอุตสาหกรรม แต่เนื่องจากบริษัทฯเป็นเพียงบริษัทเดียวที่ได้รับสัมปทานทั้งจากการทางพิเศษกรุงเทพฯและรฟม. จึงทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถเลือกไปใช้บริการจากบริษัทอื่นได้ และลูกค้าไม่ได้มีอำนาจต่อรองทั้งในแง่ของราคาเนื่องจากเป็นธุรกิจผูกขาด
ทั้งนี้การขึ้นราคาค่าโดยสารทั้งในส่วนของการให้บริการทางพิเศษและรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าใต้ดินจะถูกจำกัดราคาเพดานโดยภาครัฐ รวมถึงต้องมีการชี้แจงเหตุผลและแสดงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นของบริษัทในการขึ้นค่าโดยสารแต่ละครั้งโดยละเอียด เป็นการป้องกันการที่บริษัทจะอาศัยอำนาจการผูกขาดในธุรกิจเอาเปรียบผู้บริโภค และลูกค้าเองก็ไม่ได้มีความสามารถหรือมีทรัพยากรเพียงพอที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการของผู้ผลิต
5. Bargaining Power of supplier : อำนาจการต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบ
จำนวน supplier ที่จะรับเหมาสร้างโครงการทั้งระบบทางพิเศษและโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน มีเพียง supplier ไม่กี่รายที่มีความสามารถและทรัพยากรมากพอที่จะรับงานโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เช่นนี้ โดยโครงการส่วนใหญ่จะให้ บริษัท ช.การช่าง ดำเนินการก่อสร้างให้ เนื่องจากบริษัท ช.การช่าง เป็นผู้ถือหุ้นจำนวน 28.54% ของบริษัท
นอกนั้นจะเป็น บริษัท อิตเลียน-ไทย หรือ บริษัท ยูนิค ถึงแม้จะมี supplier จำนวนน้อยราย แต่บริษัทเหล่านั้น ก็ไม่มีอำนาจต่อรองมากนัก เนื่องจากโครงการลงทุนทั้งทางพิเศษและโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ หากบริษัทก่อสร้างใดประมูลได้ จะสามารถนำรายได้เข้าบริษัทได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นบริษัทฯเองจึงมีอำนาจต่อรองกับ supplier ผ่านการประมูลโครงการแต่ละครั้ง
นอกจากธุรกิจก่อสร้าง บริหารทางพิเศษและรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแล้ว บริษัทยังไดัมีการกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในธุรกิจอื่นเพิ่มเติมดังนี้
- ธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์ (บริษัท BMN) ถือหุ้นเป็นจำนวน 19%
- ธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำประปา (บริษัท TTW) ถือหุ้นเป็นจำนวน 57%
- ธุกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า (บริษัท CKP) ถือหุ้นเป็นจำนวน 40%
- ธุรกิจก่อสร้างและดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำไซยะบุรี(บริษัท XPCL) ถือหุ้นเป็นจำนวน 50%
เพื่อนๆ นักลงทุนทั้งมือใหม่และมือเก่าเป็นยังไงกันบ้าง กับการวิเคราะห์ หุ้น BEM ผ่าน 5 Forces Model
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับนักลงทุนที่สนใจ ในหุ้น BEM กันนะ
- Yoo -